วันพุธ ที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / คอลัมน์ / คอลัมน์การเมือง / เส้นใต้บรรทัด
เส้นใต้บรรทัด

เส้นใต้บรรทัด

จิตกร บุษบา
วันพุธ ที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2563, 02.00 น.
เรียนออนไลน์...ไทยแลนด์

ดูทั้งหมด

  •  

เมื่อเริ่มทดสอบระบบการเรียนออนไลน์และออนแอร์ ความโกลาหลเกิดขึ้น เริ่มจากความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนว่าเป็นการเปิดภาคเรียนแล้ว ทุกคนต้องเรียน ทั้งๆ ที่เป็นเพียงการทดสอบระบบและเสริมกิจกรรมให้แก่ผู้ปกครองและเด็ก เนื่องจากมีการเลื่อนการเปิดภาคเรียนไปเป็นวันที่ 1 กรกฎาคมนี้

นายเทพไท เสนพงศ์ สส.นครศรีธรรมราช พรรคประชาธิปัตย์ โพสต์เฟซบุ๊คส่วนตัว กล่าวถึง กรณีการเปิดเรียนทางออนไลน์ของนักเรียนในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ว่า จากการติดตามข้อมูล และได้รับข้อร้องเรียนจากผู้ปกครองของนักเรียนในหลายพื้นที่ พบว่าเกิดปัญหา และอุปสรรคมากมาย ที่กระทรวงศึกษาธิการจะต้องตระหนัก และนำปัญหาที่เกิดขึ้นไปแก้ไข โดยเฉพาะอย่างยิ่งความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาของประเทศที่เกิดขึ้นมาช้านาน เด็กนักเรียนในชนบท จะเสียเปรียบนักเรียนในสังคมเมือง ทั้งด้านข้อมูลข่าวสาร ตำราเรียน ครูอาจารย์ที่มีความชำนาญในการสอน และโอกาสในการเรียนพิเศษ หรือสถาบันกวดวิชา ฯลฯ


เมื่อเกิดการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 จนโรงเรียนไม่สามารถจะเปิดเรียนได้ตามปกติ ทำให้กระทรวงศึกษาธิการ ต้องมีนโยบายให้เปิดเรียนทางออนไลน์ และระบบดาวเทียม ตั้งแต่เมื่อวันที่ 18 พ.ค.เป็นวันแรก พบว่ามีปัญหาอุปสรรคที่ตนได้รับการร้องเรียน ซึ่งสามารถรวบรวมได้ดังนี้คือ

1.มีนักเรียนบางส่วน ขาดแคลนอุปกรณ์การเรียนการสอน เช่น โทรศัพท์มือถือ แท็บเลต โทรทัศน์

2.ในพื้นที่ชนบทบางแห่ง ไม่มีสัญญาณโทรศัพท์ ไม่สามารถเรียนทางออนไลน์ได้ และไม่มีจานดาวเทียม หรือจานดาวเทียมรับสัญญาณไม่ได้

3.ในพื้นที่ที่มีสัญญาณอินเตอร์เนต ก็เกิดสภาพสัญญาณล่ม และสัญญาณอินเตอร์เนตไม่เสถียร ต้องจ้างช่างมาปรับจูนสัญญาณใหม่

4.เด็กนักเรียนยังขาดความพร้อมในการเรียนทางออนไลน์ ไม่มีสมาธิในการเรียน ไม่สามารถเรียนด้วยตนเองได้ ขาดแรงจูงใจ เพราะไม่มีครูคอยกระตุ้นเตือนเหมือนในห้องเรียน

5.ในครอบครัวที่มีพี่น้องกำลังเรียนหนังสือหลายคนแต่มีโทรทัศน์เพียงเครื่องเดียว ทำให้ไม่สามารถเรียนได้ครบทุกคน

6.เกิดปัญหาปมด้อยของนักเรียน มีการเปรียบกับเพื่อนๆที่มีอุปกรณ์ในการเรียนที่ดีกว่า ทันสมัยกว่า มีความพร้อมมากกว่า

7.เป็นภาระการสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายของผู้ปกครองในการซื้ออุปกรณ์ในการเรียนออนไลน์ และการเรียนผ่านดาวเทียมเพิ่มขึ้นอีกในยามที่กำลังประสบปัญหาทางเศรษฐกิจเช่นนี้

8.ผู้ปกครองนักเรียนต้องทำหน้าที่เป็นพี่เลี้ยงคอยควบคุมให้ลูกนั่งเรียนผ่านออนไลน์ ทำให้เสียเวลาในการทำงาน หรือประกอบอาชีพในการทำมาหากินของแต่ละวันได้

จึงขอเสนอให้กระทรวงศึกษาธิการได้เตรียมความพร้อม และเร่งรัดให้มีการเรียนการสอนในห้องเรียนของโรงเรียนให้เร็วที่สุด โดยคำนึงถึงความปลอดภัยของเด็ก ครู ผู้ปกครอง และบุคลากรทางการศึกษา เพราะการเรียนในห้องเรียน ย่อมมีประสิทธิภาพ และผลสัมฤทธิ์มากกว่า การเรียนผ่านระบบออนไลน์หรือดาวเทียม และเป็นการแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำ ระหว่างนักเรียนในเมืองกับในชนบท ที่มีความไม่เท่าเทียมทางการศึกษามาเป็นเวลายาวนานด้วย

ขณะที่ ศ.ดร.กนก วงษ์ตระหง่าน รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ได้เขียนบทความสั้นๆ ชื่อ “โรงเรียนควรเปิดได้แล้วหรือไม่ ถ้าเรียนออนไลน์ไม่ใช่คำตอบ” ว่า

กระทรวงศึกษาธิการ โดยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) กำหนดชัดเจนแล้วว่า ถ้าสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ไม่ลดลงจนถึงเกณฑ์ปลอดภัยต่อการไปโรงเรียนของนักเรียน โดยเฉพาะชั้นอนุบาลไปจนถึงมัธยมศึกษาปีที่ 3 ทาง สพฐ. จะจัดให้มีการสอนออนไลน์ (และออนทีวี) ผ่านช่องทีวีดิจิทัลเพื่อการศึกษา (DTV ช่อง 37-53) ซึ่งจะเริ่มต้นทดลองการถ่ายทอดการสอนผ่านช่องทีวีดิจิทัลในวันที่ 18 พฤษภาคม (2563) นี้ เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการเปิดเทอมที่ถูกเลื่อนไปเป็นวันที่ 1 กรกฎาคม 2563

ประเด็นที่กลายเป็นข้อกังวลของวงการศึกษา คือ การปล่อยให้นักเรียนหยุดเรียนอย่างยาวนาน ถึงแม้จะมีการเรียนผ่านช่องทีวีดิจิทัลก็ตาม ก็อาจส่งผลเสียหายต่อกระบวนการเรียนรู้ของนักเรียน ทั้งนี้เพราะความไม่เชื่อว่าการสอนออนไลน์ (และออนทีวี) ผ่านทีวีดิจิทัลที่ สพฐ. จะดำเนินการนั้น จะสามารถพัฒนาคุณภาพนักเรียนได้อย่างที่ควรจะเป็น

ในทางกลับกัน ถ้าให้นักเรียนไปโรงเรียนในช่วงเวลานี้ แล้วนักเรียนเกิดติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ก็จะกลายเป็นความไม่สบายใจของผู้ปกครอง และบุคลากรที่เกี่ยวข้อง ด้วยประเด็นความขัดแย้งของแนวทางจัดการเรียนการสอนภายใต้สถานการณ์ที่ไม่มีความแน่นอนจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 นี้ จึงกลายเป็นเรื่องที่สังคมให้ความคิดเห็นกันอย่างกว้างขวาง

ดังนั้น ผมในฐานะที่ทำงานทางด้านการศึกษามาอย่างต่อเนื่อง จึงขอเสนอความคิดเห็นต่อเรื่องนี้ เพื่อหวังว่าจะช่วยนำไปสู่การแก้ไขปัญหาดังกล่าวให้มีทางออกที่เหมาะสม และถือเป็นส่วนหนึ่งของการแสดงความห่วงใยที่มีต่อสถานการณ์อันไม่ปกติ ซึ่งกระทบต่อกลไกทางการศึกษาจนอาจส่งผลต่อกระบวนการเรียนรู้ของนักเรียนในบ้านเมืองของเรา

คงต้องเริ่มต้นกันด้วย การพิจารณาถึงข้อดีและข้อเสียของการเรียนการสอนแบบออนไลน์ (และออนทีวี) รวมไปถึงการไปโรงเรียนภายใต้สถานการณ์ที่ภาครัฐยังไม่ให้ความแน่นอนในเรื่องของความปลอดภัยจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19

1.การสอนออนไลน์ (และออนทีวี) ทำให้นักเรียนอยู่บ้านเรียนหนังสือได้ โอกาสเสี่ยงต่อการติดเชื้อไวรัสน้อย ในขณะที่การไปโรงเรียน นักเรียนมีโอกาสที่จะติดเชื้อไวรัสมากกว่า

2.การเรียนที่โรงเรียน นักเรียนมีโอกาสที่จะเรียนรู้และพัฒนาทักษะทางอารมณ์และสังคมได้มากกว่าการเรียนออนไลน์ (และออนทีวี) เพราะนักเรียนอยู่ที่บ้านโดยไม่มีเพื่อนเล่น และไม่มีปฏิสัมพันธ์อื่นๆ

3.การเรียนออนไลน์ (ออนทีวี) นักเรียนไม่มีโอกาสรับประทานอาหารเช้าและกลางวัน รวมทั้งดื่มนม เหมือนที่ไปโรงเรียน ดังนั้น การเรียนออนไลน์(และออนทีวี) จะกระทบกับนักเรียนที่มาจากครอบครัวยากจนมากกว่านักเรียนที่มีฐานะทางเศรษฐกิจดี

4.การเรียนออนไลน์ (และออนทีวี) ผ่านช่องทีวีดิจิทัลที่ สพฐ. เตรียมการนี้ มีโอกาสสูงมากที่นักเรียนจะไม่สนใจ และหลุดไปจากการสอนที่ถ่ายทอดอยู่ ความไม่สนใจและหลุดไปจากสาระที่สอน จะส่งผลให้นักเรียนขาดความต่อเนื่องในการเรียนของคาบชั่วโมงต่อไป และสุดท้ายมีโอกาสที่จะหลุดจากการเรียนไปเลย คือไม่อยากไปโรงเรียนเลย ถึงแม้โรงเรียนจะเปิดสอนตามปกติแล้วก็ตาม (เมื่อการระบาดของเชื้อไวรัสสิ้นสุด)

5. ข้อจำกัดของการเรียนออนไลน์ (และออนทีวี) เหล่านี้ เมื่อนำขึ้นมาพิจารณากับความเสี่ยงของนักเรียนต่อการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 แล้ว แน่นอนว่า พ่อแม่ผู้ปกครอง และผู้ที่เกี่ยวข้องทุกคน คงจะไม่มีใครต้องการให้เกิดการติดเชื้อของนักเรียน จึงไม่มีคำตอบที่ชัดเจนว่า ควรเลือกการเรียนออนไลน์ (และออนทีวี)หรือการให้นักเรียนไปโรงเรียน

ทั้ง 5 ประเด็นที่ผมนำขึ้นมากล่าว เพื่อให้เข้าใจปัญหาสำคัญที่ต้องทำการแก้ไข แต่การแก้ไขปัญหาดังกล่าวนั้น ไม่ว่าจะเป็นการเลือกหนทางใด ก็ไม่มีใครสามารถรับประกันได้ว่า นักเรียนจะไม่ติดเชื้อไวรัส (ถ้าไปโรงเรียน) และไม่มีใครยืนยันได้ว่า นักเรียนจะได้เรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ตามเป้าหมายที่ควรจะเป็น ผ่านการเรียนออนไลน์(และออนทีวี) สิ่งที่ควรต้องมาให้น้ำหนักก็คือ คำถามที่ว่า ใครควรจะเป็นผู้ตัดสินใจว่านักเรียนควรจะไปโรงเรียน หรือควรจะเรียนออนไลน์ (และออนทีวี)

ถ้า สพฐ. จะเป็นผู้ตัดสินใจในเรื่องนี้ แล้วให้นักเรียนทั้งประเทศปฏิบัติตาม ผมคิดว่าคงจะไม่ถูกต้องนัก เพราะสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ในแต่ละพื้นที่มีความแตกต่างกัน

ที่สำคัญ ความรับผิดชอบด้านสาธารณสุขในบริเวณพื้นที่ตั้งของแต่ละโรงเรียนนั้น ก็มีบริบทสภาพแวดล้อมตามความเข้าใจและความคุ้นเคยของคนในพื้นที่ และผู้เชี่ยวชาญด้านสาธารณสุขในบริเวณดังกล่าว

ดังนั้น คณะบุคคลที่ควรต้องตัดสินใจ ว่าสถานการณ์ระบาดของไวรัสในบริเวณพื้นที่ตั้งของโรงเรียนนั้นๆ จะปลอดภัยพอที่จะให้นักเรียนไปโรงเรียนได้หรือไม่ น่าจะให้คณะกรรมการสถานศึกษาของโรงเรียน อันประกอบด้วย ตัวแทนผู้ปกครอง(พ่อแม่) บุคคลในชุมชน ครู และผู้บริหารโรงเรียนรวมไปถึงแพทย์ในพื้นที่ดังกล่าวเข้าร่วมให้ความเห็นก็น่าจะเป็นช่องทางที่เหมาะสมกับทุกฝ่าย ไม่ใช่ปล่อยตามอำเภอใจของ สพฐ.

ได้สองความเห็นจากสองท่านนี้ ก็สะท้อนปัญหาได้ครบสมบูรณ์พอดี เป็นหน้าที่ของผู้เกี่ยวข้องจะต้องนำไปพิจารณา!!!

 

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

  •  
  • Breaking News
  • ข่าวยอดนิยม
  • คอลัมน์ฮิต
12:58 น. ‘เบน หวัง’ คว้าบท ‘ลี’ ท่ามกลางนักแสดงจากทั่วโลก สานต่อตำนานยอดนักสู้
12:54 น. ระทึก! กระบะตู้ทึบพุ่งเสยเสาไฟ-รั้วบ้านพังยับ คนขับรอดปาฏิหาริย์
12:53 น. กทม.เสนอร่างข้อบัญญัติฯ คุมแสงจ้าป้ายโฆษณา LED ลดความเดือดร้อนประชาชน
12:49 น. ทอ.เด้งรับสมรสเท่าเทียม! เปลี่ยนชื่อ 'สมาคมแม่บ้าน ทอ.' เป็น 'สมาคมคู่สมรสทหารอากาศ'
12:47 น. เตรียมวอร์มนิ้วให้พร้อม! เสาร์ที่ 5 ก.ค. นี้ 10 โมงตรง! กดบัตร'สุรุ่ยสุร่าย'
ดูทั้งหมด
ผลสลากกินแบ่งรัฐบาล งวดประจำวันที่ 1 กรกฎาคม 2568
‘มาครง’เผยคุย‘แพทองธาร’แล้ว ลั่นคนไทยไว้วางใจมิตรภาพจาก‘ฝรั่งเศส’ได้เสมอ
‘หม่อมปนัดดา‘ ปรากฏตัวกลางม็อบ ‘รวมพลังแผ่นดิน’ ของดให้สัมภาษณ์สื่อ
แกว่งเท้าหาเสี้ยน! ปรากฏการณ์แฉโพย‘สายส้ม’เข้มข้น-ล่อนจ้อน
'ออสเตรเลีย'ออกคำเตือนพลเมืองมา'ไทย'หลังพบวัตถุต้องสงสัยหลายเมืองท่องเที่ยวภาคใต้
ดูทั้งหมด
ต้นสนยักษ์ร่วมสมัยกับฟาโรห์
‘คลิปเขมร’เหตุอัปยศ‘แพทองธาร’
รู้ทันคอร์รัปชันด้วยวิทยาศาสตร์ ไม่ใช่แค่ศีลธรรม
วาทกรรมเจ็บจี๊ด
อุ๊งอิ๊งค์ 2 ปรับ ครม. ฟอร์มาลีน
ดูทั้งหมด

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

ทอ.เด้งรับสมรสเท่าเทียม! เปลี่ยนชื่อ 'สมาคมแม่บ้าน ทอ.' เป็น 'สมาคมคู่สมรสทหารอากาศ'

ท่องคาถา‘ยุบสภา’ ‘ช่อ’ท้าฝั่ง รบ.เป็นนักการเมืองอย่ากลัวเลือกตั้ง

ไม่ช่วยใครง่ายๆอีก! ‘สหรัฐฯ’ปิดฉาก‘USAID’เลิกหน่วยงานเพื่อมนุษยธรรมอย่างเป็นทางการ

ไม่ใช่แค่ม็อบคนแก่! ม็อบ 28 มิถุนาฯ คือฐานเสียง'พรรค ปชน.' ชี้ฝ่ายค้านเอาแต่แก้ รธน. เมินปากท้องคนไทย

ยันเป็นเขตแดนไทย! ทบ.แจง Google Map ไม่มีผลด้านกฎหมาย หลังหมุดปราสาทโผล่เขมร

ชาวบ้านผวา! ชายคลุ้มคลั่งอาละวาดทำร้ายผู้หญิงบาดเจ็บ

  • Breaking News
  • ‘เบน หวัง’ คว้าบท ‘ลี’ ท่ามกลางนักแสดงจากทั่วโลก  สานต่อตำนานยอดนักสู้ ‘เบน หวัง’ คว้าบท ‘ลี’ ท่ามกลางนักแสดงจากทั่วโลก สานต่อตำนานยอดนักสู้
  • ระทึก! กระบะตู้ทึบพุ่งเสยเสาไฟ-รั้วบ้านพังยับ คนขับรอดปาฏิหาริย์ ระทึก! กระบะตู้ทึบพุ่งเสยเสาไฟ-รั้วบ้านพังยับ คนขับรอดปาฏิหาริย์
  • กทม.เสนอร่างข้อบัญญัติฯ คุมแสงจ้าป้ายโฆษณา LED ลดความเดือดร้อนประชาชน กทม.เสนอร่างข้อบัญญัติฯ คุมแสงจ้าป้ายโฆษณา LED ลดความเดือดร้อนประชาชน
  • ทอ.เด้งรับสมรสเท่าเทียม! เปลี่ยนชื่อ \'สมาคมแม่บ้าน ทอ.\' เป็น \'สมาคมคู่สมรสทหารอากาศ\' ทอ.เด้งรับสมรสเท่าเทียม! เปลี่ยนชื่อ 'สมาคมแม่บ้าน ทอ.' เป็น 'สมาคมคู่สมรสทหารอากาศ'
  • เตรียมวอร์มนิ้วให้พร้อม! เสาร์ที่ 5 ก.ค. นี้ 10 โมงตรง! กดบัตร\'สุรุ่ยสุร่าย\' เตรียมวอร์มนิ้วให้พร้อม! เสาร์ที่ 5 ก.ค. นี้ 10 โมงตรง! กดบัตร'สุรุ่ยสุร่าย'
ดูทั้งหมด

คอลัมน์ที่เกี่ยวข้อง

พรรคส้ม...กับ ‘พรรคทักษิณ’

พรรคส้ม...กับ ‘พรรคทักษิณ’

2 ก.ค. 2568

ปฏิบัติการ ‘แก้ผ้าตัวเอง’ ของ ‘ฮุนเซน’

ปฏิบัติการ ‘แก้ผ้าตัวเอง’ ของ ‘ฮุนเซน’

29 มิ.ย. 2568

รอพิกุลทองร่วงจากปาก ‘พีระพันธุ์

รอพิกุลทองร่วงจากปาก ‘พีระพันธุ์

25 มิ.ย. 2568

‘พ่อ’ นายกฯ

‘พ่อ’ นายกฯ

22 มิ.ย. 2568

‘หนี้’ ที่ไทยต้องทวง ‘กัมพูชา’

‘หนี้’ ที่ไทยต้องทวง ‘กัมพูชา’

18 มิ.ย. 2568

ประตู ‘คุก’ ยังเปิดรอ...นะพ่อนะ

ประตู ‘คุก’ ยังเปิดรอ...นะพ่อนะ

15 มิ.ย. 2568

ไม่ขึ้นศาลโลก ไม่เสียดินแดน

ไม่ขึ้นศาลโลก ไม่เสียดินแดน

11 มิ.ย. 2568

รัฐบาลไทย ‘หัวใจเขมร’

รัฐบาลไทย ‘หัวใจเขมร’

8 มิ.ย. 2568

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved