ในวันที่ “ลุงตู่ – พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา” นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมรวมทั้งคณะรัฐมนตรีทั้งคณะ” ตั้งหน้าตั้งตาสวดภาวนาให้การเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมความร่วมมือทางเศรษฐกิจในเอเชียแปซิฟิก (Asia-Pacific Economic Cooperation: APEC) หรือ เอเปก 2022 (APEC 2022) ร่วมให้การต้อนรับผู้แทนสมาชิกเขตเศรษฐกิจ 21 เขตทั่วโลกผ่านพ้นไปอย่างไร้ปัญหา อย่าได้มีอุปสรรคจากอันธพาลการเมืองจนเกิดผลเสียหายและกระทบต่อความเชื่อมั่นของประเทศที่ต้องดิ้นรนเฉกเช่นทุกประเทศจากอิทธิฤทธิ์พิษภัยจาก “โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (โควิด-19)”
ด้วยการประชุมครั้งนี้ถือว่าสำคัญมากราชอาณาจักรไทยจะได้ประโยชน์จากการเป็นเจ้าภาพการประชุมถึง 7 ประเด็นอาทิ จากการเพิ่มบทบาทที่สร้างสรรค์ของไทยในการร่วมกำหนดนโยบายและทิศทางความร่วมมือทางเศรษฐกิจในระดับภูมิภาคและระหว่างประเทศ, การสร้างช่องทางในการผลักดันท่าที ส่งเสริม และป้องกันผลประโยชน์ของไทยในเวทีระหว่างประเทศ ตลอดจนร่วมกำหนดมาตรฐานและนโยบายในประเด็นใหม่ๆ ของบริบทโลก, การลดอุปสรรคและส่งเสริมโอกาสทางการค้า การลงทุนของไทยกับเศรษฐกิจเอเปกและประเทศหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจที่สำคัญของไทย
นอกจากนี้จะได้ประโยชน์จากความร่วมมือทางเศรษฐกิจและวิชาการ อาทิ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การศึกษา วิทยาศาสตร์ พลังงาน สิ่งแวดล้อม และการปฏิรูปโครงสร้างทางเศรษฐกิจ
รวมทั้งการได้ใช้ประโยชน์จากเอเปกในฐานะแหล่งบ่มเพาะแนวคิด เพื่อก้าวไปข้างหน้าร่วมกันตามเป้าหมายหลักของเอเปกคือ “วิสัยทัศน์ปุตราจายา ค.ศ.2040” หรือในอีก 18 ปีข้างหน้า รวมทั้งการจัดทำ “เขตการค้าเสรีในย่านเอเชีย-แปซิฟิก (Free Trade Area of the Asia-Pacific หรือ FTAAP)”ทั้งยังได้แลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ผ่านคณะทำงานต่างๆ รวมถึงการเข้าถึงแหล่งข้อมูลเชิงลึกที่ช่วยในการวิเคราะห์แนวโน้มเศรษฐกิจโลกและภูมิเศรษฐศาสตร์รวมถึงเครือข่าย Think Tank
ที่สำคัญประการสุดท้ายที่นายกรัฐมนตรีกล่าวถึงคือการได้ใช้ประโยชน์จากเอเปก ในฐานะผู้นำการปฏิรูปและยกระดับมาตรฐานทางเศรษฐกิจให้ทันสมัย เป็นสากล รวมถึงเสริมสร้างศักยภาพในมิติต่างๆ ให้แก่ภาครัฐและเอกชน และนี่คืออีกความพยายามในการบริหารชาติให้ “มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน”
ประโยชน์ทั้งหลายทั้งปวงเหล่านี้จักต้องใช้เวลาเป็นเดือนเป็นปีกว่าจะเห็นผลออกมาอย่างเป็นรูปธรรมทันที เพราะทุกทฤษฎีทุกแนวคิดย่อมต้องอาศัยเวลาในการบ่มเพาะความสำเร็จเพื่อมวลมนุษยชาติ แต่อย่างน้อยกลุ่มมวลชนที่เรียกตัวเองว่า คนรุ่นใหม่จะได้เห็นได้เสวยสุขกับผลสัมฤทธิ์ที่ได้จากการเป็นเจ้าภาพประชุมเอเปกของรัฐบาลที่ส่ำสัตว์สัมภเวสี ใส่ไคล้มาตลอดว่าไร้ซึ่งความสามารถในการบริหารประเทศชาติ ทำให้ประชาชนต้องประสบปัญหาค่าครองชีพ เศรษฐกิจตกต่ำ หนี้สาธารณะเพิ่มพูนสินค้าแพง หนี้สินเต็มตัวหนี้ครัวเรือนเพิ่มมากขึ้น
แต่ประโยชน์ที่เกิดขึ้นในทันทีระหว่างการประชุมเอเปกคือ ศักยภาพของราชอาณาจักรไทยที่อุดมไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติและทรัพยากรมนุษย์ที่มากด้วยประสิทธิภาพความสามารถ ภาพลักษณ์ของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ในฐานะผู้นำประเทศที่น่าลงทุนที่สุดเป็นอันดับ 1 ของโลกที่สามารถดูแลประเทศให้เกิดความสงบเรียบร้อยและความซื่อสัตย์สุจริตในการบริหารเงินงบประมาณแผ่นดินทุกบาททุกสตางค์ให้เกิดประโยชน์สูงสุดในพื้นที่ที่ได้รับการจัดสรรงบประมาณ และมีความฉลาดเป็นสากลมากขึ้น
หากมีข่าวสารเผยแพร่ออกไปในเวทีสาธารณะ ทั่วทั้งโลกมองมาที่ประเทศไทย ภาพลักษณ์ของผู้นำประเทศอย่างพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี จะได้รับการยอมรับจากนานาอารยประเทศ ซึ่งนักเลือกตั้งชังชาติ, สัมภเวสี จะหยิบฉวยไปสร้างความเท็จก็หาใช่ปัญหาไม่ แต่จะนำไปสู่เส้นทางสร้างความเชื่อมั่นในด้านการค้าและการลงทุนทั้งในประเทศและในภูมิภาค ความสนใจความเป็นไปของประเทศจะทำให้อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของไทยเป็นที่อิจฉาริษยาจากประเทศเพื่อนบ้านในภูมิภาค และเมื่อเข้าไปอยู่ในใจคนทั่วโลกการลงทุนจากต่างชาติจะพรั่งพรูมากขึ้น อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวจะฟูฟ่อง
ผลที่ตามมาคือการเจริญเติบโตและการขยายตัวทางเศรษฐกิจ เป็นการตบหน้าเตะปากเหล่า “ส่ำสัตว์ติ่งสัมภเวสี ...แล... นักการเมืองชังชาติ” จนเลือดกลบปากโดยไม่มีเสนียดจังไรเปื้อนมือแม้แต่น้อย
เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี