l ขอปูพื้นความเข้าใจเบื้องต้น : ด้วยเรื่องราวที่มีสาระเกี่ยวข้องกับ เหตุการณ์ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๖ (๓)
ประเด็นเรื่องราวที่สำคัญ ที่เกิดขึ้น ในเหตุการณ์ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๖
๓. บทบาทและการดำเนินการของฝ่ายพลเอกกฤษณ์ สีวะรา พลตรีวิฑูรย์ ยะสวัสดิ์ ในเหตุการณ์ (ต่อ) มีเรื่องราวหนึ่งที่สำคัญในเหตุการณ์ ซึ่งเป็นแผนทางกลยุทธ์ที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง คือ ในช่วงรอยต่อของเหตุการณ์ และในตอนเช้าของวันที่ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๖ มีการสั่งการให้ “โฆษกประจำกองบัญชาการสวนรื่นฯ คุณอาคม มกรานนท์” ออกประกาศว่า “จอมพลถนอมลาออกจากนายกฯ”
ซึ่ง คุณอาคม มกรานนท์ เล่าออกรายการทีวีของ ดร.เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง หลังจากเหตุการณ์ผ่านไปนานพอควร ว่า “จอมพลถนอมฯไม่ได้ลาออกในช่วงนั้น” แต่ตนถูกฝ่ายพลเอกกฤษณ์ บังคับให้ออกประกาศนี้ ซึ่งมีผลต่อ “ฝ่ายกองทัพบกและอื่นๆ” มากมีส่วนสำคัญ ที่ทำให้ “กองทัพฯ” หันมาร่วมมือกับพลเอกกฤษณ์รวมทั้งเหตุการณ์สำคัญ ที่มีข่าวออกไปว่า “ทหารตำรวจยิงทำร้ายนักศึกษาประชาชนฯ” (เรื่องนี้ ยังไม่มีหลักฐานและข้อมูลที่มีน้ำหนัก ว่า “เป็นทหารและตำรวจ จากการสั่งการของใคร”) (พันเอกณรงค์ ได้ให้สัมภาษณ์ว่า “ฝ่ายจอมพลถนอม” มิได้สั่งการ) ข้อสังเกต คือ อาจจะเป็นการสั่งการของทั้งสองฝ่ายฯ (แต่ไม่มีข้อมูลยืนยันฯ)
ประเด็นสำคัญคือ “ใครเป็นผู้กุมสถานการณ์ และกองทัพฯ รับฟังคำสั่งจากฝ่ายใด”มีความเป็นไปได้ว่า “แต่ละฝ่ายมีกำลังของตนอยู่” ฝ่ายพลเอกกฤษณ์ เพิ่งขึ้นมาดำรงตำแหน่ง ผบ.ทบ. เมื่อ
๑ ตุลาคม ๒๕๑๖
เพราะฝ่ายจอมพลถนอม ประภาส คุมกำลังกองทัพและตำรวจมายาวนานกว่ามาก
-ข้อมูลหนึ่ง จากพลเอกสุนทร คงสมพงษ์ ซึ่งขณะนั้นกุมกำลังอยู่ที่ศูนย์สงครามพิเศษได้เล่าให้ผู้ใหญ่ที่เชื่อถือได้ว่า “ได้รับคำสั่งจากพลเอกกฤษณ์” ให้มาจับจอมพลถนอมแต่ได้ปฏิเสธ เพราะมีความเคารพนับถือจอมพลถนอม แต่มาทำหน้าที่คุ้มครองที่สนามบินดอนเมือง จนถึงการส่งตัวออกไปต่างประเทศฝ่ายจอมพลถนอม ที่ตัดสินใจ “ลาออกและเดินทางไปต่างประเทศ” ณ สนามบินดอนเมือง
-“ผมเป็นคนที่เห็นว่า ลูกน้องพลเอกกฤษณ์ โทรมาบอกว่า จอมพลประภาส ไม่ยอมออกนอกประเทศที่ให้ เฮลิคอปเตอร์ไปรับที่สวนพุดตาน, พลเอกกฤษณ์ โทรกลับไป “ให้ทำอะไรก็ได้ แต่ขอให้นำท่านออกนอกประเทศให้ได้ ฯลฯ”
(ธีรยุทธ บุญมี ที่เข้าไปอยู่สวนรื่นวันนั้น เป็นผู้เล่า) นี่ก็เป็นส่วนหนึ่ง ที่บอกว่า “ฝ่ายจอมพลถนอม ประภาส ก็มีกำลังทหารของตนอยู่ฯ”
๔. บทบาทและการดำเนินการของ ฝ่ายจอมพลถนอมประภาส และพันเอกณรงค์ในเหตุการณ์
จะขอเน้นหนัก “ข้อมูลตรง” ที่ผู้เขียนเข้าไปเกี่ยวข้อง เป็นหลัก
(๑) ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๑๔ จอมพลถนอมทำการรัฐประหารตนเอง ยุบสภาฯ ผู้เขียนในฐานะนายกสจม. ไปเข้าพบ หารือกับ ท่านอธิการบดีจุฬาฯ
(๒) ปลายเดือนธันวาคม ๒๕๑๕ หลังจากรัฐบาลถนอม ประกาศใช้ กฎหมายโบดำ ม. ๒๙๙
ผมในฐานะที่ปรึกษาศนท..ได้ไปร่วมประท้วงกับทางศนท. และนักศึกษาฯ ที่ชุมนุมกันสนามหลวงและเคลื่อนมาชุมนุมที่หน้าศาลยุติธรรม ฝั่งแม่ธรณีบีบมวยผม มีผู้ร่วมปราศรัย
หลายคน รวมทั้งผม โดยคุณเสาวนีย์ ลิมมานนท์ (ธรรมศาสตร์) ร่วมนำปราศรัย ซึ่งเป็นการชุมนุมค้างคืนครั้งแรก ของ ศนท..จุดประวัติศาสตร์หนึ่ง คือ “นักศึกษาชุดหนึ่ง” ที่ถูกมอบให้ไปจองที่ศาลฯไว้ก่อนมีคนหนึ่ง นอนขวางตัวเองไว้ที่ประตู ทำให้เจ้าหน้าที่ศาลฯ ไม่สามารถปิดประตูได้และพวกศนท. จึงสามารถเข้าไปใช้สถานที่ชุมนุมได้
(๓) ๑๓.๓๐ น. วันที่ ๖ ตุลาคม ๒๕๑๖
เจ้าหน้าที่ตำรวจฯ เข้าจับกุม ๑๓ กบฏเรียกน้องรัฐธรรมนูญ ณ ตลาดประตูน้ำ ขณะกำลังแจกใบปลิว รณรงค์เรียกร้องรัฐธรรมนูญ ตามคำสั่งของรัฐบาลจอมพลถนอมนำไปสอบสวนที่ปทุมวัน และมีการไปค้นหลักฐานที่บ้านของผู้ถูกจับกุม เริ่มต้นจาก หอพักจารุทวี บางลำภู ที่นายชัยวัฒน์ สุรวิชัย และนายธีรยุทธ บุญมี พักอยู่ ฯลฯ และได้นำ “ผู้ถูกจับทั้งหมด” ไปจำขัง ที่โรงเรียนพลตำรวจบางเขน
(๔) ๑๒ ตุลาคม ๒๕๑๖ (รัฐบาล) ส่งพลโทสนั่น ผิวนวลมาประกันตัว ๑๓ กบฏ
เนื่องจาก ศนท..ยื่นคำขาดให้รัฐบาลปล่อยตัว ภายใน ๑๒.๐๐ น. วันที่ ๑๓ พฤศจิกายน ๒๕๑๖ และทางผู้คุมฯ ได้ปล่อยให้ “พวกเรามารวมตัวกันได้” เราได้หารือกัน และได้สรุปว่า
“จะไม่ประกันตัว” และที่ประชุม ได้มอบให้ “ผม” เป็นตัวแทนไปแถลงข่าวต่อผู้สื่อข่าว ในคืนนั้น
ก่อนไปฯ ผมได้โทรศัพท์ปรึกษา “อาจารย์คึกฤทธิ์ ปราโมช” ซึ่งได้คุยกับท่านประจำ ท่านแนะนำว่า “ให้ปรึกษา ศนท.”และบอกข่าวว่า“ข้างนอก มีความขัดแย้งกัน ทางทหารฯ”
(๕) คืนวันที่ ๑๓ ตุลาคม ๒๕๑๖ ผมกับธีรยุทธ ได้ร่วมปรึกษากัน และได้รุ่นน้องหญิงธรรมศาสตร์ ช่วยนำไปที่รถบัญชาการ โดยต้องฝ่าด่าน “กลุ่มการ์ดอาชีวะ” ที่ขึ้นต่อคุณเสกสรรค์ ประเสริฐกุล ซึ่งขณะนั้น มีความขัดแย้งกับ ผู้นำ ศนท..โดยมีการกล่าวหากันไปมา
ธีรยุทธได้ขึ้นพูดบนเวทีก่อน ส่วนผม ก็ได้ถูกเชิญให้ไปพูด โดย “เน้นขอให้ทุกฝ่ายสามัคคีกัน เพื่อก้าวไปให้พ้นวิกฤต”
(๖) เช้าตรู่วันที่ ๑๔ ตุลา ๒๕๑๖ หลังเหตุการณ์จบลง แต่เกิดเหตุรุนแรงที่ไม่ทราบสาเหตุชัด
“มีการตอบโต้กัน ระหว่าง การ์ด (นักเรียนอาชีวะ) ของนักศึกษาประชาชน และทางตำรวจได้ยิงแก๊สน้ำตาเข้าใส่ และใช้กระบองตีนักศึกษาประชาชนขบวนของนักศึกษาประชาชนหนีไปที่หน้าประตูสวนจิตรลดา ซึ่งปิดอยู่
แต่ต่อมา ในหลวงฯ มีบัญชาเปิด ให้นักศึกษาฯไปหลบภัยผมได้ร่วมกับ “คุณเสาวนีย์” ในการแก้ปัญหา เจรจากับทางเจ้าหน้าที่ฯ ในการนำนักศึกษาออกไปยังที่ปลอดภัยที่นั้น มีการปล่อยข่าวในเชิงลบต่อ “ฝ่ายจอมพลถนอม ประภาส ณรงค์”
หลังจากนั้น ได้มาเจอ คุณประสาร ไตรรัตน์วรกุล และ ธีรยุทธ บุญมี ฯลฯ ซึ่งเจ้าหน้าที่ฯ ได้นำพวกเรามาที่ถนนสายเล็กๆ และที่นั้น
เราได้พบ สมเด็จพระบรมราชินีนาถและพระราชธิดา๒ พระองค์ ฯลฯ ซึ่งได้มีพระราชเสาวนีย์ ถึง “ในหลวง” เป็นห่วงนักศึกษาประชาชน พระองค์มิได้ทรงพระบรรทมแต่ติดตามสถานการณ์ตลอดเวลาฯแล้วหลังจากนั้น ธีรยุทธ ได้นำผมฯ ไปพัก ที่บ้านหลังหนึ่ง บริเวณหน้าสวนจิตรฯ และต่อมา ก็ได้แยกย้ายกันไปทำงานแก้วิกฤต ผมไปร่วมกับทางศนท. ส่วนธีรยุทธ แยกตัวไปอีกงานฯ
(๗) วันที่ ๑๔ และ ๑๕ ตุลา ๒๕๑๖ ได้มีส่วนร่วมกับทาง ศนท. ในการแก้ปัญหาวิกฤตบางส่วน
โดยเฉพาะ การออกไปประชาสัมพันธ์ต่อพี่น้องประชาชน ว่า จอมพลถนอมและคณะได้ยอมออกเดินทางไปต่างประเทศ และเหตุการณ์ได้สงบลงแล้ว รวมทั้งมีการขอให้หยุดในการทำลายป้ายจราจร และการต่อต้านตำรวจฯ โดยขอให้กลับบ้านและคืนวันที่ ๑๕ พ.ย ทาง ศนท.. มี เลขาธิการ ศนท.. สมบัติ ประสาร และธีรยุทธ กับผม ได้ไปพักที่โรงแรมแถวสะพานควาย หลังจากวิกฤตได้จบลง ตื่นเช้ามา พวกเราแปลกใจ ที่ทางผู้จัดการโรงแรม นำเจ้าหน้าที่มาแสดงความยินดีต่อคณะเรา (และคืนค่าที่พักให้ โดยกล่าวคำขอบคุณฯ)
เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี