วันอาทิตย์ ที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / คอลัมน์ / คอลัมน์การเมือง / อ่านระหว่างบรรทัด
อ่านระหว่างบรรทัด

อ่านระหว่างบรรทัด

สันติสุข มะโรงศรี
วันจันทร์ ที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2567, 02.00 น.
รถไฟความเร็วสูง 3 สนามบิน แก้สัญญาเพื่อไปต่อ หรือเซตซีโร่ เริ่มใหม่?

ดูทั้งหมด

  •  

โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน เป็นโครงการที่ล่าช้า ต่อเนื่องมาตั้งแต่สมัยรัฐบาลลุงตู่


ถ้าเป็นไปตามแผนกำหนดเดิมเมื่อครั้งประมูลโครงการ ปี 2561 ปัจจุบัน โครงการควรเปิดให้บริการแล้ว

นักลงทุน นักท่องเที่ยว ประชาชน จะสามารถนั่งรถไฟฟ้าความเร็วสูงจากดอนเมือง สุวรรณภูมิ ไปภาคตะวันออก ชลบุรี พัทยา อู่ตะเภา อย่างสะดวกสบายได้แล้ว และการพัฒนาโครงการต่างๆ ที่เกี่ยวเนื่องในพื้นที่อีอีซีก็จะได้รับอานิสงส์ไปด้วยเช่นเดียวกัน อาทิ เมืองการบินภาคตะวันออก

แต่ความล่าช้าของโครงการ ปัญหาการส่งมอบพื้นที่ ผนวกกับผลกระทบช่วงโควิด ทำให้โครงการสะดุดหยุดลง เกือบจะแน่นิ่ง เพราะจนถึงวันนี้ ยังไม่ได้เริ่มก่อสร้างโครงสร้างงานโยธารถไฟฟ้าความเร็วสูงเลย

จึงเกิดคำถามว่า โครงการจะไปต่ออย่างไร? จะมีการแก้สัญญาสัมปทานตามข้อเรียกร้องของเอกชนคู่สัญญาหรือไม่? อย่างไร?

1. นายพิชัย ชุณหวชิร รองนายกฯ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ในฐานะประธานคณะกรรมการอีอีซี แย้มกับสื่อมวลชนว่า สัปดาห์ที่จะถึงนี้ น่าจะมีการนำข้อเสนอแก้ไขสัญญาโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินฯ เข้าสู่ที่ประชุม ครม.

2. นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รองนายกฯ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ยืนยันว่า เพื่อให้โครงการเดินต่อไปได้ โดยไม่มีการเอื้อประโยชน์แก่เอกชนโดยมิชอบแน่นอน

การแก้ไขสัญญา เกิดจากเอกชนและภาครัฐผิดสัญญา จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ทำให้โครงการเกิดความล่าช้า รัฐบาลไม่สามารถส่งมอบพื้นที่ให้กับเอกชนได้ ขณะที่เอกชนก็ไม่สามารถดำเนินการได้ จึงเป็นต่างคนต่างผิดสัญญา จึงต้องพิจารณาใหม่เนื่องจากเป็นหนึ่งในโครงการยุทธศาสตร์ชาติ ซึ่งหากเชื่อม 3 สนามบินจะทำให้ประชาชนเดินทางสะดวก การค้าขายดีขึ้น จึงต้องเดินหน้าโครงการนี้ต่อไป จึงต้องมาพิจารณาร่วมกันในการแก้ไขสัญญา เพื่อไม่ให้รัฐเสียประโยชน์

“ไม่ใช่การเอื้อประโยชน์ให้กับเอกชน สัญญาได้ให้อัยการตรวจสอบทั้งหมดแล้ว” -นายสุริยะกล่าว

3. จะแก้สัญญาอย่างไร?

ในการประชุมคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.) ครั้งที่ 4/2567 วันที่ 11 ตุลาคม 2567  นายพิชัย ชุณหวชิร รองนายกฯเป็นประธานการประชุม

กพอ. ได้พิจารณาและมีมติเห็นชอบหลักการการแก้ไขปัญหาโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน โดยการปรับปรุงสัญญาร่วมลงทุนเพื่อผลักดันให้โครงการฯสามารถเดินหน้าต่อไปได้ บนพื้นฐานที่ภาครัฐไม่เสียประโยชน์ และภาคเอกชนไม่ได้ประโยชน์เกินสมควร

โดยจะเสนอการแก้ไขสัญญาต่อ ครม. เพื่อพิจารณาใน 5 ประเด็น ประกอบด้วย

(1) วิธีชำระเงินที่รัฐร่วมลงทุน (Public Investment Cost : PIC)

จากเดิม เมื่อเอกชนเปิดเดินรถไฟความเร็วสูงฯรัฐจะแบ่งจ่ายเป็นจำนวน 149,650 ล้านบาท

เป็น จ่ายเป็นงวดตามความก้าวหน้าของงานที่ ร.ฟ.ท. ตรวจรับ วงเงินไม่เกิน 120,000 ล้านบาท

โดยเอกชนต้องวางหลักประกันเพิ่มเติมจากสัญญาเดิม รวมเป็นจำนวน 160,000 ล้านบาท เพื่อรับประกันว่าจะก่อสร้างและเปิดให้บริการรถไฟความเร็วสูงฯ ได้ภายใน 5 ปี ทั้งนี้ กรรมสิทธิ์สิ่งปลูกสร้างจะทยอยตกเป็นของภาครัฐ (ร.ฟ.ท.) ทันทีตามงวดของการจ่ายเงิน

(2) กำหนดการชำระค่าสิทธิให้ร่วมลงทุนในโครงการแอร์พอร์ตเรลลิงก์ (ARL)

โดยให้เอกชนแบ่งชำระค่าสิทธิจำนวน 10,671.09 ล้านบาท เป็น 7 งวด เป็นรายปี จำนวนเท่าๆ กัน โดยต้องชำระงวดแรก ณ วันที่ลงนามแก้ไขสัญญา ในการนี้เอกชนจะต้องวางหนังสือค้ำประกันที่ออกโดยธนาคารในมูลค่าเท่ากับค่าสิทธิ ARL รวมถึงค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการเงินอื่นที่ ร.ฟ.ท. ต้องรับภาระ

(3) กำหนดส่วนแบ่งผลประโยชน์ตอบแทน (Revenue Sharing) เพิ่มเติม

หากในอนาคตอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ของโครงการฯ ลดลงอย่างมีนัยสําคัญ และเป็นผลให้เอกชนได้ผลประโยชน์ตอบแทน (IRR) เพิ่มขึ้นเกิน 5.52% ร.ฟ.ท.มีสิทธิเรียกให้เอกชนชําระส่วนแบ่งผลประโยชน์เพิ่มได้ ตามจำนวนที่จะตกลงกันต่อไป

(4) การยกเว้นเงื่อนไขการออกหนังสือแจ้งให้เริ่มงาน (Notice to Proceed : NTP)

โดยให้คู่สัญญาจัดทำบันทึกข้อตกลงยกเว้นเงื่อนไข NTP ที่ยังไม่สำเร็จ เพื่อให้ ร.ฟ.ท. สามารถออก NTP ได้ทันทีเมื่อลงนามสัญญาที่แก้ไขตามหลักการทั้งหมดนี้

(5) การป้องกันปัญหาในอนาคตที่อาจเกิดขึ้นจากเหตุการณ์ที่ส่งผลกระทบรุนแรงต่อสถานะทางการเงินของโครงการฯ

โดยปรับปรุงข้อสัญญาในส่วนของเหตุสุดวิสัยและเหตุผ่อนผัน ให้สอดคล้องกับสัญญาร่วมลงทุนระหว่างภาครัฐและเอกชนในโครงการอื่น

4. ถ้าไม่แก้สัญญา?

ถ้าไม่แก้สัญญา โครงการก็คงไปต่อไม่ได้ สุดท้ายผลกระทบก็เกิดแก่เอกชน และประเทศชาติส่วนรวมเป็นลูกโซ่ไปยังโครงการอื่นๆ ในพื้นที่อีอีซีด้วยอย่างแน่นอน

หากยกเลิกสัญญาเดิม แน่นอนว่าจะต้องมีการฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายระหว่างกันยาวนาน ส่วนโครงการก็จะต้องไปเริ่มต้นประมูลกันใหม่ หรืออาจจะเปลี่ยนมาให้ ร.ฟ.ท.ดำเนินโครงการเอง ซึ่งมีทั้งข้อดีและข้อเสีย แต่ก็ต้องใช้เวลาเริ่มดำเนินโครงการกันใหม่

5. เอื้อโครงการ ไปต่อได้ จริงหรือไม่?

สัญญาสัมปทานโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ประกอบด้วยการก่อสร้างและเดินรถไฟฟ้าความเร็วสูง 3 สนามบิน และการเข้าไปบริหารการเดินรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงก์

แนวทางที่จะแก้สัญญาข้างต้น สรุปหลักการที่สำคัญ คือ

การแก้ไขวิธีชำระเงินที่รัฐร่วมลงทุนในโครงการฯ (PIC) โดยรัฐจะเริ่มลงทุนเร็วขึ้นตามระยะเวลาความแล้วเสร็จของงาน จากสัญญาเดิม เอกชนต้องสร้างเสร็จก่อน เปิดการเดินรถแล้ว รัฐค่อยจ่ายเงินร่วมลงทุน

จะแก้ไขเป็น “สร้างไป-จ่ายไป” โดยเอกชนจะต้องก่อสร้างโครงการแล้วเสร็จในระยะเวลา 5 ปีนับจากวันส่งมอบ NTP และรัฐจะเริ่มจ่ายหลังจากนั้นในปีที่ 6 ของโครงการโดยแบ่งจ่ายตามความคืบหน้าของงาน

เพื่อแลกกับการได้เงื่อนไขนี้ เอกชนต้องวางหลักประกัน (Bank Guarantee) เต็มจำนวนค่าก่อสร้าง (1.6 แสนล้านบาท) เช่นเดียวกับการแก้ไขวิธีการชำระค่าสิทธิโครงการแอร์พอร์ตเรลลิงก์ (ARL) เอกชนแบ่งชำระ 7 งวด โดยร.ฟ.ท. จะยังคงได้รับค่าสิทธิครบจำนวน 10,671.09 ล้านบาท เอกชนรับภาระดอกเบี้ยค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายทางการเงินส่วนที่เกินทั้งสิ้น

ภาพรวม จึงเป็นการเอื้ออำนวยช่วยเหลือเอกชนคู่สัญญาสัมปทาน ให้ได้รับเงินที่รัฐร่วมลงทุนเร็วขึ้น โดยไม่ต้องรอให้ก่อสร้างงานโยธาเสร็จก่อนตามสัญญาเดิมแต่เอกชนก็มีภาระจะต้องสร้างหลักประกันให้แก่รัฐเพิ่มเติมด้วย โดยวางหลักประกัน (Bank Guarantee)เต็มจำนวนค่าก่อสร้าง เพื่อเร่งการก่อสร้างให้แล้วเสร็จโดยเร็วเช่นกัน

ขณะเดียวกัน เงินที่เอกชนต้องจ่ายแก่รัฐในการเข้าไปบริหารแอร์พอร์ตเรลลิงก์ ก็จ่ายช้าลง เดิมต้องจ่ายก้อนเดียว แต่ก็จะได้ผ่อนจ่ายแทน (ในทางปฏิบัติจริง ขณะนี้ เอกชนคู่สัญญารับโอนแอร์พอร์ตลิงก์ไปบริหารแล้ว ตั้งแต่ตุลาคม 2564 โดยวางเงินมัดจำ 1,067 ล้านบาท ส่วนที่เหลือราวๆ 9 พันกว่าล้านบาท ยังไม่ได้จ่ายตามเอ็มโอยู เพราะรอการแก้ไขสัญญานี่เอง)

ผมเห็นว่า ทั้งหมด เป็นผลประโยชน์แก่เอกชน และเป็นแก้สัญญาที่เกี่ยวข้องกับเงื่อนไขสาระสำคัญทางการเงินของโครงการ ผิดไปจากตอนประมูล (อาจไม่เป็นธรรมต่อเอกชนที่แพ้การประมูลตามเงื่อนไขเดิม) ซึ่งในทางกฎหมายคงต้องรอดูความเห็นของทางอัยการ

อย่างไรก็ตาม แม้ภาครัฐเองจะได้ประโยชน์ คือ ทำให้โครงการเดินต่อไปได้ ซึ่งจะมีผลประโยชน์ต่อเนื่องไปยังโครงการขนาดใหญ่ต่างๆ อีกมากมายในพื้นที่อีอีซี ตามแผนยุทธศาสตร์

แต่ผมเห็นว่า รัฐบาลควรชี้แจงให้เกิดความกระจ่างชัดยิ่งขึ้น ใน 2 ประการข้อสัญญาที่เพิ่มขึ้นมา ซึ่งเป็นผลประโยชน์แก่ภาครัฐ คือ ประเด็นกำหนดส่วนแบ่งผลประโยชน์ตอบแทน (Revenue Sharing) เพิ่มเติม และการป้องกันปัญหาในอนาคตที่อาจเกิดขึ้นจากเหตุการณ์ที่ส่งผลกระทบรุนแรงต่อสถานะทางการเงินของโครงการฯ

โดยจะต้องชัดเจนว่า รัฐจะได้รับส่วนแบ่งผลประโยชน์อย่างไร และรัฐจะไม่ต้องเข้าไปรับภาระความเสี่ยงทางการเงินของโครงการ หรือ ไม่ต้องร่วมรับภาระหนี้ผลขาดทุน เป็นต้น

รวมถึงเหตุผลความจำเป็นผลกระทบต่อเอกชนในช่วงโควิด ตลอดจนความล่าช้าในการส่งมอบพื้นที่ของภาครัฐเอง มีปัญหาอย่างไร? กรณีแตกต่างจากการแก้สัญญาหลังการประมูลโครงการเพื่อเอื้อประโยชน์แก่เอกชนโดยมิชอบในโครงการอื่นที่เคยถูกพิพากษาลงโทษจำคุกผู้เกี่ยวข้องอย่างไร?

รัฐบาลควรทำให้เกิดความชัดเจนในประเด็นเหล่านี้เสียก่อนด้วย

ถ้ามีความชัดเจนแล้ว ก็ขอสนับสนุนให้เดินหน้าต่อเพราะประเทศชาติเสียเวลา เสียโอกาสมามากแล้ว

สันติสุข มะโรงศรี

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

  •  
  • Breaking News
  • ข่าวยอดนิยม
  • คอลัมน์ฮิต
16:27 น. เพิ่มอีก 5 ราย 'DSI'ร่อนหมายเรียกพยานคดีอั้งยี่-ฟอกเงิน'สว.'
16:24 น. มาดามหยกต้อนรับเยาวชนไทยในสหรัฐฯเยือนแผ่นดินแม่
16:21 น. ‘วัส ติงสมิตร’กางเหตุผล! ยื่นถอดถอน‘อิ๊งค์’พ้น‘รมว.วัฒนธรรม’
15:54 น. รักชาติหรือตัวเอง? สังเวชใจ'นักการเมือง'ห้าม'ทหาร'ตัดสินใจ
15:45 น. 'ใหม่ ดาวิกา'แซ่บไฟลุก เสิร์ฟลุคเสื้อซีทรูตัวบางสุดฮอต
ดูทั้งหมด
ผลสลากกินแบ่งรัฐบาล งวดประจำวันที่ 1 กรกฎาคม 2568
ปิดตำนาน156ปี! 'กษัตริย์ชาร์ลส์'ประกาศปลดระวาง'รถไฟหลวง' สมาชิกราชวงศ์ไปใช้รถไฟปกติแทน
'เท้ง'แย่แล้ว!! เจอขบวนรถทัวร์แห่คอมเมนต์แจกพยัญชนะไทยฉ่ำ!!
บิ๊กเนม'ปชป.'ร่วมวงเพียบ!! 'คุณหญิงกัลยา'ตั้ง'พรรคไทยก้าวใหม่' พร้อมตั้ง'สุชัชวีร์'นั่งหัวหน้าฯ
หมอดังเผยเคยไม่เข้าใจ 'เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์' ทรงงานแม้พระอาการประชวร ก่อนป่วยมะเร็งเองจึงซึ้งพระทัย
ดูทั้งหมด
ต้องเลือกตั้งตุลาการศาลรัฐธรรมนูญหรือ
บุคคลแนวหน้า : 6 กรกฎาคม 2568
ชีวิตประจำวันของผม-การทำงาน
หน้าต้องทนสูงมาก จึงทำแบบนี้ได้
วิวาทะ ว่าด้วย‘อภิปรายไม่ไว้วางใจ’
ดูทั้งหมด

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

เพิ่มอีก 5 ราย 'DSI'ร่อนหมายเรียกพยานคดีอั้งยี่-ฟอกเงิน'สว.'

‘วัส ติงสมิตร’กางเหตุผล! ยื่นถอดถอน‘อิ๊งค์’พ้น‘รมว.วัฒนธรรม’

รักชาติหรือตัวเอง? สังเวชใจ'นักการเมือง'ห้าม'ทหาร'ตัดสินใจ

‘ใครๆก็เปิดได้’คุณภาพอย่างไรไม่รู้! ความจริงอีกด้านเศรษฐกิจไทย..สาเหตุ‘ร้านอาหาร’ปิดกิจการระนาว

'ใหม่ ดาวิกา'แซ่บไฟลุก เสิร์ฟลุคเสื้อซีทรูตัวบางสุดฮอต

อัปเดตพายุ ‘ดานัส’ พุ่งเข้าใกล้ไต้หวัน ไม่กระทบโดยตรงกับไทย

  • Breaking News
  • เพิ่มอีก 5 ราย \'DSI\'ร่อนหมายเรียกพยานคดีอั้งยี่-ฟอกเงิน\'สว.\' เพิ่มอีก 5 ราย 'DSI'ร่อนหมายเรียกพยานคดีอั้งยี่-ฟอกเงิน'สว.'
  • มาดามหยกต้อนรับเยาวชนไทยในสหรัฐฯเยือนแผ่นดินแม่ มาดามหยกต้อนรับเยาวชนไทยในสหรัฐฯเยือนแผ่นดินแม่
  • ‘วัส ติงสมิตร’กางเหตุผล! ยื่นถอดถอน‘อิ๊งค์’พ้น‘รมว.วัฒนธรรม’ ‘วัส ติงสมิตร’กางเหตุผล! ยื่นถอดถอน‘อิ๊งค์’พ้น‘รมว.วัฒนธรรม’
  • รักชาติหรือตัวเอง? สังเวชใจ\'นักการเมือง\'ห้าม\'ทหาร\'ตัดสินใจ รักชาติหรือตัวเอง? สังเวชใจ'นักการเมือง'ห้าม'ทหาร'ตัดสินใจ
  • \'ใหม่ ดาวิกา\'แซ่บไฟลุก เสิร์ฟลุคเสื้อซีทรูตัวบางสุดฮอต 'ใหม่ ดาวิกา'แซ่บไฟลุก เสิร์ฟลุคเสื้อซีทรูตัวบางสุดฮอต
ดูทั้งหมด

คอลัมน์ที่เกี่ยวข้อง

คนไทยแสดงพลัง ตุลาการถึงเวลาทำหน้าที่

คนไทยแสดงพลัง ตุลาการถึงเวลาทำหน้าที่

30 มิ.ย. 2568

ราคาที่ต้องจ่าย

ราคาที่ต้องจ่าย

23 มิ.ย. 2568

ผู้นำเขมรลักไก่  รัฐบาลไทยอย่าแกล้งตีโง่

ผู้นำเขมรลักไก่ รัฐบาลไทยอย่าแกล้งตีโง่

16 มิ.ย. 2568

เถลิงประเทศชาติไทยทวี มีชัยชโย

เถลิงประเทศชาติไทยทวี มีชัยชโย

9 มิ.ย. 2568

ทักษิณเข้าคุก หรือไม่  ทุกฝ่ายต้องเคารพศาล

ทักษิณเข้าคุก หรือไม่ ทุกฝ่ายต้องเคารพศาล

2 มิ.ย. 2568

กรรม จากการปล่อยให้โกงข้าวจีทูจีเก๊

กรรม จากการปล่อยให้โกงข้าวจีทูจีเก๊

26 พ.ค. 2568

คดีสะเทือน ‘สทร.’

คดีสะเทือน ‘สทร.’

19 พ.ค. 2568

ไขปริศนา ทุนการศึกษา จากสลากกินแบ่งรัฐบาล

ไขปริศนา ทุนการศึกษา จากสลากกินแบ่งรัฐบาล

12 พ.ค. 2568

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved