l พลังของสังคม มีหลากหลาย พลังทางวัฒนธรรม พลังเศรษฐกิจ พลังการเมือง ฯลฯ สำหรับสังคมไทย พลังที่ไล่เลียงตามกำลังที่เป็นจริง : จากมากสู่น้อย เริ่มจากพลังทางวัฒนธรรม เศรษฐกิจ และ การเมือง
ในเรื่อง “กำลังอำนาจของชาติ (National Power)” มีหลายนิยามขึ้นอยู่กับบริบทเฉพาะของรัฐแต่ละรัฐ โดยไม่จำกัดเฉพาะกำลังด้านการเมือง สังคม ทหาร และเศรษฐกิจ ทั้งนี้นักวิชาการส่วนใหญ่ให้ความเห็นเกี่ยวกับกำลังอำนาจของชาติว่าเกี่ยวกับองค์ประกอบและลักษณะที่รัฐมีอยู่ อาจพิจารณาจากปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ภูมิศาสตร์ ทรัพยากร เศรษฐกิจ การทหาร วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและประชากร ซึ่งรัฐใช้ปัจจัยเหล่านี้เพื่อให้บรรลุเป้าหมายของประเทศ รักษาผลประโยชน์และความมั่นคงแห่งชาติรวมทั้งสร้างอิทธิพลในเวทีระหว่างประเทศเรื่องนี้ เป็นเรื่องใหญ่ จะไม่ขอกล่าวถึง เพียงแต่ยกมาเพื่อประกอบให้เข้าใจ เรื่องกำลังอำนาจของชาติ เป็นปัจจัยที่สำคัญในการคงอยู่ได้อย่างปลอดภัย มั่นคงของชาติ
เราจะกลับไปพูดถึงเรื่องข้างต้นกัน
@ พลังความจริง สู้กับ พลังความเท็จ ความเชื่อในโลกปัจจุบัน ได้ไม่ง่าย รวมทั้งในสังคมไทย ซึ่งขึ้นอยู่กับพลังอำนาจที่เข้มแข็งของชาติ คุณภาพของผู้นำ และประชาชน ในวงการต่างๆ ของสังคมไทย
-ชาติที่อ่อนแอ หรือไม่เข้มแข็ง พลังความเท็จ ความเชื่อ จะเข้มแข็งกว่า พลังความจริง
-และชาติที่เข้มแข็ง ประชาชนมีคุณภาพ พลังความจริง จะเข้มแข็งกว่า แต่พลังความเชื่อและความเท็จ ยังคงมีบทบาทไม่น้อยในสังคมโลกเพราะ “สังคมโลก” เต็มไปด้วยความขัดแย้ง แข่งขัน หวังเอาชนะกันตลอดมาไม่มีความรัก ความจริงใจ ความสามัคคีของโลกแต่ผลประโยชน์ของประเทศของกู ต้องมาก่อน ความเท็จและความชั่ว จึงถูกผู้มีอำนาจทางการเมือง ใช้เป็นเครื่องมือ แสวงหาอำนาจ
@ พลังประชาธิปไตย ที่มักนำมากล่าวอ้างกัน ก็มีการเปลี่ยนแปลงไปไม่น้อย ประชาธิปไตยของโลก ในช่วงการก่อเกิด จะใกล้เข้าความหมายที่เป็นจริงสิทธิเสรีภาพ ความเสมอภาค ความเป็นธรรม การมีส่วนร่วม ธรรมาภิบาลฯและเข้มแข็งในช่วงเริ่มต้น เพื่อที่จะสามารถแสดงบทบาทและเป็นที่ยอมรับกันได้มาก และสามารถนำไปเผยแพร่ หรือถูกนำเอาไปเป็นตัวอย่าง จากประเทศด้อยพัฒนาหรือกำลังพัฒนาที่ต้องการเปลี่ยนแปลงแต่ปัจจุบัน “ประชาธิปไตยของโลก” ถูกแซะ ถูกกระทำ ถูกแซงแทรก จากพลังของทุนใหญ่ ทุนผูกขาด ฯลฯ จนมีผู้นำของโลกและของไทยกล่าวว่า “ประชาธิปไตยของอังกฤษ” ที่ถือเป็นแม่แบบของโลกประเทศหนึ่งปัจจุบัน เหลือความเป็นประชาธิปไตย ไม่ถึง 20% และพลังประชาธิปไตยใน ยุโรป อเมริกา ก็เหลือน้อยลงทุกที สถานการณ์ประชาธิปไตยถดถอยทั่วโลก ณ วันนี้ นั้นเป็นเรื่องจริงที่สัมผัสได้ (กษิต ภิรมย์)
l สำหรับสังคมไทยในช่วงนี้
ปากก็กล่าวอ้าง “ประชาธิปไตย คือ การเลือกตั้ง :การเลือกตั้ง คือ ประชาธิปไตย”แต่เนื้อแท้ คือ “อำนาจ ผลประโยชน์ ของกู พวกกู” มาก่อนประชาชน คือ ข้ออ้างเพื่อรองรับ หรือรับรอง ประชาธิปไตย ที่ไม่เป็นจริงยิ่งเลือกตั้ง (ที่ไม่สุจริตเที่ยงธรรม) ไปนานเท่าไหร อำนาจของประชาชน ก็น้อยลงไปทุกที อำนาจของนักการเมือง พรรคการเมือง ทุนใหญ่ทางการเมือง ใหญ่คับฟ้า
@ ขอข้ามไป มาถึงเรื่องที่มักนำมาเสนอในแวดวงการเมืองในช่วงนี้
๑.วาทกรรมของพรรคส้ม ที่ปลุกระดม ส่งเสียงตามสายลงไปสู่คนหนุ่มสาวเรื่องสิทธิเสรีภาพความเสมอภาค ประชาธิปไตยของประชาชนที่นำไปโยงกับมาตราสองหนึ่งหนึ่งโดยการไม่รู้ ไม่เข้าใจที่แท้จริง ฟังอาจารย์ใบ้หวย ให้ตัวเลข ที่ไม่เคยถูกมาตลอดอาจารย์อยู่ข้างหลัง อยู่รอดปลอดภัย แต่ลูกศิษย์ เยาวชนที่ถูกใส่ความคิดที่ผิด ต้องมารับกรรมแทน
๒.มีคนไม่น้อย เกร็ง หรือไม่สบายใจ : การกลับมามีอำนาจของ “ทักฯ เพื่อไทย” และยิ่งทักฯ แสดงบทบาทอำนาจ เหนือ พรรคเพื่อไทย เหนือ รัฐบาล พรรคร่วมฯ คนก็ยิ่ง ต่อต้านและคัดค้าน ไปทุกเรื่องซึ่งมีทั้งข้อดีและข้อเสีย
ข้อดี
เหมือนเป็นการรวมพลัง ถ่วงดุลอำนาจของทักฯ ทำให้รัฐบาลของทักฯ พรรคเพื่อไทยฯ ทำอะไรได้ลำบากโดยจะมีคน สื่อบางส่วนออกมาคัดค้านทุกเรื่อง ฯลฯ
ข้อเสีย
การคัดค้าน หรือ การมองลบไปทุกเรื่อง ทำให้เราไม่ได้แยกแยะความจริง ความเท็จ ซึ่งนำไปสู่เรื่องสำคัญ คือ การวิเคราะห์สถานการณ์ ไม่ตรงความเป็นจริง ฯลฯ
@ ลองลงลึกไปถึง ข้อดีของ “การแสวงหาความเป็นจริง” สรรพสิ่งล้วนมี ๒ ด้าน ไม่มีใครสมบูรณ์ถูกต้องหมด หรือผิดพลาดหมด
ผู้นำคนหนึ่งๆ ก็เช่นกัน เช่น
๑.ทักฯ
จุดแข็ง คือ การวิเคราะห์เจาะลึก ถึงต้นเหตุอย่างเป็นระบบ (จากการผ่านประสบการณ์มากมายในเชิงธุรกิจ การเมือง พรรคการเมือง และรัฐบาลฯ) ทำให้เข้าถึงความจริง และสามารถนำความคิดมาปฏิบัติสู่เป้าหมายได้จริง “ทักฯ” เป็นผู้นำคนหนึ่ง ที่มีความรู้เข้าถึงปัญหา และหาทางออกได้ (นพ.ประเวศ วะสี)คนที่ติดตาม และมองความจริงก็จะได้รับความรู้ และข้อมูล ที่ดีในการแก้ปัญหาของสังคม (แล้วนำไปแก้ปัญหาฯ ด้วยวิธีการที่ดีถูกต้อง มีธรรมาภิบาลฯ)
แต่
ข้ออ่อน คือ ถูกประชาชนที่มีประสบการณ์ในยุคมีอำนาจ ไม่เชื่อใจ ไม่ไว้ใจในเรื่องของ ธรรมาภิบาล (Good Governance) ความซื่อสัตย์สุจริต การแสวงหาผลประโยชน์เพื่อตนครอบครัว และพรรคในสังกัด
๒.นายกฯแพทองธาร
จุดแข็ง คือ การเป็นผู้นำรัฐบาล มีตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และหัวหน้าพรรคเพื่อไทย การได้รับการสนับสนุนจากพ่อแม่และพรรคเพื่อไทย รวมทั้งประชาชนส่วนหนึ่งความตั้งมั่น มีความเพียรพยายาม ที่ศึกษาเรียนรู้และพัฒนาตนเอง ในสมกับฐานะนายกรัฐมนตรีของไทย
ข้ออ่อน คือ ขาดประสบการณ์ การก้าวขึ้นมาอย่างรวดเร็ว ทั้งในตำแหน่งหัวหน้าพรรค และนายกรัฐมนตรีที่ต้องการ ความมีวุฒิภาวะ ความเป็นผู้นำ ความมีศักยภาพ ในการทำงานในหน้าที่ที่สำคัญของบ้านเมือง
สิ่งที่ควรปรับปรุง นายกฯแพฯ ควรจะเน้นการนำเสนอในเรื่องที่สำคัญ เรื่องที่เป็นหลักควรลด การนำเสนอแทบทุกประเด็น ที่จะมีการหลุดข้ออ่อน ได้มาก ซึ่งไม่เป็นผลดีรวมทั้งสื่อของรัฐบาล ไม่ควรจะ “ยกยอ” มากเกินจริง : ทำให้คนเบื่อฯ
อนึ่ง ในการติดตามทางการเมืองที่ดีและถูกต้อง
เราต้องมีท่าที ที่ถูกต้อง เอาผลประโยชน์ของบ้านเมืองเป็นหลัก เราต้องแยก ระหว่างการทำหน้าที่ในฐานะตัวแทนของรัฐบาลของประเทศกับเรื่องการเมือง พรรคการเมืองแน่นอน มิใช่จะแยกออกได้ง่ายๆ เพราะมีความสัมพันธ์เกี่ยวโยงกันสูง เช่น เรื่องที่ทำหน้าที่ผู้นำประเทศ ไปร่วมประชุม หารือ ตกลงกัน กับผู้นำประเทศต่างๆ หรือการแก้ไขปัญหาสำคัญ เช่น การช่วยเหลือแรงงานไทยที่ถูกจับตัวในอิสราเอลฯเราควรสนับสนุน มิใช่ คัดค้าน หรือลิดรอนฐานะบทบาท ในช่วงไปต่างประเทศฯ
๓.นโยบาย บทบาทหน้าที่ของประเทศจีนที่เกี่ยวข้องกับไทย นักร้อง สื่อ และบางคน มักจะกล่าวและเผยแพร่ว่า “รัฐมนตรีจีน หรือรัฐบาลจีนเข้าแทรกแซงไทย”
ผู้ที่สันทัดกรณี “ท่าทีของจีนมายาวนาน” จะเข้าใจดีประเทศจีน มีนโยบายที่ชัดเจนมาตลอดยาวนาน ในการเคารพสิทธิของรัฐบาลต่างๆ รวมทั้งรัฐบาลไทยซึ่งกระทรวงต่างประเทศไทย เคยออกคำชี้แจงมาแล้วครั้งหนึ่งแต่ก็ยังคงมี “นักร้อง” กล่าวอ้าง บ่อยๆ ซึ่งเป็นการประเมินและเข้าใจตาม “กรอบคิดของตน”
เรื่องนี้ ต้องตามติดต่อไป แล้วจะเห็นความจริง
เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี