l สิ่งที่เราควรรู้และเข้าใจ ในความเป็นมนุษย์เพื่อการใช้ชีวิตอย่างดีงามถูกต้อง
1.มนุษย์ คือ?
(ชื่อวิทยาศาสตร์: Homo sapiens,ภาษาละตินแปลว่า “คนฉลาด” หรือ“ผู้มีปัญญา”)
๑.มนุษย์ เป็นสัตว์ประเสริฐ สัตว์ที่รู้จักใช้เหตุผล สัตว์ที่มีจิตใจสูง สามารถศึกษาเรียนรู้และพัฒนาได้
๒.มนุษย์ เป็นสัตว์สังคมอยู่คนเดียวไม่ได้ ต้องอาศัยผู้อื่น ชุมชนสังคม ในการดำรงชีวิตอยู่
2.กำเนิดของมนุษย์
มนุษย์เกิดดับครั้งเดียว
เป็นสปีชีส์เดียวที่ยังมีชีวิตอยู่ในสกุล Homo ในทางกายวิภาค มนุษย์สมัยใหม่ถือกำเนิดขึ้นในทวีปแอฟริการาว 200,000 ปีที่แล้ว และบรรลุความนำสมัยทางพฤติกรรม (behavioral modernity)อย่างสมบูรณ์เมื่อราว 50,000 ปีที่แล้ว
........................................
เกิด แก่ เจ็บ ตาย กลับคืนไปสู่ธรรมชาติ
3.ความเป็นมนุษย์คนหนึ่ง มี ๓ ส่วน
๑.ส่วนที่ถูกกำหนด หรือได้รับมาจาก บรรพบุรุษ พ่อแม่ สังคม และช่วงเข้าสู่ความชราภาพ ที่สมองจิตใจเริ่มเสื่อม รวมทั้งช่วงป่วยไข้ที่หนักมีผลต่อความรับรู้
๒.ส่วนที่กำหนดเองได้ เมื่อเข้าสู่ระยะของการมีอิสระ พึ่งตนเอง และกำหนดอนาคตของตนเองได้
ฉะนั้น ในช่วงนี้ เราต้องใช้เวลาอย่างมีคุณค่า ความหมาย และเกิดประโยชน์ต่อตนเอง ผู้อื่นและบ้านเมืองด้วยสติปัญญาความจริง
และเมื่อมีความรู้ประสบการณ์ ที่แสวงหามาตลอดชีวิต
ในยามชรา ก่อนจาก ควรจะใช้ให้เกิดคุณค่า ความหมาย มิฉะนั้นจะเสียของ ตายไปกับตัว
๓.ส่วนที่สำคัญ อีกส่วนหนึ่ง ที่ส่งต่อไปยังลูกหลานเหลนฯ ได้ ฉะนั้นการรักษาและพัฒนากายใจของเรา ในช่วงที่เราเติบโต จะเกิดประโยชน์ต่อลูกหลานเหลนได้
4.ช่วงชีวิตของมนุษย์ ที่สำคัญ ควรค่าแก่การรับรู้และทำความเข้าใจให้ลึกซึ้ง
คนเรามีเวลา “ทำงาน” น้อยกว่า “ไม่ทำงาน”
๑.ช่วงของการเกิดและตาย
เกิดหนเดียวตายหนเดียว (ตามหลักวิทยาศาสตร์ความเป็นจริง) ตามหลักธรรม
(๑) ตาย แต่มีชีวิต
หลังจากตายไป แต่ผลงานยังอยู่ คนยังกล่าวถึง
(๒) มีชีวิต แต่ตาย
แม้มีอำนาจสูงส่ง แต่คิดชั่วทำชั่วแก่แผ่นดินมีชีวิตอยู่ไม่สุข คนทั้งแผ่นดินสาปแช่ง
๒.ช่วงเวลาของการมีชีวิตอยู่
(๑) เวลาที่ทำงาน
การทำงาน
การสรุปบทเรียน
(๒) เวลาที่ไม่ได้ทำงาน
การนอนหลับ
การพักผ่อน ฯลฯ
5.ความเข้าใจในเรื่องร่างกาย และจิตใจ ที่ถูกต้องทำให้เราสามารถแก้ไขพัฒนาได้
๑.คนเรามีศักยภาพสูงมาก ในเรื่องร่างกายและจิตใจ ทั้งที่เรา (วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีฯ) ค้นพบแล้ว และยังไม่พบ
๒.เรื่องร่างกาย เราสามารถพัฒนา “สิ่งที่ชำรุด สิ่งที่สูญไปฯ” กลับคืนมาได้ อาจจะไม่เท่าเดิม หรือ อาจจะได้มากเท่าเดิม
๓.เรื่องของจิตใจ ต้องสอดคล้องและสัมพันธ์กับกายเราทำได้ จะทำให้เราสามารถหลุดพ้นจากทุกข์ ไปสู่สุขได้
6.ความคิดความเชื่อ ที่ดีและถูกต้อง ต้องสร้างและพัฒนาขึ้น อันจะทำให้เกิดคุณค่าในการนำเอามาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อตนเอง และสังคม
ความคิดความเชื่อทั้งหลายในสังคม รวมทั้ง ศาสนา ลัทธิหลักกติกากฎเกณฑ์ประเพณีวัฒนธรรม อุดมคติ อุดมการณ์ ฯลฯ
๑.เป็นสิ่งที่คน โดยเฉพาะผู้นำทางสังคมในภาคส่วนต่างๆ สร้างขึ้น และกำหนดมา
โดยเฉพาะ “คนระดับสูง ที่มีบทบาทฐานะสำคัญ” จะกำหนดในเรื่องใหญ่จะเป็นระดับศาสดา หรือเจ้าลัทธิความเชื่อต่างๆ
๒.ความคิด ความเชื่อเช่นนี้ มิใช่สัจธรรมทั่วไปไม่ถูกต้องทั้งหมด และใช้ไม่ได้ทุกเรื่องตลอดไป มีส่วนที่ก่อให้เกิดคุณค่าประโยชน์สูงต่อตนและสังคม หรืออาจจะมีผลเสียฯ แล้วแต่เรื่องและเหตุการณ์โดยจะถูกสร้าง หรือ ประดิษฐ์ขึ้นมาใช้ในยุคหรือสถานการณ์นั้นๆ ความคิดความเชื่อฯจะเป็นไปตามสภาพสังคมที่เป็นจริงในยุคนั้นๆ คือ เหมาะและสอดคล้องกับคนในยุคนั้น
7. ๓ ความคิดของคนเรา
ปัญหาใหญ่ของคน คือ ทุ่มชีวิตและสรรพสิ่งที่มี ไปคิดและทำใน เรื่อง ที่ ๑ แทนที่ ควรจะคิดและทำ ใน เรื่อง ที่ ๒
๑.คิดและทำสิ่งที่เป็นอุดมคติ อุดมการณ์ อคติความเชื่อ
๒.คิดและทำสิ่งที่เรามีพลัง ที่ทำได้
๓.คิดและทำในสิ่งที่ใหญ่ สูงกว่า พลังที่เรามี แต่สามารถทำได้ หากเราทำในสิ่งที่ทำได้ สะสมมายาวนาน และแสวงหาแนวร่วม ที่คิดและเห็นร่วมกัน
8.You are what you do : เราทำอะไร เราก็เป็นเช่นนั้น
๑.เป็นเรื่องของทั้ง กาย และ ใจ
๒.เราคิดดีทำดี เราก็เป็นคนดี : มองโลกตามความจริง คิดสร้างสรรค์ เกิดสุขสงบ
๓.เราคิดชั่วทำชั่ว เราก็เป็นคนชั่ว มองโลกตามอคติคิดทำลาย เกิดทุกข์เศร้าหมอง
๔.เมื่อเราคิดทำเป็นประจำ จะเกิดเป็นนิสัย : นิสัยก็จะสร้างตัวตนของเรา
๕.นิสัย มิใช่สิ่งที่ถาวร เพราะสามารถแก้ไขได้ หากเรามีใจที่ดีงาม และมีพลังมากกว่าความไม่ดี
๖.คนเรา มิสามารถคิดถูกทำถูกได้ตลอดเวลา แต่เมื่อคิดผิด ต้องสำนึก ปรับแก้ไขทันที
๗.การคิดถึง และการให้ “ผู้อื่น บ้านเมือง” ทำให้ “ใจ” มีธรรมสูง คิดไกลกว่าตัวเอง
๘.การมีพ่อแม่ครูพระ และกัลยาณมิตรที่ดี อยู่ในสังคมที่ดี มีส่วนสำคัญทำให้เราคิดดีทำดี มีสุข
๙.คนเราสามารถกำหนดตัวเองได้เท่านั้น แต่ไม่สามารถกำหนดชะตาของลูก พ่อแม่ครู พระ และเพื่อนมิตรได้
๑๐.เราควรมุ่งคิดและทำ ด้วยพลังของเรา ในสิ่งที่เราทำได้ก่อน
9.เป้าหมายของชีวิต
๑.คิดดีทำดีได้ดี ไม่คิดชั่วทำชั่วได้ไม่ดี ด้วยการศึกษาเรียนรู้ ทำความเข้าใจความจริงของชีวิต โดยการทำจิตให้สงบ มีแนวทางการคิดการทำงาน ที่ขจัดกิเลสแก้ทุกข์ ไปสู่โพธิ สุขสงบ
๒.ทำในสิ่งที่ดี มีคุณค่า ความหมาย มีประโยชน์ต่อส่วนรวมด้วยสติปัญญา ความจริง โดย ค่อยๆ เดินไปข้างหน้า สะสม พัฒนาปรับปรุง สรุปบทเรียน ไปทีละขั้นตอน ล้ม ก็ลุก เหนื่อย ก็หยุดพักเช็ดเหงื่อ เลือด แผล แล้วลุกขึ้นยืนใหม่ เดินหน้าต่อไป
๓.ตอบแทนบุญคุณ ผู้มีพระคุณ พ่อแม่ครูพระ และแผ่นดิน
๔.ทำงานด้วยความรักความสุข
๕.ไม่ทำให้คนที่รัก หวังดี ต่อ เราผิดหวัง
๖.อยู่ต่อไปด้วยการมีสุขภาพที่แข็งแรง ทำงานด้วยความรักความสุข
๗.ไม่สุ่มเสี่ยงในภัยอันตรายที่เราพึ่งตนเองไม่ได้
๘.ไม่เสียดายชีวิต หากต้องทำสิ่งที่สำคัญต่อบ้านเมือง และถึงคราวต้องทำ
๙.ทำให้ “ครอบครัว พี่น้อง เพื่อนมิตร” มีความสุข
๑๐.อยู่ที่ไหน ไม่นิ่งดูดาย ปั้นวัวปั้นควาย ให้ลูกเขาเล่น
เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี