วันพฤหัสบดี ที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / คอลัมน์ / คอลัมน์ผู้หญิง / ทันโลกทันเหตุการณ์
ทันโลกทันเหตุการณ์

ทันโลกทันเหตุการณ์

แพทยสภา
วันเสาร์ ที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567, 06.00 น.
หมอชวนรู้ : การใช้เซลล์ต้นกำเนิด การใช้ยีนและเซลล์บำบัดในทางการแพทย์ ประเด็นเพิ่มเติมที่ท่านควรรู้

ดูทั้งหมด

  •  

สืบเนื่องจากมีการเสวนา อภิปรายในข้อกำหนดเกี่ยวกับการใช้ stem cell ทางการแพทย์และยังมีบางประเด็นที่ประชาชนยังสงสัยและถามมา จึงขอเพิ่มเติมข้อมูลและเน้นย้ำข้อมูลต่างๆ ที่สำคัญในปัจจุบัน เพื่อส่งเสริมให้มีการใช้เซลล์ต้นกำเนิด ยีนและเซลล์บำบัดอย่างเหมาะสม ถูกต้อง โดยเฉพาะวิธีการการตรวจสอบประสิทธิภาพและความปลอดภัยจากผลงานวิจัยต่างๆ หรือตามโฆษณาที่กล่าวอ้าง

การตรวจสอบข้อมูลด้านประสิทธิภาพและความปลอดภัยการใช้เซลล์ต้นกำเนิด (stem cell) จากผลงานวิจัย


เซลล์ต้นกำเนิดเป็นเซลล์มีศักยภาพที่จะแบ่งตัวเพิ่มจำนวนไปเป็นเซลล์ใหม่ และ/หรือเปลี่ยนไปเป็นเซลล์ที่จะทดแทนหรือซ่อมแซมเซลล์ในอวัยวะที่สึกหรอหรือมีเนื้อตายไปบางส่วนแล้ว อย่างไรก็ตาม เพื่อให้มีความมั่นใจได้ว่า การนำเซลล์ต้นกำเนิดมาใช้รักษาหรือป้องกันโรคนั้น ยังคงได้เซลล์ใหม่ที่มีรหัสพันธุกรรมเหมือนเดิม (uniformity)ในการนำมาใช้ หรือสามารถเปลี่ยนแปลงไปเป็นเซลล์ที่เจริญเติบโตแล้วและทดแทนเซลล์ที่ตายไป แล้วในอวัยวะต่างๆในผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาแบบเซลล์บำบัดได้จริง แพทยสภาจึงออกข้อบังคับเพื่อให้ความคุ้มครองแก่ประชาชนในด้านการการใช้เซลล์ต้นกำเนิด(stem cell)จากงานวิจัยและไม่ให้เกิดความผิดพลาดจากการแปลผลงานวิจัยก่อนที่แพทยสภาจะรีบประกาศรับรองให้ใช้ในวงกว้างทั่วไปว่าเป็นวิธีมาตรฐานและสามารถนำไปใช้ได้ทั่วไปโดยไม่ต้องมาขอการรับรองอีก แพทยสภาโดยคณะกรรมการวิชาการและจริยธรรมการทำวิจัยในคนด้านเซลล์ต้นกำเนิดของแพทยสภา และ/หรือ คณะอนุกรรมการควบคุมมาตรฐานการประกอบวิชาชีพเวชกรรมเกี่ยวกับการใช้ยีนและเซลล์ทางการแพทย์เพื่อการรักษา จะทำการตรวจสอบผลงานวิจัยที่ได้แสดงถึงประสิทธิภาพและความปลอดภัยการใช้เซลล์ต้นกำเนิด (stem cell) ในการรักษา/ซ่อมแซม/ฟื้นฟูโรคหรือความพิการของอวัยวะ หรือป้องกันโรคจากงานวิจัย ตามขั้นตอนดังนี้

๑.วัตถุประสงค์ของงานวิจัยมีอะไรบ้าง? และทำวิจัยเพื่อใช้ในการรักษาหรือป้องกันโรคหรือภาวะใด?

๒.ระเบียบวิธีวิจัยที่ใช้ในการวิจัย เป็นการใช้รูปแบบงานวิจัยระยะที่ ๓ ชนิดที่มีกลุ่มเปรียบเทียบหรือไม่? ถ้าหากมีกลุ่มเปรียบเทียบ น้ำหนักความน่าเชื่อถือจะมีมากขึ้นกว่างานวิจัยที่ไม่มีกลุ่มเปรียบเทียบแบบ concurrent control หากทำการวิจัยถูกต้องตามระเบียบวิธีอย่างแท้จริงโดยมีการปกปิดทั้งผู้ป่วยและผู้ประเมินผล จะทำให้การแปลผลงานวิจัยลดความมีอคติได้มาก

๓.การแปลผลงานวิจัยที่ได้ ถูกต้องเหมาะสมตามผลงานวิจัยที่ได้ ใช่หรือไม่? หากใช้ระเบียบวิธีวิจัยที่ไม่มีกลุ่มเปรียบเทียบ ก็เพียงแต่รู้ว่า ขนาดของการหาย/ทุเลา/ป้องกัน มีมากน้อยในระดับใดและอาจจะต้องศึกษาเพิ่มเติมต่อไปโดยมีกลุ่มเปรียบเทียบหากได้ผลลัพธ์ที่ยังไม่ชัดเจน

๔.อย่างไรก็ตาม คณะอนุกรรมการจะนำข้อมูลเหล่านี้ไปตรวจสอบกับฐานข้อมูลทางวิชาการอื่นๆ ในต่างประเทศเพื่อดูความสอดคล้องในผลงานวิจัยในเรื่องเดียวกันซึ่งคาดว่า จะมีการศึกษาวิจัยในรูปแบบทำนองเดียวกันอยู่หลายแห่งทั่วโลก แล้วตรวจสอบได้ผลงานวิจัยว่า ได้ผลตรงกันหรือไม่? หากงานวิจัยต่างๆ เหล่านี้ได้ผลชี้ไปในทางเดียวกันหมด คณะอนุกรรมการฯ จะดำเนินการในขั้นตอนต่อไป

๕.คณะอนุกรรมการของแพทยสภาจะเสนอให้ราชวิทยาลัยฯ ที่เกี่ยวข้อง ร่วมพิจารณาและให้ความเห็นว่า สามารถนำมาประกาศใช้เป็นวิธีการมาตรฐานได้แล้วหรือไม่? หากเห็นชอบร่วมกัน คณะอนุกรรมการฯจะดำเนินการในขั้นตอนต่อไป

๖.เมื่อเห็นสมควรนำการใช้เซลล์บำบัดมาใช้ในวงกว้างเพราะเป็นวิธีการที่ได้ประโยชน์ มีประสิทธิภาพและความปลอดภัยในการรักษาหรือป้องกันโรคในระยะใด คณะอนุกรรมการฯ จะนำเสนอเข้าที่ประชุมของกรรมการแพทยสภา เพื่อให้การรับรองเป็นวิธีมาตรฐานต่อไป

นอกจากนี้ แพทยสภาจะแจ้งผลการรับรองดังกล่าวให้กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กรมวิทยาศาสตร์
การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ทราบต่อไป

การใช้เซลล์บำบัดที่แพทยสภารับรองให้ใช้ได้ทั่วไปและไม่ได้อยู่ระหว่างการทำวิจัย

ข้อมูล ณ วันที่ ๓๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๖๗ แพทยสภาได้ให้การรับรองการใช้เซลล์บำบัดดังนี้

๑.การปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดเลือด(การปลูกถ่ายไขกระดูก) เพื่อรักษาโรคทางโลหิตวิทยา

๒.การปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดรักษาผิวกระจกตาเสื่อม/บกพร่อง

ข้อมูลด้านคุณสมบัติของผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมที่ให้บริการการใช้เซลล์บำบัดทางการแพทย์ จะมีคุณสมบัติของแพทย์ผู้ให้บริการ แตกต่างกันตามข้อบ่งใช้ในการรักษา/ป้องกันโรค เช่น คุณสมบัติของแพทย์ที่ใช้เซลล์บำบัดรักษาโรคเลือด ได้แก่ แพทย์ที่ได้วุฒิบัตร (ว.ว.) หรือหนังสืออนุมัติ (อ.ว.) สาขาโลหิตวิทยาและมะเร็งในเด็กหรือ สาขาอายุรศาสตร์โรคเลือด แพทย์ที่ใช้เซลล์บำบัดรักษาโรคผิวดวงตา ได้แก่ แพทย์ที่ได้รับวุฒิบัตรหรือหนังสืออนุมัติ (อ.ว. หรือ ว.ว.) สาขาจักษุวิทยา ในกรณีที่แพทยสภาจะประกาศโรคที่ใช้เซลล์บำบัดทางการแพทย์เพิ่มเติมเพื่อรับรองให้เป็นการรักษาแบบมาตรฐานเพิ่มเติม แพทยสภาจะประกาศคุณสมบัติแพทย์และมาตรฐานอื่นๆ มาให้ทราบต่อไป

นอกจากการใช้เซลล์บำบัดแบบปลูกถ่ายไขกระดูกซึ่งได้ผลดีมานานกว่า ๓๐ ปีแล้ว การใช้เซลล์บำบัดยังหมายถึง การให้เซลล์ปกติหรือปรับเปลี่ยนรหัสพันธุกรรมที่มีชีวิตเข้าสู่ผู้ป่วยเพื่อช่วยลดความรุนแรงของโรค ทำให้โรคสงบหรือหายขาด เซลล์เหล่านี้อาจได้มาจากผู้ป่วยเอง (autologous cells) หรือผู้บริจาค (allogeneic cells) เซลล์ที่ใช้ยังจำแนกตามศักยภาพในการเปลี่ยนแปลงเป็นประเภทเซลล์ที่แตกต่างกัน เซลล์ชนิด pluripotent cellsมีศักยภาพที่จะเปลี่ยนเป็นเซลล์ประเภทใดก็ได้ในร่างกาย ขณะที่เซลล์ชนิด multipotent cells มีศักยภาพที่จะเปลี่ยนเป็นเซลล์ประเภทอื่นแต่จำกัดกว่าเซลล์ชนิด pluripotent cells ตัวอย่างของการใช้เซลล์บำบัดที่ใช้เซลล์ปรับเปลี่ยนรหัสพันธุกรรมมาใช้รักษาโรค ได้แก่ การนำเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิด CAR-T cell (chimeric antigen receptor หรือ CAR) มาใช้ วิธีนี้ที่นิยมจะเป็นกระบวนการนำเลือดจากคนไข้หรือผู้บริจาคไปผ่านกระบวนการพันธุวิศวกรรมนอกร่างกาย เพื่อทำให้เซลล์ชนิด T-cell มีความสามารถในการทำลายเซลล์มะเร็ง แล้วส่งเซลล์ที่ปรับเปลี่ยนรหัสพันธุกรรมนี้ (CAR-T cell) กลับเข้าไปในร่างกายผู้ป่วย การรักษาโรคมะเร็งด้วย CAR-T cell ที่ผลิตในประเทศไทยสามารถช่วยลดค่ารักษาให้ผู้ป่วยจากเดิมลงได้ถึงกว่า ๕ เท่าตัวเมื่อเทียบกับค่ารักษาวิธีนี้ในต่างประเทศ โรงพยาบาลหลายแห่งในประเทศไทยได้ใช้เซลล์บำบัดแบบปรับเปลี่ยนรหัสพันธุกรรมอยู่แล้วในการรักษาโรค ในต่างประเทศก็มีการรับรองการรักษาด้วย CAR T-cell จากองค์การอาหารและยาของสหรัฐในการรักษาโรคแล้ว เช่น Yescarta และ Kymriah ใช้รักษา aggressive B-cell lymphoma มะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิด B cell เป็นต้น ส่วนที่มีข่าวว่า มีการนำ NK cells ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของระบบภูมิคุ้มกันมาใช้รักษาโรคมะเร็งหรือโรคติดเชื้อ HIV ให้หายขาดได้นั้น ก็ยังไม่เป็นจริงและไม่มีผลงานวิจัยมายืนยันข้อกล่าวอ้างดังกล่าว จึงอย่าหลงเชื่อโฆษณาที่อ้างว่า สามารถนำ NK cells มาปรับประสิทธิภาพให้เพิ่มขึ้นมาจนสามารถนำมารักษาโรคมะเร็งได้

เนื่องจากเซลล์เหล่านี้มีศักยภาพที่จะนำมาใช้รักษาโรคได้ จึงต้องมีการทำวิจัยอย่างมีระเบียบวิจัยที่ถูกต้องดังกล่าวข้างต้น รวมถึงมีการใช้ผู้เข้าร่วมงานวิจัยจำนวนมาก (รวมๆ แล้วจะมีจำนวนมากกว่า ๑๐๐ รายขึ้นไป) และมีการแปลผลงานวิจัยที่ถูกต้องรอบคอบก่อนที่จะประกาศรับรองและนำมาใช้ในวงกว้างต่อไป

(อ่านต่อสัปดาห์หน้า)

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

  •  
  • Breaking News
  • ข่าวยอดนิยม
  • คอลัมน์ฮิต
12:32 น. โพยล็อต 3 ว่อน! เปิดลิสต์‘24 สว.’ กกต.เรียกรับทราบข้อกล่าวหาคดีฮั้ว
12:20 น. 'หมวย อริสรา'ตรวจพบโควิดกลางรายการ 'หนุ่ม กรรชัย'นั่งเดี่ยว'เที่ยงวันทันเหตุการณ์'
12:19 น. (คลิป) 'อุ๊งอิ๊งค์' ไปส่วนตัวใช่ไหม? ปัญหาอยู่ 'สหรัฐ' แต่ดันไป 'อังกฤษ'
12:10 น. รวบหนุ่มเสพยา-ชิงแท็กซี่หนีกบดานในโรงแรม
12:07 น. รวบคาบ้าน! อดีตข้าราชการระดับสูง เอี่ยวขบวนการออกโฉนดรุกป่าชายเลน
ดูทั้งหมด
‘แพทย์ชนบท’เตือนผู้ชายสังเกตอาการ ย้ำ‘มะเร็งต่อมลูกหมาก’ตรวจพบเร็วรักษาหายได้
ปรีวิว-ฟันธง!หงส์ยังปึ๊กบุกนกนางนวล
แชมป์แรกสโมสร! พาเลซโค่นเรือใบคว้าถ้วยเอฟเอคัพ
‘สมศักดิ์’ยกกฎหมายให้อำนาจ‘สภานายกพิเศษ’ยับยั้งมติ‘แพทยสภา’
ประเทศเดียวในโลก! นักโกงเมืองไม่ต้องติดคุก จับตา! คำตัดสินศาลปกครองสูงสุด 22 พ.ค.
ดูทั้งหมด
เกาะชายผ้าเหลืองขึ้นสวรรค์กันนะจ๊ะ
สองผู้ยิ่งใหญ่อเมริกัน กับสันติภาพโลก
เลือกทางไหน?
ธุรกิจกาสิโนที่ไหนจะรับว่ามีการฟอกเงิน
ความเหมือน‘ตระกูลชิน’กับ‘ตระกูลมาร์กอส’
ดูทั้งหมด

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

'หมวย อริสรา'ตรวจพบโควิดกลางรายการ 'หนุ่ม กรรชัย'นั่งเดี่ยว'เที่ยงวันทันเหตุการณ์'

(คลิป) 'อุ๊งอิ๊งค์' ไปส่วนตัวใช่ไหม? ปัญหาอยู่ 'สหรัฐ' แต่ดันไป 'อังกฤษ'

รวบคาบ้าน! อดีตข้าราชการระดับสูง เอี่ยวขบวนการออกโฉนดรุกป่าชายเลน

TRUE แจงด่วน! ขออภัยเหตุขัดข้องที่เกิดขึ้น กำลังเร่งแก้ไข ยันดีแทคใช้ได้ปกติ

‘โรม’อัดรัฐบาลอืดอาด ไร้น้ำยาแก้ปัญหาสารพิษ‘แม่น้ำกก’ ชี้ช่องคุยจีน-ฟ้องศาล

เสียงร้องจากก้นหลุม! ถึงเวลาทบทวนความปลอดภัย

  • Breaking News
  • โพยล็อต 3 ว่อน! เปิดลิสต์‘24 สว.’ กกต.เรียกรับทราบข้อกล่าวหาคดีฮั้ว โพยล็อต 3 ว่อน! เปิดลิสต์‘24 สว.’ กกต.เรียกรับทราบข้อกล่าวหาคดีฮั้ว
  • \'หมวย อริสรา\'ตรวจพบโควิดกลางรายการ \'หนุ่ม กรรชัย\'นั่งเดี่ยว\'เที่ยงวันทันเหตุการณ์\' 'หมวย อริสรา'ตรวจพบโควิดกลางรายการ 'หนุ่ม กรรชัย'นั่งเดี่ยว'เที่ยงวันทันเหตุการณ์'
  • (คลิป) \'อุ๊งอิ๊งค์\' ไปส่วนตัวใช่ไหม? ปัญหาอยู่ \'สหรัฐ\' แต่ดันไป \'อังกฤษ\' (คลิป) 'อุ๊งอิ๊งค์' ไปส่วนตัวใช่ไหม? ปัญหาอยู่ 'สหรัฐ' แต่ดันไป 'อังกฤษ'
  • รวบหนุ่มเสพยา-ชิงแท็กซี่หนีกบดานในโรงแรม รวบหนุ่มเสพยา-ชิงแท็กซี่หนีกบดานในโรงแรม
  • รวบคาบ้าน! อดีตข้าราชการระดับสูง เอี่ยวขบวนการออกโฉนดรุกป่าชายเลน รวบคาบ้าน! อดีตข้าราชการระดับสูง เอี่ยวขบวนการออกโฉนดรุกป่าชายเลน
ดูทั้งหมด

คอลัมน์ที่เกี่ยวข้อง

การตรวจหาคราบแคลเซียมในหลอดเลือดหัวใจและความหมายของ calcium score

การตรวจหาคราบแคลเซียมในหลอดเลือดหัวใจและความหมายของ calcium score

16 พ.ค. 2568

มะเร็งกระเพาะอาหาร โรคร้ายภายใต้ความสงัด

มะเร็งกระเพาะอาหาร โรคร้ายภายใต้ความสงัด

10 พ.ค. 2568

แพทยสภา โรคเบาหวานขึ้นจอตา ภัยเงียบที่ทำให้ตาบอดถาวรได้

แพทยสภา โรคเบาหวานขึ้นจอตา ภัยเงียบที่ทำให้ตาบอดถาวรได้

26 เม.ย. 2568

แพทยสภา สุขเพศในผู้สูงวัย

แพทยสภา สุขเพศในผู้สูงวัย

19 เม.ย. 2568

แพทยสภา หมอชวนรู้ “นิ่วในไต”

แพทยสภา หมอชวนรู้ “นิ่วในไต”

12 เม.ย. 2568

รู้ทัน \'ยาอีแทมบูทอล\' ใช้อย่างปลอดภัย ห่างไกลตาบอด

รู้ทัน 'ยาอีแทมบูทอล' ใช้อย่างปลอดภัย ห่างไกลตาบอด

5 เม.ย. 2568

อันตรายจากแมงดาทะเลและปลาปักเป้า

อันตรายจากแมงดาทะเลและปลาปักเป้า

29 มี.ค. 2568

“ภัยร้าย” ใต้ความเหลืองของเด็กทารก

“ภัยร้าย” ใต้ความเหลืองของเด็กทารก

22 มี.ค. 2568

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นางสาวอัญชะลี ไพรีรัก
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved