การแบ่งการบริหารราชการของไทยเป็น 3 ประเภทที่มีอยู่ในปัจจุบันนี้ คือราชการบริหารส่วนกลางราชการบริหารส่วนภูมิภาค และราชการบริหารส่วนท้องถิ่น นั้น ได้มีจุดเริ่มต้นขึ้นในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2476 ในสมัยรัฐบาลของนายกรัฐมนตรี พระยาพหลพลพยุหเสนาแต่เดิมนั้นเราไม่มีราชการบริหารส่วนท้องถิ่นดังนั้นการเสนอร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยระเบียบราชการบริหารแห่งราชอาณาจักรสยาม เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2476 จึงถือได้ว่าเป็นการปฏิรูปราชการหรือการบริหารราชการที่ต้องการ จะกระจายอำนาจในการบริหารลงไปยังชุมชนต่างๆ ในระดับล่างให้มากขึ้นนั่นเอง ทั้งนี้น่าจะเดาได้ว่านี่เป็นเจตนาของรัฐบาลของคณะราษฎรที่ต้องการให้ราษฎรในชนบทได้เรียนรู้ถึงการปกครองตนเอง อย่างใกล้ชิด จะได้สนับสนุนการสร้างประชาธิปไตยระดับชาติของคณะราษฎรด้วย ที่จริงร่างกฎหมายฉบับนี้ได้คิดกันทันทีภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง แต่เนื่องจากเกิดความขัดแย้งกันขึ้น จนหลวงประดิษฐ์มนูธรรม ซึ่งเป็นคนที่ได้รับทำในเรื่องนี้ ต้องเดินทางออกนอกประเทศไปฝรั่งเศส เรื่องจริงค้างมา และพระยามโนได้ไปออกพระธรรมนูญราชการฝ่ายพลเรือนแทนเมื่อหลวงประดิษฐ์ฯ กลับมาแล้ว จึงได้มาสะสางร่างกฎหมายฉบับนี้จนเสร็จเรียบร้อย สามารถมานำเสนอได้อย่างรวดเร็ว
“เราจะจัดรูปราชการให้เข้าตามลักษณะการดังที่เขานิยมใช้กันในประเทศต่างๆ คือเราจัดเป็นส่วนกลาง เป็นภูมิภาค และเป็นท้องถิ่นสำหรับส่วนกลางนั้น คือคณะรัฐมนตรีรับมอบหมายเช่น มีกระทรวง ทบวงและกรม ส่วนภูมิภาคหมายถึงจะส่งข้าราชการไปประจำแต่เดิมมีมณฑลจังหวัดอำเภอ… สำหรับเรื่องราชการบริหารส่วนท้องถิ่นนั้น หมายความถึงเรื่องเทศบาล ซึ่งรัฐบาลได้แถลงเป็นนโยบายไว้แล้ว จึงควรยกอำนาจบางอย่างให้ท้องถิ่นเขาทำ เพราะฉะนั้นจึงแบ่งเป็น 3 ประเภทคือ
1. ราชการบริหารส่วนกลาง
2. ราชการบริหารส่วนภูมิภาค
3. ราชการบริหารส่วนท้องถิ่น”
หลังจากประดิษฐ์ฯแถลงเสร็จ พระยาปรีดานฤเบศร์ ได้ถามว่า “เกี่ยวด้วยศาลหรือเปล่า” คำตอบของประดิษฐ์ฯคือ “ไม่เกี่ยวเลย”
ที่ประชุมสภาฯมีมติเห็นด้วยกับหลักการตามที่เสนอ และได้มีการพิจารณาต่อไปในวาระที่ 2 และ 3 โดยใช้เป็นอนุกรรมการเต็มสภาฯ ในการพิจารณาเรียงมาตรานั้นได้มีการซักถามเพื่อความเข้าใจอันดี ซึ่งคำตอบที่อธิบายอันน่าสนใจนั่นคืออธิบายถึงคำว่าทบวง กับทบวงการเมือง
“คำว่า “ทะบวง” ซึ่งเราได้เคยใช้เรียกขานโดยทั่วๆไปนั้น หมายถึงส่วนราชการอย่างหนึ่ง ส่วนคำว่า“ทะบวงการเมือง”นั้น หมายถึงส่วนราชการที่มีฐานะเป็นนิติบุคคล คือเป็นคำรวมของกระทรวง ทะบวง กรม เพราะฉะนั้น “ทะบวง” จึงเป็นทะบวงการเมืองเสมอไป แต่ “ทะบวงการเมือง “ไม่เป็น” ทะบวง “เสมอไป”
จบลงด้วยการพิจารณาในวาระที่ 3 ที่สภาฯได้มีมติผ่านร่างกฎหมายฉบับนี้ให้ออกมา ต่อจากนั้นจึงได้มีการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ ปรับปรุงกระทรวง ทะบวง กรม ติดต่อกันไปเลย โดยจัดแจงให้มีกระทรวงเพียง 8 กระทรวง และมีทะบวง 1 แห่ง คือสำนักนายกรัฐมนตรี และให้เปลี่ยนชื่อกระทรวงพระคลังเป็นกระทรวงการคลัง กับมีกระทรวงวังอยู่ด้วย ทั้งนี้ทางรัฐบาลได้ส่งพระยานิติศาสตร์ไพศาลและหม่อมเจ้า
วรรณไวทยากร วรวรรณ ไปเฝ้าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและมาถ่ายทอดว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระกระแสรับสั่งว่าเป็นความคิด
ที่ทรงเห็นพ้องด้วย ในการพิจารณาในวาระที่ 2 ก็ได้นำเสนอว่ามีการตั้งกรมใหม่ เช่น กรมพลศึกษา หรือเปลี่ยนชื่อใหม่กรมใหม่เช่นกรมนคราทร เป็นกรมโยธาเทศบาล โดยสภาฯมติผ่านกฎหมายนี้ในวันนั้น
นรนิติ เศรษฐบุตร
เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี