วันพฤหัสบดี ที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / คอลัมน์ / คอลัมน์การเมือง / ปรีชา'ทัศน์
ปรีชา'ทัศน์

ปรีชา'ทัศน์

วันศุกร์ ที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2562, 02.00 น.
ผู้นำตามคติของลินคอล์น กับการพัฒนาการเมืองไทย

ดูทั้งหมด

  •  

 

สังคมการเมืองแทบทุกหนทุกแห่งต่างโหยหาผู้นำที่ดี เข้มแข็ง ยุติธรรม มีความสามารถ และนำพาประเทศไปสู่ความเจริญรุ่งเรือง หรือในยามวิกฤติ ก็สามารถนำรัฐนาวาให้พ้นจากภยันตรายทั้งปวง แต่จะไปตามหาผู้นำที่แสนดีดังกล่าวได้ที่ไหน ในระบอบประชาธิปไตยก็ฝากไว้กับระบบการเลือกตั้ง แต่ผู้ที่ออกแบบระบบการเลือกตั้งจะคิดถึงประเด็นนี้หรือไม่? มากน้อยแค่ไหน คงจะต้องไปถามคณะกรรมการผู้ร่างกฎหมายรัฐธรรมนูญเหล่านั้น


อย่างไรก็ตาม ก็มีประเด็นหนึ่งที่ผุดขึ้นมาในสมองขณะที่นั่งทบทวนเหตุการณ์ต่างๆ ในสังคมการเมืองไทย นั่นคือ ความสำคัญของการหล่อหลอม “มติมหาชน”

ท่านประธานาธิบดีลินคอล์น ให้ความสำคัญกับประเด็นเรื่องนี้อย่างมาก (หรือมากที่สุด) ท่านเคยพูดไว้ว่า ทุกอย่างเป็นไปได้หมด หากประชาชนสนับสนุน แต่ถ้าประชาชนไม่สนับสนุน อุดมการณ์ที่ดีเลอเลิศเท่าใด ก็ไม่สามารถบรรลุผลสำเร็จได้ ฉะนั้น เมื่อเกิดความขัดแย้งระหว่างมลรัฐทางเหนือและมลรัฐทางใต้ ด้วยเรื่องระบบทาส และกลายเป็นสงครามในที่สุด ใน ปี ค.ศ. ١٨٦١ ท่านประธานาธิบดีก็ไม่ประกาศสงครามด้วยเหตุผลนี้ แต่อ้างเหตุผลที่ฝ่ายใต้โจมตีป้อมปราการ “ซัมเตอร์” ของรัฐบาลสหรัฐฯ และก่อสงครามขึ้นเพื่อแยกตัวจากสหรัฐฯ จึงต้องทำสงครามโต้ตอบ เพื่อรักษาความเป็นสหภาพ (สหรัฐอเมริกา) ดังเดิม ลินคอล์นคิดว่ามติมหาชนยังไม่พร้อมที่จะทำสงครามเพื่อปลดปล่อยทาส ในปี ค.ศ. ١٨٦١ และรอจนกระทั่งต้นปี ค.ศ. ١٨٦٣ จึงประกาศเลิกทาส

อย่างไรก็ตาม ผู้นำที่เก่งกล้าสามารถ คงมิใช่เอาแต่เฝ้าดูกระแสความรู้สึกนึกคิดของผู้คนในสังคม ผู้นำส่วนใหญ่คือผู้สร้างและหล่อหลอม “มติมหาชน” ดังที่อดีตหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ได้กระทำมาแล้วในอดีต ในโอกาสต่างๆ เพียงแต่ในครั้งสุดท้ายอาจมีกระแสคลื่นที่ถาโถมมาหลายทิศทาง โดยเฉพาะกลุ่มชนชั้นกลางหลายๆ ระดับ ที่ส่วนใหญ่คือผู้สนับสนุนพรรคประชาธิปัตย์ ติดอยู่กับ “กับดัก” ของปัญหาความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง ที่อาจจะเผชิญกับมรสุมร้ายจากฝ่ายต่อต้าน

ที่สำคัญ ขณะนี้และในช่วงเวลา ٤ ปีข้างหน้า หรือก่อนการเลือกตั้งครั้งต่อไป หากพรรคได้ปรับทิศทางการดำเนินงาน ให้ความสนใจในการสร้าง มติมหาชน ที่พร้อมจะเป็น “เดโมแครต” ในจิตวิญญาณ มีความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับระบบการเมือง-การปกครองรูปแบบต่างๆ และศรัทธาในวิถีทางสายกลาง และระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่น ส่งเสริมระบบคุณธรรมในการบริหารงานทุกระดับ และการปกครองตนเองในระดับล่าง และในภารกิจนี้จะต้องทำในระดับพรรค ระดับสาขาของพรรค และการสร้างพันธมิตร กับองค์กรต่างๆ ทางสังคม ขยายกิจกรรมของสมาชิกพรรคให้กว้างขวางยิ่งขึ้น

ในส่วนของการร่วมในรัฐบาลขณะนี้ หากได้รับความไว้วางใจให้ดูแลกระทรวงศึกษาธิการ ก็ควรรับไว้ด้วยความเต็มใจ และมุ่งมั่นดำเนินนโยบายสร้างพลเมือง ต่อจากครั้งก่อนที่ประชาธิปัตย์เคยดูแลกระทรวงศึกษาธิการมาก่อน

การแก้จน สร้างคน สร้างชาติ เป็นคำขวัญที่มีความหมายลึกซึ้ง หากได้ทำงานเกี่ยวข้องกับปัญหา “ปากท้อง” ตามที่ใจปรารถนา ก็นับว่าเหมาะสม แต่กระทรวงที่สำคัญที่แท้จริงคือกระทรวงศึกษาธิการ และกระทรวงมหาดไทย เพราะเป็นกระทรวงที่จะสร้างคน และเมื่อสร้างคนได้สำเร็จ ก็จะแก้ปัญหาความยากจนได้ในขณะเดียวกัน

โครงการสร้างพลเมืองประชาธิปไตย ที่พรรคประชาธิปัตย์ได้สร้างผลงานไว้ น่าจะถูกลืมโดยรัฐบาลต่อๆ มา แต่ถ้าวิเคราะห์ให้ดี นี่คือกระบวนการสร้างรากฐานของอาคารบ้านเรือน ซึ่งจะมั่นคง แข็งแรง และสวยงามอย่างไร ก็ขึ้นอยู่กับการวางรากฐานเรื่องความประพฤติ-บุคลิกนิสัย ของคนรุ่นใหม่ในปัจจุบันและอนาคต

อีกทั้งกระทรวงมหาดไทย ที่จะมีความสำคัญเกี่ยวกับการกระจายอำนาจให้ท้องถิ่น (โดยวิธีการที่ถูกต้อง และมีประสิทธิภาพ) เพื่อให้เกิดการพัฒนาตนเองทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง-การปกครอง หากได้เข้าไปดูแลงานของ ٢ กระทรวงนี้ จะเป็นส่วนสำคัญที่จะปฏิรูปสังคมและเศรษฐกิจ และนำไปสู่เป้าหมายได้

ปัจจุบัน “คนรุ่นใหม่” ได้กลายเป็นประเด็นสำคัญในสังคมการเมือง พรรคใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา บางพรรคสามารถระดมแรงสนับสนุนจากคนรุ่นใหม่ได้เป็นกอบเป็นกำ “คนรุ่นใหม่” ส่วนหนึ่ง หรือส่วนใหญ่ น่าจะเป็นผลผลิตของการศึกษาระดับหลังมัธยมศึกษา (ระดับปีที่ ١-٢ ของมหาวิทยาลัย) ฉะนั้นในนโยบายการสร้างพลเมืองและผู้นำคนรุ่นใหม่ มหาวิทยาลัยรังสิตและมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นมหาวิทยาลัยแรกๆ ที่จัดหลักสูตรการศึกษาเรื่อง พลเมืองในระบอบประชาธิปไตย สำหรับมหาวิทยาลัยรังสิต ได้ใช้ชื่อวิชาว่า “ธรรมาธิปไตย” เพื่อตอกย้ำความผูกพันระหว่างการเมืองกับหลักธรรม และเน้นให้ความสำคัญของการพัฒนาคุณภาพของคนไทย ที่จะเข้าไปมีส่วนร่วมในกิจการสาธารณะด้วยจิตวิญญาณเสียสละและไม่เห็นแก่ผลประโยชน์ส่วนตัว ทั้งมหาวิทยาลัยรังสิตและมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ดำเนินการเรื่องนี้เพื่อบุกเบิกเส้นทางการเรียนการสอนวิชาพื้นฐานให้มีความหมายตรงประเด็นกับปัญหาของชาติ (- ซึ่งคือความอ่อนแอและความล้มเหลวทางการเมือง) กระทรวงอุดมศึกษา-วิทยาศาสตร์-วิจัย ควรจะมีบทบาทสำคัญส่งเสริมให้ทุกๆ สถาบันการศึกษาระดับนี้ ได้จัดหลักสูตรปีที่ ١ ระดับอุดมศึกษา ให้มีคุณสมบัติที่เรียกว่า “Political Literacy” - ผู้มีความรู้เรื่องการเมืองการปกครองในระดับพื้นฐานของระบอบประชาธิปไตยแบบของไทยที่ยังคงยึดโยงกับสถาบันชาติ-ศาสนา-พระมหากษัตริย์ - เป็นประชาธิปไตยสายกลางที่ผูกโยงผู้คนทุกๆ รุ่น ทุกๆ เชื้อชาติ ศาสนา ให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ที่กระจายรายได้ให้ทั่วถึง และยกระดับความรู้-ความคิดของประชาชนให้เท่าเทียมกันกระทรวงอุดมศึกษา-วิทยาศาสตร์-วิจัย จะต้องทำหน้าที่ในการเป็นผู้นำทางการศึกษา ไม่มองเพียง “S M E” Science - Mathematic และ Engineering เพราะนั่นคือประเด็นรอง แต่ต้องเน้น “Social Science” ที่รวมศึกษาศาสตร์ รัฐศาสตร์ ประวัติศาสตร์ ศิลปศาสตร์ สังคมวิทยา การคัดเลือกและสร้างอาจารย์-ครูผู้นำที่จะเป็นตัวแบบหรือกำกับคณะวิชาเหล่านี้ คือปัจจัยตัวแปรที่จะก่อให้เกิดผลสำเร็จ

โดยสรุป การปูพื้นฐานทางด้านสังคมศึกษา รวมหลากหลายวิชาดังกล่าว โดยเฉพาะประวัติศาสตร์การเมืองของอังกฤษ สหรัฐอเมริกา และฝรั่งเศส ในช่วง ٣٠٠ ปี ถึงปัจจุบัน และประวัติศาสตร์การเมืองไทยจากสมัยต้นรัตนโกสินทร์ จนกระทั่งปัจจุบัน น่าจะเป็นพื้นฐานที่แข็งแกร่งสำหรับจะต่อยอดในวิชาอื่นๆ

แต่ประวัติศาสตร์อย่างเดียวก็ไม่มีประโยชน์ จะต้องศึกษาประวัติศาสตร์ควบคู่กับการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง และความคิดทางการเมือง เพราะประเด็นหลังนี้คือเป้าหมายหลักของการสร้างความเป็นพลเมือง โดยสรุป ควรจะต้องศึกษาทฤษฎีการเมืองควบคู่ไปกับประวัติศาสตร์การเมือง เช่น ศึกษาทฤษฎีการเมือง (ประชาธิปไตย) ของไทยควบคู่กับประวัติศาสตร์ การเปลี่ยนแปลงการปกครองของไทย และตั้งประเด็นคำถามให้นักศึกษาได้คิดวิเคราะห์ เปรียบเทียบกับการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองของประเทศอื่นๆ เช่น ญี่ปุ่น จีน อินเดีย เป็นต้น

โดยสรุป การปฏิรูปการเรียนการสอนสังคมศาสตร์-การเมือง ทั้งในระดับมัธยมศึกษาและอุดมศึกษา คือการปูทางไปสู่การหล่อหลอมมติมหาชนในอนาคต จะต้องวางแผน ٢٠ ปี เพื่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงทางการเมืองและสังคมที่แท้จริง หากดำเนินการดังกล่าวเราคงไม่ต้องเผชิญปัญหาเดิมๆ ซ้ำซากเรื่องการรัฐประหารทุกๆ ١٠ ปี และก่อให้เกิดความชะงักงันของกระบวนการประชาธิปไตย ซึ่งต้องเริ่มต้นกันใหม่ทุกๆ 5 ปี หรือ 10 ปี

ดร.วิชัย ตันศิริ

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

  •  
  • Breaking News
  • ข่าวยอดนิยม
  • คอลัมน์ฮิต
13:51 น. จับหนุ่มหนีคดีพยายามฆ่าซุกตัวในซากเรือ
13:42 น. สุดโรแมนติก! 'โปรต้า'คุกเข่าขอ'ครูเบียร์'แต่งงานริมทะเล
13:39 น. วัดแทบแตก! ครอบครัวฝรั่งหัวใจพุทธ สร้างวัด-แจกไข่ไก่ชาวบ้าน
13:35 น. (คลิป) เคลียร์ชัด!! ไทกร เปิดดีลลับตั้งนายก ตีแผ่หมดเปลือก ใครเป็นใคร!!
13:31 น. ช่อง 7HD ชวนกรี๊ด ร่วมเกาะติดบรรยากาศสดจากงานบวงสรวง ซีรีส์ชุดฟอร์มยักษ์ '4 Element บ้านวาทินวณิช'
ดูทั้งหมด
ผลสลากกินแบ่งรัฐบาล งวดประจำวันที่ 1 กรกฎาคม 2568
‘มาครง’เผยคุย‘แพทองธาร’แล้ว ลั่นคนไทยไว้วางใจมิตรภาพจาก‘ฝรั่งเศส’ได้เสมอ
‘หม่อมปนัดดา‘ ปรากฏตัวกลางม็อบ ‘รวมพลังแผ่นดิน’ ของดให้สัมภาษณ์สื่อ
‘ทักษิณ‘ พร้อมลูกสาว ’เอม พินทองทา‘ เดินทางออกจากศาลอาญา หลังสืบพยานนัดแรก คดี ม.112
'ออสเตรเลีย'ออกคำเตือนพลเมืองมา'ไทย'หลังพบวัตถุต้องสงสัยหลายเมืองท่องเที่ยวภาคใต้
ดูทั้งหมด
ทิศทางของไทยคือความเป็นกลาง
‘หนีดีกว่า’อวสาน‘ตระกูลชิน’
สองพ่อลูกลุยกรรม
ไทยประกาศสงครามกับอังกฤษและสหรัฐอเมริกา
เดือน ก.ค. อำนาจตุลาการพิทักษ์แผ่นดิน
ดูทั้งหมด

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

สุดโรแมนติก! 'โปรต้า'คุกเข่าขอ'ครูเบียร์'แต่งงานริมทะเล

(คลิป) เคลียร์ชัด!! ไทกร เปิดดีลลับตั้งนายก ตีแผ่หมดเปลือก ใครเป็นใคร!!

วัดแทบแตก! ครอบครัวฝรั่งหัวใจพุทธ สร้างวัด-แจกไข่ไก่ชาวบ้าน

'รังสิมันต์'เผย'นายกฯ-กต.'ให้ความร่วมมือน้อย! หลังไม่แจง กมธ.มั่นคงฯ ปมคลิปเสียง

'ญี่ปุ่น'แผ่นดินไหวทะลุ1,000ครั้ง! แถลงการณ์ฉุกเฉินสั่งปชช.เตรียมพร้อมอพยพทุกเมื่อ

(คลิป) ครม.อุ๊งอิ๊งค์ 1/2 ชุดขาวในเงามืด!

  • Breaking News
  • จับหนุ่มหนีคดีพยายามฆ่าซุกตัวในซากเรือ จับหนุ่มหนีคดีพยายามฆ่าซุกตัวในซากเรือ
  • สุดโรแมนติก! \'โปรต้า\'คุกเข่าขอ\'ครูเบียร์\'แต่งงานริมทะเล สุดโรแมนติก! 'โปรต้า'คุกเข่าขอ'ครูเบียร์'แต่งงานริมทะเล
  • วัดแทบแตก! ครอบครัวฝรั่งหัวใจพุทธ สร้างวัด-แจกไข่ไก่ชาวบ้าน วัดแทบแตก! ครอบครัวฝรั่งหัวใจพุทธ สร้างวัด-แจกไข่ไก่ชาวบ้าน
  • (คลิป) เคลียร์ชัด!! ไทกร เปิดดีลลับตั้งนายก ตีแผ่หมดเปลือก ใครเป็นใคร!! (คลิป) เคลียร์ชัด!! ไทกร เปิดดีลลับตั้งนายก ตีแผ่หมดเปลือก ใครเป็นใคร!!
  • ช่อง 7HD ชวนกรี๊ด ร่วมเกาะติดบรรยากาศสดจากงานบวงสรวง ซีรีส์ชุดฟอร์มยักษ์ \'4 Element บ้านวาทินวณิช\' ช่อง 7HD ชวนกรี๊ด ร่วมเกาะติดบรรยากาศสดจากงานบวงสรวง ซีรีส์ชุดฟอร์มยักษ์ '4 Element บ้านวาทินวณิช'
ดูทั้งหมด

คอลัมน์ที่เกี่ยวข้อง

กฎหมายงบประมาณรายจ่ายอาจตกเป็นโมฆะ  กรณีศึกษาการแปรญัตติงบประมาณปี ๒๕๖๕

กฎหมายงบประมาณรายจ่ายอาจตกเป็นโมฆะ กรณีศึกษาการแปรญัตติงบประมาณปี ๒๕๖๕

27 มิ.ย. 2568

ความไม่ชัดเจนในมาตรา ๑๔๔ ของรัฐธรรมนูญ ๒๕๖๐  และกรณีศึกษาการกระทำฝ่าฝืนในมาตรานี้

ความไม่ชัดเจนในมาตรา ๑๔๔ ของรัฐธรรมนูญ ๒๕๖๐ และกรณีศึกษาการกระทำฝ่าฝืนในมาตรานี้

20 มิ.ย. 2568

รัฐบาลกลางกับการอุดมศึกษาสหรัฐ

รัฐบาลกลางกับการอุดมศึกษาสหรัฐ

13 มิ.ย. 2568

สแตนลีย์ ฟิชเชอร์ กับเมืองไทย

สแตนลีย์ ฟิชเชอร์ กับเมืองไทย

6 มิ.ย. 2568

นักกฎหมายไม่มีคุณธรรม...เลวยิ่งกว่ามหาโจร

นักกฎหมายไม่มีคุณธรรม...เลวยิ่งกว่ามหาโจร

30 พ.ค. 2568

การยกเลิกเหตุปัจจัยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๖๒๓  ที่ให้พระภิกษุมีทรัพย์สินได้เพื่อให้ถูกต้องตามพระธรรมวินัยที่ได้สวดปาติโมกข์

การยกเลิกเหตุปัจจัยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๖๒๓ ที่ให้พระภิกษุมีทรัพย์สินได้เพื่อให้ถูกต้องตามพระธรรมวินัยที่ได้สวดปาติโมกข์

23 พ.ค. 2568

รัฐบาลกับการกู้เงิน : จากอดีตสู่ปัจจุบัน (จบ)

รัฐบาลกับการกู้เงิน : จากอดีตสู่ปัจจุบัน (จบ)

16 พ.ค. 2568

รัฐบาลกับการกู้เงิน : จากอดีตสู่ปัจจุบัน (2)

รัฐบาลกับการกู้เงิน : จากอดีตสู่ปัจจุบัน (2)

9 พ.ค. 2568

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved