กลไกการได้ยินและอันตรายของเสียงดัง
คนเราได้ยินเสียงจากคลื่นเสียง โดยคลื่นเสียงผ่านจากหูชั้นนอก เข้าไปสู่หูชั้นกลาง ผ่านกระดูกหู 3 ชิ้นและเข้าสู่หูชั้นใน บริเวณกระดูกหูชั้นกลางจะมีกล้ามเนื้อเกาะอยู่ ซึ่งเมื่อเสียงดังมากเกินไปผ่านเข้ามาจะมีกลไกป้องกันโดยกล้ามเนื้อจะหดตัวเพื่อช่วยลดระดับเสียงที่จะผ่านเข้าไปสู่หูชั้นใน หูชั้นในจะมีอวัยวะรูปก้นหอย (Cochlea) ซึ่งภายในบรรจุของเหลวไว้ และมีเซลล์ขน (Hair cell ) รับความรู้สึกสั่นสะเทือนและแปลงเป็นคลื่นประสาทส่งไปสมองเพื่อแปลความหมายเสียงที่ได้ยิน
NIHL เกิดได้อย่างไร
การได้ยินเสียงดังมากทันทีหรือเสียงดังต่อเนื่องเป็นเวลานานเกินกว่าการป้องกันของธรรมชาติทำให้เซลล์ขน (Hair cell) เกิดการสั่นสะเทือนต่อเนื่องนานติดต่อกันจนไม่สามารถปรับคืนสู่สภาพปกติและหลุดร่วงไป เกิดการขาดช่วงการเดินทางของเสียงไปยังสมอง ทำให้เกิดการสูญเสียการได้ยินเกิดขึ้น
การสัมผัสเสียงดังทำให้มีการเปลี่ยนแปลงของความสามารถในการได้ยิน แบ่งได้เป็น 2 แบบ คือ แบบชั่วคราวและถาวรโดยการสูญเสียการได้ยิน
ชั่วคราว เรียกว่า Temporary threshold shift : TTS พบว่าจะมีการได้ยินลดลงในช่วง 3,000-6,000 Hzและมักพบอาการเสียงดังในหู tinnitus ร่วมด้วย ระยะเวลาในการฟื้นตัวมักไม่เกิน 24 ชั่วโมง และถ้ามีการสัมผัสเสียงดังต่อเนื่องเป็นเวลานานอาจทำให้เกิดการสูญเสียการได้ยินถาวร เรียกว่า Permanent treshold shift ( PTS ) ซึ่งเกิดจากเซลล์รับเสียงถูกทำลายอย่างถาวร
การที่เซลล์ขนถูกทำลายอย่างถาวร แบ่งเป็น 2 ลักษณะ
1.Acoustic trauma: เกิดจากการได้รับเสียงดังมากในช่วงเวลาสั้นๆ เช่น เสียงระเบิด, ปืน
2.Noise Induced Hearing loss คือ การสูญเสียการได้ยินแบบค่อยเป็นค่อยไปเกิดในผู้ที่ทำงานเสียงดังเป็นเวลานาน ๆ เช่น โรงงานอุตสาหกรรม เป็นต้น
องค์ประกอบที่เป็นสาเหตุให้เกิด Noise Induced Hearing loss
1.ระดับความดังของเสียง - สัมผัสเสียงดังเกิน 80 เดซิเบล ขึ้นไป นานๆ จะมีโอกาสสูญเสียการได้ยินความถี่ของเสียง-เสียงความถี่สูงหรือแหลมจะทำลายประสาทการได้ยินมากกว่าเสียงทุ้ม
2.ระยะเวลาที่ได้รับเสียงต่อเนื่อง
3.สมรรถภาพและความทนต่อเสียงของระบบการได้ยิน
4.สุขภาพร่างกายของแต่ละบุคคล
5.การใช้อุปกรณ์ป้องกันเสียงดัง สามารถป้องกันหูตึงได้ หากอุปกรณ์นั้นมีคุณภาพ และผู้ใช้สวมใส่อย่างถูกต้อง
เสียงดังแค่ไหน ? จึงจะเกิดอันตราย
ผลจากการศึกษาวิจัยได้มีการกำหนดมาตรฐานสากลขึ้นกำหนดให้ระดับความดังของเสียงไม่เกิน 85 เดซิเบล(เอ) สำหรับผู้ปฏิบัติงาน 8 ชั่วโมงต่อวัน หรือ 90 เดซิเบล (เอ) เมื่อทำงาน 4 ชั่วโมงต่อวัน
มาตรการการจำกัดระยะเวลาในการสัมผัสเสียงที่ระดับความดังต่างๆ
OSHA (Occupational and Safety Health Administration) และ ACGIH แห่งประเทศสหรัฐอเมริกา กำหนดระดับเสียงดังที่อาจได้ยินหรือสัมผัสในระยะเวลาหนึ่งๆ อย่างละเอียด
ระยะเวลาต่อวัน (ชั่วโมง) ระยะเสียงดัง (เดซิเบล-เอ)
โดยที่ : ระยะเวลาทำงานต้องลดลงครึ่งหนึ่ง ในทุกๆ 3 เดซิเบลที่เพิ่มขึ้น
สำหรับประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องความปลอดภัยในการทำงานเกี่ยวกับภาวะแวดล้อม
หมวด 3 เสียง
ข้อ 13 ภายในสถานที่ประกอบการที่ให้ลูกจ้างคนใดคนหนึ่งทำงานดังต่อไปนี้
1) ไม่เกินวันละเจ็ดชั่วโมง ต้องมีระดับเสียงที่ลูกจ้างได้รับติดต่อกันไม่เกิดเก้าสิบเอ็ดเดซิเบล (เอ)
2) เกินกว่าวันละเจ็ดชั่วโมง แต่ไม่เกิดแปดชั่วโมง จะต้องมีระดับเสียงที่ลูกจ้างได้รับติดต่อกันไม่เกินเก้าสิบเดซิเบล(เอ)
3) เกินวันละแปดชั่วโมง ต้องมีระดับเสียงที่ลูกจ้างได้รับติดต่อกันไม่เกินแปดสิบเดซิเบล (เอ)
ข้อ 14 นายจ้างจะให้ลูกจ้างทำงานในที่ที่มีระดับเสียงเกินกว่าร้อยสี่สิบเดซิเบล (เอ) มิได้
ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 4 (พ.ศ.2541) ออกตามความในพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ.2512 เรื่องหน้าที่ของผู้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน
ความสำคัญ คือ กำหนดมาตรฐานเสียงดังในโรงงานไว้ที่ 80 เดซิเบล และหากเสียงดังเกินกว่าที่กำหนดหรืออาจเป็นอันตรายต่อแก้วหู ทางโรงงานต้องจัดให้มีอุปกรณ์ลดเสียงที่มีประสิทธิภาพ
ด้วยความปรารถนาดีจาก
พ.ต.(หญิง) พญ. สายสุรีย์ นิวาตวงศ์
ราชวิทยาลัย โสต ศอ นาสิก แพทย์แห่งประเทศไทย
เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี