วันเสาร์ ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / คอลัมน์ / คอลัมน์การเมือง / เขียนเพื่อคิด
เขียนเพื่อคิด

เขียนเพื่อคิด

กษิต ภิรมย์
วันพุธ ที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563, 02.00 น.
แบ่งปัน แบ่งแยก คาน และถ่วงดุลอำนาจ ที่จืดจางไปของสหรัฐอเมริกา

ดูทั้งหมด

  •  

ในประวัติศาสตร์ยุคใหม่ของโลกประมาณ 500 กว่าปีที่ผ่านมาหากพูดถึงประเทศเจ้าตำรับแห่งการแบ่งปันกระจายอำนาจรัฐและให้มีการถ่วงดุล คาน ตรวจสอบ กันไปมา ก็คงต้องนึกถึงประเทศสหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกา เป็นสำคัญ

สหราชอาณาจักรนั้นได้ยุติระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ และกำหนดให้ “กษัตริย์” แบ่งปัน (หรือแชร์) อำนาจรัฐ กับฝ่ายขุนนาง เจ้าของที่ดิน เจ้าของธุรกิจ พ่อค้าวาณิช ในขณะที่สหรัฐอเมริกาเริ่มต้นประชาธิปไตยด้วยการรวมตัวกันของ 13 มลรัฐ (ในขณะนั้น)ทำการปลดแอกจากกษัตริย์อังกฤษ และประกาศตนเป็นเอกราช โดยตั้งตนเป็นประเทศสาธารณรัฐ (Republic) ภายใต้ชื่อ “สหรัฐอเมริกา”


ระบอบการเมืองการปกครองของทั้ง 2 ประเทศ เป็นแบบประชาธิปไตย โดยมีพรรค หรือกลุ่มการเมืองเป็นกลไกสำคัญ ที่ทำการแข่งขันกันเพื่อจะเป็นฝ่ายรัฐบาล ทำการบริหารประเทศ ในขณะที่ฝ่ายพ่ายแพ้การเลือกตั้งจะต้องทำหน้าที่เป็นฝ่ายค้าน คอยตรวจสอบการทำงานของฝ่ายรัฐบาล หรือกล่าวอีกอย่างว่าการเมืองแบบประชาธิปไตยที่มีฝ่ายเสียงข้างมากกับฝ่ายเสียงข้างน้อยแต่ละฝ่ายจะผลัดกันเป็นฝ่ายรัฐบาล และเป็นฝ่ายค้าน ก็อยู่ที่การตัดสินใจของประชาชนพลเมืองผ่านการเลือกตั้ง (หรือการหย่อนบัตรโดยตรง)

แต่อย่างไรก็ตาม ฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายค้านในรัฐสภา หรือสภาคองเกรส (ในกรณีของสหรัฐอเมริกา) ก็มิได้มีอำนาจเบ็ดเสร็จเพราะนอกจากถูกคานอำนาจด้วยฝ่ายค้านแล้วก็จะต้องถูกตรวจสอบและคานอำนาจ โดยฝ่ายตุลาการด้วย

ในทั้ง 2 ประเทศ ตัวจักรกลสำคัญคือ บรรดาพรรคการเมือง

กรณีของสหราชอาณาจักรนั้นเป็นระบบรัฐสภา คือหลังจากพรรคได้เสียงข้างมากจัดตั้งคณะรัฐบาล พรรคก็ยังกำกับอยู่เบื้องหลังกล่าวคือ นายกรัฐมนตรีของสหราชอาณาจักร เป็นผู้แทนราษฎร และเป็นหัวหน้าพรรค ที่กุมชัยชนะเลือกตั้ง

ส่วนในกรณีของสหรัฐอเมริกา มีการแยกกันระหว่างฝ่ายบริหาร ฝ่ายนิติบัญญัติ (สภาคองเกรส) และฝ่ายตุลาการ อย่างค่อนข้างชัดเจนกว่า เพราะหัวหน้าฝ่ายบริหาร คือประธานาธิบดีนั้นมาจากการเลือกตั้งโดยตรงโดยประชาชนพลเมือง มิต้องผ่านสภาคองเกรส

สภาคองเกรสของสหรัฐอเมริกาซึ่งมี 2 สภา คือสภาสูง(วุฒิสภา) ซึ่งเป็นตัวแทนมลรัฐ และสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งเป็นตัวแทนประชาชนพลเมือง เสียงส่วนใหญ่ในทั้งสองสภาอาจเป็นคนละพรรคกับตัวประธานาธิบดีก็ได้ เช่นเดียวกับปัจจุบัน ที่พรรครีพับลิกันของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ มีเสียงข้างมากในสภาสูง แต่กลับมีเสียงข้างน้อยในสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งก็เท่ากับว่าสภาคองเกรสโดยรวม จะทำหน้าที่เป็นผู้ถ่วงดุล คานอำนาจ และตรวจสอบ ประธานาธิบดีอย่างหนักหน่วง เข้มข้น มากกว่ากรณีที่พรรคของฝ่ายประธานาธิบดี กุมเสียงข้างมากได้ทั้งใน 2 สภา

ความขัดแย้งว่าด้วยตัวบทกฎหมาย การปฏิบัติ หรือไม่ตามกฎหมาย ไม่ว่าจะโดยตัวประธานาธิบดี หรือคณะรัฐบาล จะถูกดำเนินการไต่สวนโดยสภาคองเกรส เพื่อนำไปฟ้องร้อง และหาข้อยุติกันที่ฝ่ายตุลาการ

จึงอาจจะกล่าวได้ว่า หลักการแบ่งแยก การถ่วงดุล การคานอำนาจ ด้วยการตรวจสอบของสหรัฐอเมริกา นั้นมีความเฉียบขาด (clear cut) มากกว่าระบอบรัฐสภาโดยทั่วๆ ไป

แต่ในทางปฏิบัติที่เห็นกันอยู่ในปัจจุบัน กลับดูตรงกันข้ามเพราะประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ดูเหมือนจะสามารถบริหารราชการปฏิบัติตนเยี่ยงเป็นผู้นำที่มาจากประเทศเผด็จการ (Authoritarian)คือสามารถตัดสินใจทำอะไรได้อย่างคล่องตัว ได้อย่างสะดวก การถ่วงดุล ตรวจสอบ โดยสภาคองเกรส และฝ่ายตุลาการ ไม่รู้ว่าหายไปไหน ทำไมถึงปล่อยให้เป็นกันอย่างนี้ หรืออีกนัยหนึ่งก็คือ ฝ่ายผู้แทนราษฎร และฝ่ายวุฒิสภาไม่รู้ว่ามัวแต่ทำอะไรกันอยู่ เหตุใดจึงไม่ “เล่น” บทบาทของตนให้เต็มที่

ซึ่งเมื่อไม่นานมานี้ ผมได้มีโอกาสไปร่วมฟังการบรรยายและอภิปรายด้านวิชาการที่มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง โดยมีผู้บรรยายพิเศษเป็นศาสตราจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิ จากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด สหรัฐอเมริกาผมจึงได้ตั้งคำถามดังกล่าวต่อท่านศาสตราจารย์ ว่าเกิดอะไรขึ้นกับสหรัฐอเมริกาที่เป็นเจ้าตำรับประชาธิปไตยของการคานถ่วงดุล และตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐที่ขึ้นชื่อของโลกกันแน่ จึงปล่อยให้ ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ บริหารงานตามอำเภอใจเช่นนี้

ซึ่งท่านศาสตราจารย์ก็ได้กรุณาให้คำตอบ ให้คำชี้แจงจากข้อสังเกต และมุมมองของท่านอย่างน่าสนใจ สมเหตุสมผลว่า
ที่ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ สามารถแสดงบทบาทเป็นผู้นำอย่างเด็ดขาด และลอยตัวได้ ก็ด้วย 2 เหตุผลด้วยกัน นั่นคือ

1. เศรษฐกิจการค้าระหว่างประเทศ

2. ความมั่นคงและการต่างประเทศ

โดยเหตุที่โลกเห็นว่าประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ สามารถตัดสินใจใน 2 เรื่องดังกล่าวอย่างอิสระ นั่นก็เพราะโดยทั่วไปแล้วทางฝ่ายสภาคองเกรสนั้นมักสนใจเรื่องผลประโยชน์ภายในประเทศเป็นหลัก เมื่อเจอกับแนวคิดแบบปิดกั้นการค้าขาย (Protectionism)ของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ที่มีความคิดอ่าน มีนโยบาย และมาตรการที่จะรักษาตลาดสหรัฐฯ มิให้ประเทศใดมาเอารัดเอาเปรียบโดยเอาสหรัฐอเมริกาเป็นตัวตั้ง (American First) ไม่สนใจประโยชน์ร่วมของนานาชาติ ซึ่งนโยบายนี้เข้าทางความคิดอ่าน ทัศนคติของฝ่ายสภาคองเกรส (ส่วนใหญ่อยู่แล้ว) ก็เลยปล่อยให้ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ว่ากันไปตามสะดวก

และในประเด็นการต่างประเทศ และความมั่นคงระหว่างประเทศก็เช่นกัน ฝ่ายคองเกรส มักจะเป็นตัวสะท้อนความนึกคิดของคนอเมริกันทั่วไป ซึ่งระยะหลังได้แสดงออกอย่างชัดเจนว่าไม่อยากให้สหรัฐอเมริกาเข้าไปยุ่มย่ามในเวทีโลกมากนัก อยากจะให้อเมริกาโดยรวมอยู่เฉยๆ ไม่ต้องไปเกี่ยวข้อง (Isolationist) กับชาวบ้านชาวช่อง อันเป็นผลมาจากการที่ตลอดประวัติศาสตร์อันสั้นของสหรัฐอเมริกานั้น สหรัฐอเมริกาต้องเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับสงครามระหว่างประเทศต่างๆ มากมาย แม้จะได้รับชัยชนะเกือบทุกครั้ง (ยกเว้นสงครามเวียดนาม) แต่ทุกครั้งก็สูญเสียทั้งชีวิตผู้คนงบประมาณอย่างมหาศาล แถมสหรัฐอเมริกายังเสียภาพพจน์ ถูกตราหน้าจากนานาชาติว่าเป็นจอมแทรกแซง ชอบทำตัวเป็นตำรวจโลก

ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ เข้าใจจุดนี้ดี จึงประกาศนโยบายมุ่งการลดกำลังทหารในจุดประทุ จุดระเบิดของโลกต่างๆ เพื่อเอาใจชาวอเมริกันที่อ่อนไหวต่อการสูญเสียชีวิตของทหารชาติตน ซึ่งส่งผลให้สภาคองเกรสปล่อยปละละเลยในเรื่องการต่างประเทศ (ทั้งการค้าขาย และความมั่นคง) ทำให้บทบาทของประธานาธิบดีโดนัลด์ทรัมป์ ในเรื่องต่างประเทศมีความเป็นอิสระ ไม่ค่อยถูกตรวจสอบเท่าที่ควร

อย่างไรก็ตาม ปัญหาที่ค้างคาอยู่ในอิรัก ในซีเรีย ในอัฟกานิสถานในเยเมน ในอ่าวเปอร์เซีย และคาบสมุทรเกาหลี เป็นต้น ได้ผลักดันให้สภาคองเกรสเริ่มไหวตัว กลับมาให้ความสนใจในทำนองอยากมีส่วนร่วมด้วยในการตัดสินใจของประธานาธิบดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเกิดปัญหากับอิหร่านครั้งล่าสุด ยิ่งทำให้ตระหนักว่า ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ นั้นมีการตัดสินใจที่โลดโผน (Adventurous) มากเกินไป

ทางสภาคองเกรสจึงได้ลงมติ (แบบไม่บังคับหรือผูกมัด)ให้มีการบอกกล่าวหารือกันมากยิ่งขึ้น อีกทั้งก็เริ่มมีแนวโน้มที่จะนำเรื่องราวไปหารือ หรือฟ้องร้อง เพื่อให้มีการตัดสินใจร่วมกันระหว่างฝ่ายบริหาร กับฝ่ายนิติบัญญัติ แต่ก็มิใช่ว่าเรื่องทั้งหมดต้องไปยุติที่ศาล ทางฝ่ายสภาคองเกรสเองก็ต้องเพิ่มความสนอกสนใจในเรื่องการต่างประเทศต่างๆ ทั้งหมด มิใช่แค่เพื่อตรวจสอบ ถ่วงดุล แต่เพื่อร่วมรักษาผลประโยชน์และสถานะของสหรัฐอเมริกาโดยรวมด้วย

กษิต ภิรมย์

kasitfb@gmail.com

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

  •  
  • Breaking News
  • ข่าวยอดนิยม
  • คอลัมน์ฮิต
14:33 น. เปิดผล‘ดัชนีสร้างชาติ’2025-26 ‘ไทย’พุ่งอันดับ 3 อาเซียน ติดท็อป 46 โลก สะท้อนรากฐานมั่นคง
13:42 น. ‘ทักษิณ’เตรียมทอดผ้าป่า‘วัดบ้านไร่’ 19 ก.ค. สร้าง‘หลวงพ่อคูณ’องค์ใหญ่ที่สุดในโลก
13:22 น. ‘อนุสรณ์’แนะ‘ภราดร’ตรวจสอบคนในก่อนโวยวายคนนอกปมคุมเสียงไม่ได้
13:14 น. รัฐบาลเปิดระบบ‘มอก.วอทช์’ ดึง AI ล่าล้างบางของเถื่อน ผ่านทางออนไลน์ 24 ชม.
13:08 น. 'ตะไลชนโคม' สีสันกีฬาพื้นบ้าน-สร้างความสนุกสนาน'งานบุญวันเข้าพรรษา'
ดูทั้งหมด
โปรดเกล้าฯ 'พล.อ.' พ้นจากการปฏิบัติหน้าที่ นายทหารราชองครักษ์พิเศษ
พอที'เพื่อไทย'!! อดีตเด็ก พท.หอบผ้าซบพรรคลุงป้อมพรึ่บ อีสานมาเพียบ! (คลิป)
'หมอวรงค์'บอกหนาวเลย! หลังฟังการไต่สวนคดี'ทักษิณ'ชั้น 14 รพ.ตร. ครั้งที่ 3
ศาลรัฐธรรมนูญ มีมติ 8 ต่อ 1 หญิงหย่าสามีต้องกลับไปใช้นามสกุลเดิม
'ดุ๊ก ภาณุเดช'วอนหยุดบุกรุกบ้านส่วนตัวที่เขาใหญ่ สุดทนคนแห่ถ่ายรูป-เดินชิลเหมือนอยู่คาเฟ่
ดูทั้งหมด
จีนยกระดับปราบ Cyber Scam ฉ้อโกงออนไลน์ให้เป็นวาระแห่งชาติ
ฝนตก-น้ำท่วม-ก่อสร้าง พึงระมัดระวังไฟดูด-ไฟรั่ว
ฮุนเซน-ทักษิณ (แพทองธาร) มิตรหรือศัตรู
บุคคลแนวหน้า วันที่ 12 ก.ค. 2568
ทักษิณยังคงคุยโวเหมือนเดิม
ดูทั้งหมด

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

‘ทักษิณ’เตรียมทอดผ้าป่า‘วัดบ้านไร่’ 19 ก.ค. สร้าง‘หลวงพ่อคูณ’องค์ใหญ่ที่สุดในโลก

‘พัทลุง’สลด! พบศพผัวเมียรับซื้อน้ำยาง ถูกยิงดับคู่ในบ้าน ตร.คาดทะเลาะกัน

‘ทนายวันชัย’มองเรื่อง‘สีกากอล์ฟ’ เปรียบฆาตกามต่อเนื่อง กระชากหน้ากาก‘คนห่มเหลือง’

ยิปซีพยากรณ์ดวงรายวัน ประจำวันเสาร์ที่ 12 ก.ค.68

สุดทน!‘สุทิน’จี้ผู้รักษากฎหมายต้องขยับ ปล่อยให้‘สทร.’ย่ำยีประเทศไม่ได้อีกแล้ว

‘นักเขียนซีไรต์’ฟาดนักการเมืองขี้ขลาด มุ่งแก้ ม.112 นิรโทษกรรมตัวเอง

  • Breaking News
  • เปิดผล‘ดัชนีสร้างชาติ’2025-26 ‘ไทย’พุ่งอันดับ 3 อาเซียน ติดท็อป 46 โลก สะท้อนรากฐานมั่นคง เปิดผล‘ดัชนีสร้างชาติ’2025-26 ‘ไทย’พุ่งอันดับ 3 อาเซียน ติดท็อป 46 โลก สะท้อนรากฐานมั่นคง
  • ‘ทักษิณ’เตรียมทอดผ้าป่า‘วัดบ้านไร่’ 19 ก.ค. สร้าง‘หลวงพ่อคูณ’องค์ใหญ่ที่สุดในโลก ‘ทักษิณ’เตรียมทอดผ้าป่า‘วัดบ้านไร่’ 19 ก.ค. สร้าง‘หลวงพ่อคูณ’องค์ใหญ่ที่สุดในโลก
  • ‘อนุสรณ์’แนะ‘ภราดร’ตรวจสอบคนในก่อนโวยวายคนนอกปมคุมเสียงไม่ได้ ‘อนุสรณ์’แนะ‘ภราดร’ตรวจสอบคนในก่อนโวยวายคนนอกปมคุมเสียงไม่ได้
  • รัฐบาลเปิดระบบ‘มอก.วอทช์’ ดึง AI ล่าล้างบางของเถื่อน ผ่านทางออนไลน์ 24 ชม. รัฐบาลเปิดระบบ‘มอก.วอทช์’ ดึง AI ล่าล้างบางของเถื่อน ผ่านทางออนไลน์ 24 ชม.
  • \'ตะไลชนโคม\' สีสันกีฬาพื้นบ้าน-สร้างความสนุกสนาน\'งานบุญวันเข้าพรรษา\' 'ตะไลชนโคม' สีสันกีฬาพื้นบ้าน-สร้างความสนุกสนาน'งานบุญวันเข้าพรรษา'
ดูทั้งหมด

คอลัมน์ที่เกี่ยวข้อง

ไม่เอาเผด็จการ ยังเพียรกับประชาธิปไตยต่อไป

ไม่เอาเผด็จการ ยังเพียรกับประชาธิปไตยต่อไป

9 ก.ค. 2568

ประธานาธิบดี ทรัมป์  ไม่โปรดพวกตีกินและเกาะกิน

ประธานาธิบดี ทรัมป์ ไม่โปรดพวกตีกินและเกาะกิน

2 ก.ค. 2568

เผด็จการไม่ยั่งยืนและประชาธิปไตย  แก้ไขปรับปรุงตัวเองไปได้ตลอด

เผด็จการไม่ยั่งยืนและประชาธิปไตย แก้ไขปรับปรุงตัวเองไปได้ตลอด

25 มิ.ย. 2568

Mood ในยุโรป

Mood ในยุโรป

18 มิ.ย. 2568

การเคารพ ปกป้องคุ้มครอง  องค์ประมุข และประมุขประเทศ

การเคารพ ปกป้องคุ้มครอง องค์ประมุข และประมุขประเทศ

11 มิ.ย. 2568

บทบาทของประเทศพลังอำนาจขนาดกลาง

บทบาทของประเทศพลังอำนาจขนาดกลาง

4 มิ.ย. 2568

ประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์  เริ่มผลักดันสันติภาพโลก ด้วยการเจรจาทางการทูต

ประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ เริ่มผลักดันสันติภาพโลก ด้วยการเจรจาทางการทูต

28 พ.ค. 2568

น้อมรำลึกถึงเจ้าชายสิทธัตถะ

น้อมรำลึกถึงเจ้าชายสิทธัตถะ

21 พ.ค. 2568

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved