วันพฤหัสบดี ที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / คอลัมน์ / คอลัมน์การเมือง / เขียนให้คิด
เขียนให้คิด

เขียนให้คิด

เฉลิมชัย ยอดมาลัย
วันอาทิตย์ ที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2564, 02.00 น.
ความเสมอภาคทางกฎหมาย ทำให้สังคมไทยมีความสงบสุข

ดูทั้งหมด

  •  

ประชาชนพลเมืองไทยต้องมีความเสมอภาค และความเท่าเทียมกันทางกระบวนการยุติธรรม นี่คือเสียงเรียกร้องที่ประชาชนพลเมืองไทยที่บอกกับรัฐบาลทุกชุดในประเทศนี้ สาเหตุที่ประชาชนพลเมืองไทยเรียกร้องเช่นนี้ก็เพราะมีข้อเท็จจริงปรากฏเสมอๆ ว่ามีความไม่เท่าเทียมกันในกระบวนการยุติธรรม หรือในทางการบังคับใช้กฎหมายในสังคมไทย ทั้งๆ ที่มีการอ้างตลอดเวลาว่าประเทศไทยมีความเสมอภาค และความเท่าเทียมกัน แต่คำอ้างกับความจริง ช่างต่างกันลิบลับ 

ขออนุญาตพูดถึงหลักความเสมอภาค เพื่อย้ำความเข้าใจที่ตรงกันก่อน ความเสมอภาคคือหลักพื้นฐานแห่งศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์  มนุษย์ทุกคนต้องได้รับการรับรอง และการคุ้มครองจากกฎหมายอย่างเท่าเทียมเสมอเหมือนกันในฐานะที่เป็นมนุษย์ โดยไม่มีข้อยกเว้นในเรื่องคุณสมบัติใดๆ เช่น ถิ่นกำเนิด เชื้อชาติ ศาสนา และภาษา เป็นต้น 


หลักความเสมอภาคยังเป็นหลักที่ใช้ควบคุมเพื่อมิให้รัฐบาล หรือผู้มีอำนาจรัฐใช้อำนาจที่มีตามอำเภอใจ ดังนั้น การที่รัฐบาลจะใช้อำนาจรัฐจัดการกับใครก็ตาม รัฐบาลต้องอธิบายและให้เหตุผลชัดเจนเชิงประจักษ์ได้ว่าเพราะเหตุใด หากรัฐบาลแจ้งเหตุผลที่สาธารณชนไม่ยอมรับ เพราะขัดกับหลักความเสมอภาค แสดงว่าการใช้อำนาจของรัฐบาลเป็นสิ่งไม่ถูกต้องตามหลักการซึ่งถือเป็นการใช้อำนาจตามอำเภอใจ  

ขอย้ำยืนยันว่า หลักความเสมอภาคคือหลักการสำคัญที่ใช้เพื่อรับรอง และเพื่อคุ้มครองสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานของประชาชนพลเมืองทุกคน และยังเป็นเครื่องมือตรวจสอบการใช้อำนาจของรัฐบาล รวมถึงอำนาจใดๆ ของผู้มีอำนาจรัฐบนแผ่นดินได้อีกด้วย  

เมื่อกล่าวถึงแนวความคิดทางด้านกฎหมายแล้ว จำเป็นต้องให้ความสำคัญอย่างยิ่งยวดต่อหลักแห่งความเสมอภาคเป็นอันดับแรก ทั้งนี้ ประเทศที่ปกครองด้วยระบอบเสรีนิยมต่างให้การรับรองในหลักการที่ว่าบุคคลย่อมมีความเสมอภาคเสมอหน้ากัน และต้องได้รับการรับรอง และความคุ้มครองตามกฎหมายอย่างเท่าเทียมกันทุกประการ หมายถึงบุคคลทุกคนต้องอยู่บนหลักความเสมอภาคเบื้องหน้าทางกฎหมาย เพราะยึดมั่นในหลักการที่ว่า ปัจเจกชนมีสิทธิเสรีภาพติดตัวมาตั้งแต่ถือกำเนิด และไม่มีใครสามารถพรากเอาสิทธิเสรีภาพนั้นไปจากปัจเจกชนได้ ดังระบุว่า บุคคลทุกคนเกิดมาย่อมเสมอภาคกัน และมีสิทธิบางประการ เช่น สิทธิในชีวิต ในร่างกาย ในทรัพย์สินที่ติดตัวมา โดยสิทธิดังกล่าวนี้ไม่สามารถจำหน่ายจ่ายโอนได้ (สำหรับคุณที่สนใจรายละเอียดเรื่องนี้ โปรดอ่านเพิ่มเติมจากทฤษฎีกฎหมายธรรมชาติ และจากแนวคิด Natural Rights ของ John Locke)  

หลักสิทธิเสรีภาพของปัจเจกบุคคล คือหลักการสำคัญที่ทำให้สังคมดำรงความเป็นธรรมไว้ได้ เพราะเมื่อสังคมใดก็ตามที่ยอมรับคุณค่าของปัจเจกบุคคลอย่างแท้จริงแล้ว โดยไม่ก้าวก่ายสิทธิเสรีภาพของปัจเจกบุคคลอย่างเคร่งครัด ซึ่งจะยกเว้นเพียงกรณีเดียวคือ เพื่อประโยชน์สุขแห่งส่วนรวม สังคมนั้นจะมีความผาสุก สงบ ร่มเย็น 

ดังนั้น แนวคิดมนุษย์เกิดมาย่อมเสมอภาคกัน จึงนับเป็นหัวใจสำคัญของรัฐธรรมนูญของประเทศที่ปกครองด้วยระบอบเสรีนิยมอย่างเคร่งครัด จึงเกิดแนวคิดว่ารากฐานแห่งหลักความเสมอภาคภายใต้รัฐธรรมนูญ คือหลักการและแนวคิดเดียวกับหลักความเสมอภาคภายใต้กฎหมาย ซึ่งก็คือแนวคิดหลักที่เป็นปฐมบทของการปกครองระบอบเสรีประชาธิปไตย ด้วยเหตุนี้จึงนำไปสู่ความจริงที่ปรากฏในรัฐธรรมนูญของประเทศที่เจริญแล้วว่า รัฐธรรมนูญนี้ให้การรับรองต่อหลักความเสมอภาคตามกฎหมายของประชาชนโดยไม่มีการแบ่งแยกแหล่งกำเนิด เชื้อชาติ หรือศาสนาโดยรัฐบาลต้องให้ความเคารพต่อความเชื่อในคำสอนศาสนาทุกนิกาย 

ทั้งนี้หากจะอ้างถึงหลักฐานยืนยันเรื่องความเสมอภาคที่ชัดเจนที่สุดที่สามารถหาได้คือ ปฏิญญาว่าด้วยสิทธิมนุษยชนและพลเมืองของฝรั่งเศส ลงวันที่ 26 สิงหาคม ค.ศ.1789 โดยได้มีการรับรองไว้ใน 3 มาตรา ดังนี้  

มาตรา 1 มนุษย์กำเนิดและดำรงชีวิตโดยมีอิสระ และเสมอภาคกันตามกฎหมาย การแบ่งแยกทางสังคมจะกระทำได้ก็เพียงแต่เพื่อผลประโยชน์ร่วมกันของส่วนรวมเท่านั้น 

มาตรา 6 กฎหมายคือการแสดงออกของเจตนารมณ์ร่วมกัน และกฎหมายจะต้องเหมือนกันสำหรับทุกคน ไม่ว่าจะเป็นการคุ้มครองหรือการลงโทษก็ตาม พลเมืองทุกคนต้องเท่าเทียมกันเบื้องหน้ากฎหมาย และต้องได้รับการยอมรับอย่างเท่าเทียมกันในเรื่องของศักดิ์ศรี สถานภาพ และงานภาครัฐตามหลักของความสามารถ โดยปราศจากความแตกต่าง เว้นเพียงแต่เฉพาะเรื่องพลัง และพรสวรรค์ของแต่ละคนเท่านั้น 

มาตรา 13 เพื่อทำนุบำรุงกองทัพ และเพื่อรายจ่ายในการดำเนินงานของรัฐ จึงจำเป็นต้องเรียกเก็บภาษี โดยจะต้องมีการกระจายภาระภาษีอย่างเท่าเทียมกันในหมู่พลเมืองทุกคน โดยคำนึงถึงหลักความสามารถของแต่ละคน 

ดังนั้น เมื่อพิจารณารัฐธรรมนูญของประเทศที่ปกครองด้วยระบอบเสรีประชาธิปไตยบนโลกใบนี้จึงพบว่ารัฐธรรมนูญของประเทศเหล่านั้นได้บัญญัติหลักความเสมอภาคไว้ในรัฐธรรมนูญทั้งสิ้น 

นอกจากมีการกำหนดเรื่องสำคัญดังกล่าวไว้ในรัฐธรรมนูญแล้ว ยังระบุหลักการนี้ในเอกสารรับรองหลักความเสมอภาคระหว่างประเทศอีกหลายฉบับ เช่น ปฏิญญาว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (Universal Declaration of Human Rights) กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (International Conventionof Civil and Political Rights) ปฏิญญาว่าด้วยสิทธิในการพัฒนา (Declaration on the Rights toDevelopment) โดยระบุถึงหลักเกณฑ์การไม่เลือกปฏิบัติต่อบุคคลทุกคน 

สำหรับรัฐธรรมนูญของไทยก็มีการกล่าวถึงหลักการนี้เช่นกัน แต่ถูกวิพากษ์ว่าแม้จะมีการเขียนไว้ก็ตาม แต่กลับไม่ได้ถูกนำไปปฏิบัติอย่างจริงจัง จึงกลายเป็นว่าแม้จะมีการกำหนดไว้ แต่ไม่ค่อยมีผลในการบังคับใช้อย่างเป็นรูปธรรม และไม่มีผลในทางปฏิบัติ 

หลักความเสมอภาคของปัจเจกบุคคลมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับหลักเสรีภาพ เพราะเป็นหลักการที่ทำให้การใช้เสรีภาพเป็นไปอย่างเสมอภาคเท่าเทียมกันทุกคน
เพราะถ้าหากเสรีภาพถูกเลือกใช้กับเพียงบุคคลบางคนเท่านั้น แต่กลับกีดกันไม่ให้คนกลุ่มอื่นๆ เข้าถึงได้ ก็ถือว่าไม่มีเสรีภาพที่แท้จริง  

เพราะฉะนั้น ความเสมอภาคจึงเป็นมูลฐานสำคัญของเสรีภาพ และเป็นหลักประกันทำให้เกิดเสรีภาพได้จริง หลักความเสมอภาคภายใต้กฎหมายจึงเป็นปัจจัยสำคัญที่ก่อให้เกิดการปฏิบัติต่อบุคคลที่เกี่ยวข้องกับเรื่องต่างๆ โดยเท่าเทียมกัน ปราศจากการเลือกปฏิบัติอย่างแท้จริง การปฏิบัติตามหลักความเสมอภาคต้องปฏิบัติต่อสิ่งที่มีสาระสำคัญเฉกเช่นเดียวกัน และต้องเหมือนกันโดยเท่าเทียมกันอีกทั้งจะต้องปฏิบัติต่อสิ่งที่มีสาระสำคัญแตกต่างกันให้แตกต่างกันไปตามลักษณะของเรื่องนั้นๆ จึงจะก่อให้เกิดความยุติธรรมภายใต้หลักความเสมอภาคโดยแท้จริง สำหรับประเด็นหลักความเสมอภาคเฉพาะเรื่องคือ หลักความเสมอภาคที่ใช้เฉพาะภายในขอบเขตของเรื่องใดเรื่องหนึ่งเป็นการเฉพาะเจาะจง เช่น หลักความเสมอภาคเฉพาะเรื่องของความเป็นชายและหญิง เป็นต้น 

ข้อสรุปเบื้องต้นที่ผู้เขียนต้องการเน้นย้ำคือ หลักของความเสมอภาคคือหลักเกณฑ์ที่ต้องปฏิบัติต่อบุคคลทุกคนบนแผ่นดินไทยอย่างเท่าเทียมกันตามข้อกำหนดของกฎหมายอย่างเคร่งครัดทุกประการ สังคมไทยต้องยึดมั่นในกฎเกณฑ์เดียวกันในสถานการณ์เดียวกันผู้เขียนรวมถึงคนไทยทุกคนต่างคาดหวังว่าประเทศไทยจะยึดมั่นในหลักความเสมอภาคทางกฎหมายอย่างเคร่งครัด โดยไม่มีเลือกปฏิบัติ หากประเทศไทยยึดมั่นในหลักความเสมอภาคแล้ว ประชาชนไทย และแผ่นดินไทยจะบังเกิดความผาสุกอย่างยั่งยืน 

 

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

  •  
  • Breaking News
  • ข่าวยอดนิยม
  • คอลัมน์ฮิต
14:32 น. 'ชิมแจฮยอน'วง F.ableเสียชีวิตในวัย 23 ปี หลังป่วยมะเร็งเม็ดเลือดขาว
14:27 น. 'คาโอ'เปิดตัว TEN แคมเปญแอมบาสเดอร์ฉลอง 60 ปีส่งต่อรอยยิ้มในงาน‘Kao X TEN susTENable Smiles’
14:11 น. 'ฮุน เซน'ขู่ตัดขาดไทย! จี้รัฐบาลกัมพูชาเลิกหนุนสินค้าทุกชนิด กร้าว'แม้ไม่มีจะกินก็อย่าพึ่งเขา'
13:51 น. จับหนุ่มหนีคดีพยายามฆ่าซุกตัวในซากเรือ
13:42 น. สุดโรแมนติก! 'โปรต้า'คุกเข่าขอ'ครูเบียร์'แต่งงานริมทะเล
ดูทั้งหมด
ผลสลากกินแบ่งรัฐบาล งวดประจำวันที่ 1 กรกฎาคม 2568
‘มาครง’เผยคุย‘แพทองธาร’แล้ว ลั่นคนไทยไว้วางใจมิตรภาพจาก‘ฝรั่งเศส’ได้เสมอ
‘หม่อมปนัดดา‘ ปรากฏตัวกลางม็อบ ‘รวมพลังแผ่นดิน’ ของดให้สัมภาษณ์สื่อ
‘ทักษิณ‘ พร้อมลูกสาว ’เอม พินทองทา‘ เดินทางออกจากศาลอาญา หลังสืบพยานนัดแรก คดี ม.112
'ออสเตรเลีย'ออกคำเตือนพลเมืองมา'ไทย'หลังพบวัตถุต้องสงสัยหลายเมืองท่องเที่ยวภาคใต้
ดูทั้งหมด
ทิศทางของไทยคือความเป็นกลาง
‘หนีดีกว่า’อวสาน‘ตระกูลชิน’
สองพ่อลูกลุยกรรม
ไทยประกาศสงครามกับอังกฤษและสหรัฐอเมริกา
เดือน ก.ค. อำนาจตุลาการพิทักษ์แผ่นดิน
ดูทั้งหมด

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

'ชิมแจฮยอน'วง F.ableเสียชีวิตในวัย 23 ปี หลังป่วยมะเร็งเม็ดเลือดขาว

'ฮุน เซน'ขู่ตัดขาดไทย! จี้รัฐบาลกัมพูชาเลิกหนุนสินค้าทุกชนิด กร้าว'แม้ไม่มีจะกินก็อย่าพึ่งเขา'

สุดโรแมนติก! 'โปรต้า'คุกเข่าขอ'ครูเบียร์'แต่งงานริมทะเล

วัดแทบแตก! ครอบครัวฝรั่งหัวใจพุทธ สร้างวัด-แจกไข่ไก่ชาวบ้าน

(คลิป) ครม.อุ๊งอิ๊งค์ 1/2 ชุดขาวในเงามืด!

สมศักดิ์ศรีสาวบุรีรัมย์! 'ลิซ่า ลลิษา'โชว์สกิลเทพตำส้มตำปลาร้า ดันอาหารไทยสู่สายตาชาวโลก

  • Breaking News
  • \'ชิมแจฮยอน\'วง F.ableเสียชีวิตในวัย 23 ปี หลังป่วยมะเร็งเม็ดเลือดขาว 'ชิมแจฮยอน'วง F.ableเสียชีวิตในวัย 23 ปี หลังป่วยมะเร็งเม็ดเลือดขาว
  • \'คาโอ\'เปิดตัว TEN แคมเปญแอมบาสเดอร์ฉลอง 60 ปีส่งต่อรอยยิ้มในงาน‘Kao X TEN susTENable Smiles’ 'คาโอ'เปิดตัว TEN แคมเปญแอมบาสเดอร์ฉลอง 60 ปีส่งต่อรอยยิ้มในงาน‘Kao X TEN susTENable Smiles’
  • \'ฮุน เซน\'ขู่ตัดขาดไทย! จี้รัฐบาลกัมพูชาเลิกหนุนสินค้าทุกชนิด กร้าว\'แม้ไม่มีจะกินก็อย่าพึ่งเขา\' 'ฮุน เซน'ขู่ตัดขาดไทย! จี้รัฐบาลกัมพูชาเลิกหนุนสินค้าทุกชนิด กร้าว'แม้ไม่มีจะกินก็อย่าพึ่งเขา'
  • จับหนุ่มหนีคดีพยายามฆ่าซุกตัวในซากเรือ จับหนุ่มหนีคดีพยายามฆ่าซุกตัวในซากเรือ
  • สุดโรแมนติก! \'โปรต้า\'คุกเข่าขอ\'ครูเบียร์\'แต่งงานริมทะเล สุดโรแมนติก! 'โปรต้า'คุกเข่าขอ'ครูเบียร์'แต่งงานริมทะเล
ดูทั้งหมด

คอลัมน์ที่เกี่ยวข้อง

ทายาท (อสูร) การเมืองไทย

ทายาท (อสูร) การเมืองไทย

29 มิ.ย. 2568

อยู่เพื่อทำลายประเทศไทย

อยู่เพื่อทำลายประเทศไทย

22 มิ.ย. 2568

แพทองธาร : ความเจริญ-ความวิบัติของประเทศไทย

แพทองธาร : ความเจริญ-ความวิบัติของประเทศไทย

15 มิ.ย. 2568

อย่ารักชาติแบบศาสตราจารย์ไร้สาระบางจำพวก

อย่ารักชาติแบบศาสตราจารย์ไร้สาระบางจำพวก

8 มิ.ย. 2568

งบประมาณฯ ผลาญชาติ???

งบประมาณฯ ผลาญชาติ???

1 มิ.ย. 2568

แพทองธารไปอังกฤษ ไปพบยิ่งลักษณ์???

แพทองธารไปอังกฤษ ไปพบยิ่งลักษณ์???

25 พ.ค. 2568

ทิดแย้ม ไร่ขิง ปัญหาบนยอดภูเขาน้ำแข็ง

ทิดแย้ม ไร่ขิง ปัญหาบนยอดภูเขาน้ำแข็ง

18 พ.ค. 2568

บ่อนกาสิโน-แพทองธาร ชินวัตร : ภาพลักษณ์ไทย

บ่อนกาสิโน-แพทองธาร ชินวัตร : ภาพลักษณ์ไทย

11 พ.ค. 2568

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved