• ขอปูพื้นความเข้าใจเบื้องต้น : ด้วยเรื่องราวที่มีสาระเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๖ (๓)
ประเด็นเรื่องราวที่สำคัญ ที่เกิดขึ้น ในเหตุการณ์ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๖
๕. บทบาทของพระมหากษัตริย์ไทย
ความสัมพันธ์กับรัฐ และภาคส่วนอำนาจต่างๆ รวมทั้งประชาชน
พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขแห่งรัฐ
ทรงใช้อำนาจอธิปไตยผ่านคณะรัฐมนตรี รัฐสภา และศาล
ทรงเป็นจอมทัพไทย พุทธมามกะ และอัครศาสนูปถัมภก
ทรงเป็นศูนย์รวมจิตใจของประชาชน
หัวใจสำคัญ คือ การยึดผลประโยชน์ของประชาชนเป็นที่ตั้ง
ทรงเป็นประมุขของประเทศไทยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันตามระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์และราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ
ถึงแม้ว่าพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ถูกจำกัดโดยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
แต่สถาบันพระมหากษัตริย์ก็ยังคงได้รับความเคารพนับถือจากประชาชนชาวไทยส่วนใหญ่
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช 2475 กับทั้งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยทุกฉบับว่า พระมหากษัตริย์ “ทรงดำรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะละเมิดมิได้”
นอกจากนั้น พระมหากษัตริย์ยังทรงได้รับความคุ้มครองด้วยกฎหมายอาญา
ทำให้การวิพากษ์วิจารณ์พระองค์เป็นความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์
พระมหากษัตริย์ไทยแห่งราชวงศ์จักรีเป็นประมุขราชวงศ์
มีที่ประทับอย่างเป็นทางการคือพระบรมมหาราชวัง กรุงเทพมหานคร
พระราชสถานะและพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์
รูปแบบของการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ได้กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญไทยทุกฉบับ
อันเป็นกฎหมายแม่บทสูงสุดในการปกครองประเทศ จะต้องกล่าวถึงสถาบันพระมหากษัตริย์ไว้ในรัฐธรรมนูญ เพราะรูปแบบประมุขของประเทศไทย คือ พระมหากษัตริย์ที่สืบเนื่องกันมาอย่างยาวนาน
ตามประเพณีการปกครองไทยในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และ
ตามรัฐธรรมนูญพระมหากษัตริย์จะมีพระราชสถานะและตำแหน่งหน้าที่ต่างๆ มี 2 ประการ คือ
1. พระราชสถานะและพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ
เป็นการกล่าวถึงพระมหากษัตริย์ตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแต่ละฉบับ
เช่นพระมหากษัตริย์เป็นองค์พระประมุข หรือพระมหากษัตริย์เป็นอัครศาสนูปถัมภก
รวมทั้งทรงดำรงตำแหน่งจอมทัพไทย
ดังปรากฏในพระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475
หมวด 2 กษัตริย์ มาตรา 3 กล่าวว่า “กษัตริย์เป็นประมุขสูงสุดของประเทศ
พระราชบัญญัติก็ดี คำวินิจฉัยของศาลก็ดี การอื่นๆ ซึ่งจะมีบางกฎหมายระบุไว้โดยเฉพาะก็ดีจะต้องกระทำในนามของกษัตริย์”
คติการปกครองประชาธิปไตยพระมหากษัตริย์ทรงอยู่เหนือความรับผิดชอบทางการเมือง จนเป็นเหตุให้เกิดหลักกฎหมายรัฐธรรมนูญที่ว่า “พระมหากษัตริย์ไม่ทรงกระทำผิด” (The King can do no wrong)
ซึ่งหมายถึงผู้ใดจะฟ้องร้องหรือกล่าวหาพระมหากษัตริย์ในทางใดๆ ไม่ได้
ไม่ว่าจะเป็นในทางคดีแพ่งหรือคดีอาญาก็ตาม
2. พระราชสถานะและพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ตามประเพณีการปกครอง
ต่อมาเมื่อมีรัฐธรรมนูญเป็นลายลักษณ์อักษรจำกัดพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์
ถ้ากรณีใดไม่มีบทบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญหรือกฎหมายกำหนดขอบเขตหรือเงื่อนไขของการใช้พระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ไว้
พระมหากษัตริย์ก็จะยังคงมีพระราชอำนาจเช่นนั้นอยู่โดยผลของธรรมเนียมปฏิบัติ (Convention)
ซึ่งมีค่าบังคับเป็นรัฐธรรมนูญเช่นเดียวกัน เช่น
พระราชอำนาจในภาวะวิกฤต กล่าวคือ เมื่อเกิดวิกฤตร้ายแรงทางการเมืองถึงการเผชิญหน้าระหว่างฝ่ายต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 หรือ 17-20 พฤษภาคม 2535 ก็ดี
จะเห็นว่าพระมหากษัตริย์ทรงเข้ามาระงับเหตุร้อนให้สงบเย็นลงได้อย่างอัศจรรย์ เป็นต้น
• ขอสรุปพอเป็นสังเขป คุณูปการของสถาบันพระมหากษัตริย์ โดยเฉพาะ “ราชวงศ์จักรี”
๖ เมษายน ๒๓๒๕ วันสถาปนาราชวงศ์จักรี
๘ พฤษภาคม ๒๔๑๗ วันก่อตั้งสภาที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน (รัฐมนตรีสภา) รัฐกาลที่ ๕
๑ เมษายน ๒๔๓๕ ปฏิรูประบบบริหาราชการแผ่นดินสยาม สมัย ร.๕ ก่อให้เกิดระบบราชการสมัยใหม่
๒๘ พฤศจิกายน ๒๔๖๘ ตั้งอภิรัชมนตรีสภา สมัย ร.๗
๙ พฤษภาคม ๒๔๘๙ ร.๙ พระราชทานรัฐธรรมนูญฉบับที่ ๓
๙ มิถุนายน ๒๔๘๙ ร.๘ สวรรคต ร.๙ เสด็จขึ้นครองราชย์
๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๖ เวลา ๑๙.๑๕ น. ในหลวง ร.๙มีพระราชดำรัสต่อประชาชน
- จอมพลถนอม กิตติขจร ได้ขอลาออกจากตำแหน่ง
- มีพระบรมราชโองการแต่งตั้ง นายสัญญา ธรรมศักดิ์ เป็นนายกรัฐมนตรี
• หลักการทรงงาน ของในหลวงรัชกาลที่ 9 ที่ได้ทรงใช้ในการแก้วิกฤตของบ้านเมือง
ขอยกมาในส่วนข้อที่สำคัญ คือ
1.ศึกษาข้อมูลอย่างเป็นระบบ
ในหลวง ร.๙ ทรงติดตามข้อมูลข่าวสารของเหตุการณ์ ๑๔ ตุลา ๒๕๑๖ โดยพระองค์เอง
จะทรงศึกษาข้อมูลรายละเอียดอย่างเป็นระบบ
เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้อง เพื่อที่จะพระราชทานความช่วยเหลือได้อย่างถูกต้องและรวดเร็ว
ตรงตามความต้องการของประชาชน
ผมมีโอกาสพิเศษ ที่ได้รับทราบเรื่องนี้ จาก ศ.อรุณ สรเทศน์ที่ได้เล่าให้ฟัง ในช่วงเป็นนายกสจม.
ซึ่งได้มีโอกาสเข้าเฝ้าฯรับเสด็จหลายครั้ง
รวมทั้ง การมีโอกาสได้ร่วมคณะกับ “ท่านอานันท์ ปันยารชุน”ที่เป็นประธานสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติในการไปดูงานโครงการพระราชดำริฯ โดยมี ดร.สุเมธ ชุมสาย ณ อยุธยา เป็นผู้นำพาฯ
รวมทั้งในเหตุการณ์ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๖
ในตอนสาย ที่ได้เข้าไปร่วมแก้ปัญหาในสวนจิตรลดากับ คุณเสาวนีย์ ลิมมานนท์
และช่วงต่อมา ได้อยู่ในกลุ่ม ที่มี ดร.ประสาร ไตรรัตน์วรกุล อ.ธีรยุทธ บุญมี ที่ได้มีโอกาสได้รับฟัง
“สมเด็จพระราชินี” ที่ทรงเมตตา และเล่าว่า
“ในหลวงมิได้บรรทมมาหลายวัน ได้ทรงติดตามข่าวสารต่างๆตลอด เพราะทรงห่วงใยนักศึกษาประชาชน”
2.วิธีการแก้ปัญหาด้วยหลักการมองแบบ “องค์รวม”
โดยการมองภาพรวมของปัญหา หรือสถานการณ์ที่เกิดขึ้น แล้วค่อยกำหนดแนวทางการแก้ไข
จะทำให้สามารถแก้ไขปัญหาเหล่านั้นได้อย่างครอบคลุมครบถ้วนยิ่งขึ้น
เช่น การเข้าใจปัญหาของสถานการณ์บ้านเมือง และอิทธิพลของต่างประเทศในช่วงนั้น
เรื่อง ทฤษฎีโดมิโน ที่ได้ผลต่อประเทศเวียดนาม ลาว กัมพูชา และต่อมา คือประเทศไทย
และบทบาทของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย ฯลฯ
3.ประโยชน์ส่วนรวมของบ้านเมือง โดยให้เกิดความสงบสุข และความปลอดภัยของนักศึกษาและประชาชนเป็นที่ตั้ง
โดยการได้รับทราบปัญหาในช่วงวิกฤต
การแก้ปัญหาเฉพาะหน้า ประการหนึ่ง คือ ได้มีรับสั่งให้พลโทจำเป็น จารุเสถียร สมุหราชองครักษ์ เข้าเฝ้าฯ (เป็นพี่ชายต่างมารดา กับ พลเอกประภาส จารุเสถียร) ที่ไม่ยอมออกไปนอกประเทศ
และเป็นผู้ประสานให้ “ผู้มีอำนาจทั้งสองฝ่าย” ให้มีการเจรจากัน
จนสามารถคลี่คลายสถานการณ์ และจบลงได้ด้วยดี
นอกจากการเชิญผู้นำนิสิตนักศึกษา (ศนท.) ให้เข้าเฝ้าฯรวมทั้งบุคคลสำคัญที่เกี่ยวข้อง
ความสัมพันธ์ และการทรงเป็นที่เคารพและจงรักภักดีของกองทัพต่อสถาบันพระมหากษัตริย์
และการเป็นศูนย์รวมจิตใจของประชาชน
• มีหลายเรื่องและหลายครั้ง ที่ ในหลวงฯ ทรงยึดเอาผลประโยชน์และความต้องการของประชาชน
เช่น กรณี การมีพระมหากรุณาธิคุณ ให้มีการจัดงานพิธีพระราชทานเพลิงศพวีรชน ๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๖ ณ ท้องสนามหลวง เมื่อวันที่ ๑๓-๑๕ ตุลาคม ๒๕๑๗ ตามข้อเสนอของนักศึกษาประชาชน
(ทั้งๆ ที่บางส่วนในหมู่เชื้อพระราชวงศ์ ไม่เห็นด้วย) เพราะ เป็นที่สถานที่จัดงานเฉพาะของราชวงศ์
และทรงมีพระราชดำรัส ว่า
“ผู้กล้าตายเพื่อชาติ ด้วยเจตนาบริสุทธิ์
เป็นตัวอย่างอันเลิศ ให้กับผู้อยู่ข้างหลัง
ผู้อยู่ข้างหลัง ต้องถือเป็นหน้าที่
ที่จะรักษา เจตนาอันบริสุทธิ์ ให้ดำรงมั่นคงอยู่ตลอดไป”
เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี