วันอังคาร ที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / คอลัมน์ / คอลัมน์การเมือง / เขียนเพื่อคิด
เขียนเพื่อคิด

เขียนเพื่อคิด

กษิต ภิรมย์
วันพุธ ที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566, 02.00 น.
บริบทแรงงานไทยในต่างประเทศ : บทบาทรัฐบาลไทย

ดูทั้งหมด

  •  

บนโลกนี้ ยังมีหลายๆ พื้นที่ ที่มีความขัดแย้ง มีความไม่สงบ ไม่ว่าจะเป็นภายใน หรือภายนอกประเทศ โดยพื้นที่ขัดแย้งที่มีแรงงานไทยไปทำงานหาเลี้ยงชีพอยู่นั้น ก็พอจะระบุได้ดังนี้

1.ประเทศเกาหลีใต้ : ปัญหาคาบสมุทรเกาหลี (Korean Peninsula) ที่มีการเผชิญหน้ากันอย่างรุนแรงระหว่างเกาหลีเหนือ และเกาหลีใต้


2.เกาะไต้หวัน : ปัญหาจีนแผ่นดินใหญ่ กับเอกราชของจีนเกาะไต้หวัน

3.เขตปกครองพิเศษฮ่องกง : การเข้ามาครอบงำ ครอบครองฮ่องกงมากยิ่งขึ้นเป็นลำดับ โดยรัฐบาลจีนที่ปักกิ่ง

4.ประเทศในภูมิภาคตะวันออกกลาง : ที่มีกรณีสงครามสู้รบระหว่างอิสราเอล กับฝ่ายปาเลสไตน์อาหรับ ระหว่างโลกอาหรับมุสลิม กับอิสราเอล รวมทั้งโลกมุสลิม กับอิสราเอล ไปจนถึงการขัดแย้งระหว่างฝ่ายมุสลิมชีอะห์ กับมุสลิมสุหนี่ และการเรียกร้องเรื่องสิทธิเสรีภาพระหว่างประชาชนพลเมือง กับฝ่ายผู้ปกครองที่เป็นเผด็จการ ซึ่งมีผลต่อความปลอดภัยของแรงงานไทย และแรงงานต่างด้าวต่างๆ ส่งผลให้เมื่อเกิดเหตุการณ์ทางการเมืองและการสู้รบ ก็จำเป็นต้องมีการขนย้ายคนไทยกลับสู่มาตุภูมิ เช่น ในกรณี การประท้วงเพื่อเรียกร้องสิทธิเสรีภาพที่เรียกว่าอาหรับสปริง เมื่อประมาณสิบกว่าปีที่แล้วที่รัฐบาลไทยต้องนำนักศึกษาไทยมุสลิมประมาณ 2,000 คน กลับจากประเทศอียิปต์ และการนำแรงงานไทยเกือบ 10,000 คนที่ประเทศลิเบีย ออกมาอย่างสัมฤทธิผล และบัดนี้การนำแรงงานไทยออกจากอิสราเอลประมาณ 7,000 คน กลับสู่มาตุภูมิด้วยความเรียบร้อยอย่างเป็นที่น่าชื่นชม

ท่ามกลางความไม่แน่นอนดังกล่าว ก็เป็นการสมควรที่รัฐบาลไทยภายใต้การนำพาของนายกรัฐมนตรี เศรษฐา ทวีสิน พึงจะต้องทบทวนนโยบายและมาตรการการจัดส่ง และการดูแลรักษาความปลอดภัยให้กับแรงงานไทย โดยในลำดับแรกควรจะต้องให้แรงงานไทยได้ตระหนักถึงสถานการณ์ที่ล่อแหลมในประเทศที่จะไปทำงาน และการเจรจากับประเทศเจ้าภาพผู้รับแรงงานไทยเข้าไปทำงานให้เป็นกิจจะลักษณะ ตกลงกันในเรื่องการวางมาตรการร่วมมือ และแบ่งปันความรับผิดชอบเป็นสำคัญ

ในกรณีของเกาหลีใต้ แม้ว่าแรงงานไทยนั้นเป็นแรงงานส่วนใหญ่ในภาคการเกษตร และกิจการภาคเอกชนระดับกลาง เล็กและย่อย (Small and Medium size Enterprises-SMEs) ถือว่ามีความสำคัญต่อเศรษฐกิจของเกาหลีใต้อย่างยิ่ง แต่ก็ยังมีปัญหาว่า มีแรงงานไทยถึงประมาณ 100,000 คน ยังต้องอยู่กันแบบลักลอบผิดกฎหมาย ที่เรียกกันว่า แรงงานผีน้อย ไม่มีสิทธิ์พื้นฐาน และสวัสดิการที่เพียงพอต่อการดำรงชีพ

ในกรณีของแรงงานไทยที่ไต้หวัน ก็มีความหมิ่นเหม่ต่อกรณีที่ฝ่ายรัฐบาลจีนแผ่นดินใหญ่จะทำการปิดล้อมเกาะไต้หวัน (Blockade) และการใช้กำลังโจมตีเกาะไต้หวันโดยฝ่ายจีนแผ่นดินใหญ่ ที่อาจเกิดได้ทุกเมื่อ

ในกรณีฮ่องกง ซึ่งก็เริ่มตกอยู่ในระบอบการเมืองการปกครองแบบคอมมิวนิสต์โดยจีนแผ่นดินใหญ่มากขึ้นเป็นลำดับ ก็จะส่งผลให้แรงงานต่างด้าวจะตกอยู่ในสถานะของความไม่มั่นคงและความไม่แน่นอนว่า รัฐบาลจีนแผ่นดินใหญ่จะยังคงเห็นด้วยกับการให้มีแรงงานต่างด้าวอยู่ในฮ่องกงอีกต่อไปหรือไม่

ในกรณีตะวันออกกลาง ชาวโลกก็ได้เห็นเหตุการณ์ที่อิสราเอล โดยอิสราเอลได้ทำการครอบงำ ดินแดนภายใต้การปกครองตนเองของฝ่ายปาเลสไตน์ ทั้งที่เขตเวสต์แบงก์ และเขตกาซา อย่างเป็นที่ประจักษ์แล้ว อีกทั้งชาวโลกก็ได้ประจักษ์ถึงขบวนการหัวรุนแรงต่างๆ ของชาวอาหรับมุสลิมในการที่จะล้มล้างรัฐบาลต่างๆ คู่ขนานกับการเรียกร้องสิทธิเสรีภาพของชาวอาหรับในแต่ละประเทศของตนในตะวันออกกลาง ซึ่งทั้งหมดนี้ก็จะมีผลกระทบต่อแรงงานไทยอย่างแน่นอน

ฉะนั้นรัฐบาลไทยจะต้องเตรียมตัวเตรียมการปกป้อง และดูแลความทุกข์สุขของแรงงานไทย ทั้งในขณะที่กำลังทำงานหาเลี้ยงชีพอยู่ และต้องเตรียมแผนการอพยพขนย้ายกลับสู่ประเทศไทยล่วงหน้า เผื่อไว้เมื่อมีเหตุการณ์รุนแรง โดยเฉพาะภายในประเทศอาหรับที่มีความขัดแย้งเป็นทุนเดิมอยู่

อันดับแรก รัฐบาลไทยก็ต้องรีบเร่งเจรจากับประเทศเจ้าภาพเสียแต่บัดนี้ เพื่อป้องกันไว้ดีกว่าจะมาแก้ไขแบบกะทันหัน แก้แบบขาดการวางแผนและการเตรียมการต่างๆ

ฉะนั้น รัฐบาลไทยก็ต้องเปิดการเจรจากับประเทศต่างๆ เช่น

1.กับเกาหลีใต้ ในการแปลงสภาพแรงงานผีน้อย ให้เป็นแรงงานที่ถูกกฎหมาย และการร่วมกันวางแผนอพยพ ไปจนถึงเงินชดเชย และที่ต้องหยุดทำงาน และการเสียโอกาสที่จะไม่ได้ทำงานอีก ทั้งที่ได้ลงทุนในเรื่องค่าเดินทางและการเสียค่าป่วยการให้กับบริษัทนายหน้าต่างๆ เป็นต้น

2.ในกรณีไต้หวัน ก็ต้องมีข้อตกลงระหว่างรัฐต่อรัฐ ในการดูแลโดยทั่วไป และการจัดวางระบบดูแลและอพยพเมื่อเกิดเหตุการณ์คับขัน

3.ในกรณีฮ่องกง ฝ่ายรัฐบาลไทยก็ต้องเริ่มปรึกษาหารือกับทั้งรัฐบาลจีนที่ปักกิ่ง และฝ่ายคณะผู้ปกครองฮ่องกง เกี่ยวกับอนาคตของแรงงานไทยว่า จะให้คงอยู่ต่อไป
หรือไม่อย่างไร

4.กับประเทศในตะวันออกกลาง ก็ต้องเจรจา ให้มีข้อตกลงระหว่างรัฐกับรัฐในการดูแลต่างๆ เพื่อให้เกิดความถูกต้องยุติธรรม รวมทั้งการมีการจัดทำแผนสำรองเพื่อการอพยพกลับสู่ประเทศไทย

5.ในกรณีอิสราเอล ซึ่งไทยกับอิสราเอลก็มีข้อตกลงระหว่างรัฐกับรัฐแล้ว ก็น่าจะมีการทบทวนมาตรการร่วมมือในการดูแลความปลอดภัยของแรงงานไทย เช่น การให้ได้ไปทำงานในเขตที่ปลอดภัยและหลีกเลี่ยงการเข้าไปทำงานในบริเวณที่หมิ่นเหม่ เช่น ในบริเวณที่ใกล้กับเขตแดนอิสราเอล กับฝ่ายปาเลสไตน์ ทั้งที่เขตเวสต์แบงก์และเขตกาซา ในช่วง 4-5 สัปดาห์ของประสบการณ์ที่ได้รับก็น่าจะนำมาทบทวน ปรับปรุง จัดทำเป็นแนวทาง (คู่มือ) ในการวางมาตรการดูแลต่างๆ ได้

ในมุมกว้างรัฐบาลไทยก็ต้องทบทวนเรื่องการส่งแรงงานไทยไปต่างประเทศว่า มีความจำเป็นมากน้อยเพียงใด และทำไมฝ่ายรัฐบาลไทยจึงไม่คิดที่จะสร้างงานที่ประเทศไทย เพื่อลดการพึ่งพาตลาดแรงงานต่างประเทศ ในเมื่อประเทศไทยก็มีนโยบายที่จะพัฒนาเศรษฐกิจที่จะต้องใช้แรงงานที่มีฝีมือและมีทักษะในการใช้เทคโนโลยีสื่อสารสมัยใหม่ อีกทั้งไทยเราก็มีเขตนิคมอุตสาหกรรม โดยเฉพาะเขตพัฒนาพื้นที่ภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor-ECC) และประเทศไทยยังมุ่งไปในทิศทางของเศรษฐกิจแบบ 4.0 เศรษฐกิจแบบ BCG ทั้งนี้ในแง่ศักดิ์ศรีของประเทศแล้วก็ถึงเวลาที่ไทยเราจะต้องพัฒนาให้แรงงานไร้ฝีมือต่างๆ เป็นแรงงานที่มีฝีมือ และคนไทยก็จะต้องไม่เป็นผู้รับใช้ หรือผู้ให้บริการตามบ้านช่องครัวเรือนของชาวต่างประเทศอีกต่อไป

อีกมุมหนึ่งรัฐบาลไทยก็ต้องเริ่มทบทวนคำว่า “แรงงาน”ว่ายังจะเหมาะสมอีกหรือไม่ หรือจะเปลี่ยนแปลงชื่อของกระทรวงแรงงาน ให้เป็นกระทรวงกำลังคน (Manpower) ซึ่ง ณ ที่นี้ก็หมายถึงผู้นำไทยทั้งภาคการเมือง ข้าราชการประจำ และภาคเอกชนคงจะต้องมีวิสัยทัศน์ เพื่อให้กำลังพลของไทยไปกันได้กับโลกสมัยใหม่แห่งองค์ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี และห่วงโซ่การผลิตต่างๆ

 

 

กษิต ภิรมย์

kasitfb@gmail.com

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

  •  
  • Breaking News
  • ข่าวยอดนิยม
  • คอลัมน์ฮิต
03:38 น. ฮามาสปล่อยตัวประกัน‘สหรัฐฯ’คนสุดท้ายแล้ว แต่อิสราเอลยังเดินหน้าถล่มกาซาต่อไป
22:00 น. อากาศแปรปรวน! เครื่องบินโดยสารลงจอด'อู่ตะเภา' 8 ลำ
21:40 น. ‘สหรัฐฯ-จีน’ลดภาษี115%พักรบ90วันดีต่อศก.โลก ห่วงเสถียรภาพการเมืองทำไทยเสียเปรียบเจรจา
21:34 น. 'วิโรจน์'ลุยชายแดนสังขละบุรี ถกปัญหา'ที่ดิน'ระหว่าง'กองทัพบก-ปชช.'
21:26 น. (คลิป) แนวหน้าTAlk : 'ปิยะ' ชำแหละ! 'กาสิโน' แบบหมดเปลือก!!
ดูทั้งหมด
ชั้น 14 ส่อวุ่นอีก!!! 'รพ.ราชทัณฑ์'เล็งฟ้องศาลเพิกถอนมติ'แพทยสภา'
'ภูมิใจไทย' แตกหัก 'เพื่อไทย' คดีฮั้ว สว.เป็นเหตุ ส่อคว่ำร่าง พ.ร.บ.งบฯ 69 - ยุบสภา
หยามเกียรติธงชาติไทย! ทนายแจ้งเอาผิด โพสต์เฟสบุ๊คดูหมิ่น'ธงคือผ้าเช็ดเท้า'
'สมชาย'เคลียร์ชัดๆ ไขกระจ่าง'วิษณุ'ไปศาลอาญาทำไม?
(คลิป) หลอกหลอน 'โฆษกพรรคเพื่อไทย' ไปตลอดชีวิต
ดูทั้งหมด
กางเกงยีนส์ลีวายในกองทอง
ศึกป่วยทิพย์ใกล้จบ
เรือของคนโง่
หวงแหนปราสาท ‘ตาเมือนธม” รักชาติ สมเหตุสมผล
‘พรรคส้ม’ไปไม่ถึงดวงดาว
ดูทั้งหมด

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

ฮามาสปล่อยตัวประกัน‘สหรัฐฯ’คนสุดท้ายแล้ว แต่อิสราเอลยังเดินหน้าถล่มกาซาต่อไป

‘สหรัฐฯ-จีน’ลดภาษี115%พักรบ90วันดีต่อศก.โลก ห่วงเสถียรภาพการเมืองทำไทยเสียเปรียบเจรจา

‘อิศรา’แพร่บทความ การสรรหา‘เลขาฯพระปกเกล้า’ ระวังซ้ำรอย‘คดีฮั้ว สว.’

‘ตาลีบัน’สั่งแบน‘หมากรุก’ในอัฟกานิสถาน อ้างผิดหลักศาสนา

(คลิป) แนวหน้าTAlk : 'ปิยะ' ชำแหละ! 'กาสิโน' แบบหมดเปลือก!!

(คลิป) เมื่อ 'นพดล ปัทมะ' ช่วยทักษิณ อ.ปูถาม 'ทำไมกระจอกอย่างนี้'

  • Breaking News
  • ฮามาสปล่อยตัวประกัน‘สหรัฐฯ’คนสุดท้ายแล้ว แต่อิสราเอลยังเดินหน้าถล่มกาซาต่อไป ฮามาสปล่อยตัวประกัน‘สหรัฐฯ’คนสุดท้ายแล้ว แต่อิสราเอลยังเดินหน้าถล่มกาซาต่อไป
  • อากาศแปรปรวน! เครื่องบินโดยสารลงจอด\'อู่ตะเภา\' 8 ลำ อากาศแปรปรวน! เครื่องบินโดยสารลงจอด'อู่ตะเภา' 8 ลำ
  • ‘สหรัฐฯ-จีน’ลดภาษี115%พักรบ90วันดีต่อศก.โลก ห่วงเสถียรภาพการเมืองทำไทยเสียเปรียบเจรจา ‘สหรัฐฯ-จีน’ลดภาษี115%พักรบ90วันดีต่อศก.โลก ห่วงเสถียรภาพการเมืองทำไทยเสียเปรียบเจรจา
  • \'วิโรจน์\'ลุยชายแดนสังขละบุรี ถกปัญหา\'ที่ดิน\'ระหว่าง\'กองทัพบก-ปชช.\' 'วิโรจน์'ลุยชายแดนสังขละบุรี ถกปัญหา'ที่ดิน'ระหว่าง'กองทัพบก-ปชช.'
  • (คลิป) แนวหน้าTAlk : \'ปิยะ\' ชำแหละ! \'กาสิโน\' แบบหมดเปลือก!! (คลิป) แนวหน้าTAlk : 'ปิยะ' ชำแหละ! 'กาสิโน' แบบหมดเปลือก!!
ดูทั้งหมด

คอลัมน์ที่เกี่ยวข้อง

75 ปี ความสัมพันธ์ทางการทูตไทย-อินโดนีเซีย : ก้าวต่อไป

75 ปี ความสัมพันธ์ทางการทูตไทย-อินโดนีเซีย : ก้าวต่อไป

7 พ.ค. 2568

ความสัมพันธ์ไทย – ภูฏาน : อบอุ่น

ความสัมพันธ์ไทย – ภูฏาน : อบอุ่น

30 เม.ย. 2568

ยกระดับความสัมพันธ์ไทย - ปาเลสไตน์

ยกระดับความสัมพันธ์ไทย - ปาเลสไตน์

23 เม.ย. 2568

มาตรการกำแพงภาษีของทรัมป์ จะเป็นคีโมรักษาหรือฆ่าเศรษฐกิจอเมริกัน?

มาตรการกำแพงภาษีของทรัมป์ จะเป็นคีโมรักษาหรือฆ่าเศรษฐกิจอเมริกัน?

16 เม.ย. 2568

สังคมไทยต้องไม่ท้อแท้ เพราะคนไทยมีดี

สังคมไทยต้องไม่ท้อแท้ เพราะคนไทยมีดี

2 เม.ย. 2568

จีนกับบทบาทสองหน้า

จีนกับบทบาทสองหน้า

26 มี.ค. 2568

ไทยในฐานะเจ้าภาพการประชุมสุดยอด BIMSTEC 2568

ไทยในฐานะเจ้าภาพการประชุมสุดยอด BIMSTEC 2568

20 มี.ค. 2568

ชวนมาถกเถียงเรื่องวิธีใหม่เพื่อให้ได้มาซึ่งคณะรัฐมนตรีกัน

ชวนมาถกเถียงเรื่องวิธีใหม่เพื่อให้ได้มาซึ่งคณะรัฐมนตรีกัน

19 มี.ค. 2568

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นางสาวอัญชะลี ไพรีรัก
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved