วันศุกร์ ที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / คอลัมน์ / คอลัมน์การเมือง / กวนน้ำให้ใส
กวนน้ำให้ใส

กวนน้ำให้ใส

สารส้ม
วันศุกร์ ที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564, 02.00 น.
จุดเปลี่ยน ‘วัวลำพอง-หัวลำโพง’สู่หนไหน?

ดูทั้งหมด

  •  


กระทรวงคมนาคมยืนยันว่า ข่าวว่าจะทุบสถานีหัวลำโพงนั้น ข่าวปลอม ข้อมูลเท็จ

กระทรวงคมนาคมมีนโยบายให้รถไฟทุกขบวน โดยเฉพาะรถไฟทางไกล ปรับสถานีปลายทางจากสถานีกรุงเทพ (หัวลำโพง) เป็นสถานีกลางบางซื่อ เพื่อจะช่วยแก้ปัญหาการจราจรติดขัดบนถนน

1. คุณค่าทางประวัติศาสตร์ของหัวลำโพง

แฟนเพจ “เรื่องเล่า ภาพเก่า ในอดีต” ได้เล่าเรื่อง “สถานีรถไฟกรุงเทพ(หัวลำโพง)” ไว้อย่างน่าสนใจว่า

“...ย่านหัวลำโพง เป็นพื้นที่หนึ่งที่มีเรื่องราวความเป็นมาที่ยาวนานแห่งหนึ่งของนครกรุงเทพฯ อันเป็นเมืองหลวงของไทยซึ่งในอดีตพื้นที่ของย่านหัวลำโพงไม่ได้เฉพาะเจาะจงเพียงพื้นที่ภายในสถานีรถไฟกรุงเทพฯ หรือสถานีรถไฟหัวลำโพงเท่านั้น (สถานีรถไฟกรุงเทพฯ กับสถานีหัวลำโพงคนละที่กันนะครับ)

หากแต่ย่านหัวลำโพงที่ผมบอกนี้มีพื้นที่ ที่ใหญ่มาก ถ้านับจากตัวสถานีรถไฟกรุงเทพฯ หรือที่เรียกกันแบบเข้าใจเองกันว่า “หัวลำโพง” ในปัจจุบันนั้น ก็กินบริเวณรอบด้านไปอีกพอสมควร มีชุมชนดั้งเดิมอยู่อาศัย มีวัดหัวลำโพงที่สันนิษฐานกันว่าสร้างตั้งแต่ช่วงรัตนโกสินทร์ตอนต้น

ตามหนังสือประวัติศาสตร์หลายฉบับ ระบุว่า ย่านหัวลำโพง เคยเป็นทุ่งเลี้ยงวัว และมีต้นไม้ชนิดหนึ่งคือ ต้นลำโพง ขึ้นจำนวนมาก จึงเรียกย่านนี้กันว่า ทุ่งวัวลำพอง เช่นเดียวกับชื่อวัดหัวลำโพง ที่เรียกกันว่า วัดวัวลำพอง แล้วก็เรียกกันผิดเพี้ยนจนมาเป็น “หัวลำโพง”

หลังจากที่เมืองเริ่มเจริญเติบโต และได้รับอิทธิพลจากชนชาติตะวันตกเข้ามามากขึ้น ในปี พ.ศ. ๒๔๕๓ (สมัยรัชกาลที่ ๕) เริ่มมีการก่อสร้างสถานีรถไฟกรุงเทพ หรือสถานีรถไฟหัวลำโพง(ที่เข้าใจกัน) ซึ่งเป็นสถานีรถไฟหลักของประเทศไทย และเป็นสถานีที่เก่าแก่ที่สุดขึ้น

สถานีกรุงเทพ หรือที่เรียกกันว่าหัวลำโพง เป็นสถานีรถไฟที่อยู่คู่กับประเทศไทยมานานเป็น ร้อยกว่าปี นับแต่มีการสร้างและเริ่มเปิดใช้งานตั้งแต่วันที่๒๕ เดือนมิถุนายน ปี พ.ศ. ๒๔๕๙

โดยในช่วงแรกเริ่ม ไม่เพียงแต่ขนส่งมวลชนเท่านั้น แต่ยังเป็นศูนย์กลางของการส่งสินค้าที่สำคัญ มีสินค้าจากทุกภูมิภาคของประเทศไทยส่งมายังสถานีหัวลำโพง ก่อนจะกระจายไปขายยังพื้นที่ต่างๆ ในกรุงเทพฯ

จนในปี พ.ศ. ๒๕๐๓ ทางภาครัฐจึงตัดสินใจย้ายส่วนของการขนส่งสินค้าไปยังพื้นที่อื่น และปรับปรุงให้สถานีหัวลำโพงให้บริการเฉพาะขนส่งมวลชนเพียงอย่างเดียว

ตลอดระยะเวลาห้าสิบกว่าปี ที่สถานีรถไฟกรุงเทพฯ (หรือที่หลายท่านเรียกว่าหัวลำโพง) ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางการขนส่งสินค้า นอกจากจะทำให้ชุมชนดั้งเดิมขยายตัวแล้ว ยังสร้างแหล่งการค้าขายแห่งใหม่ๆ และทำให้เกิดชุมชนย่อยใกล้เคียงกับสถานีรถไฟแห่งนี้อีกจำนวนมากด้วย

โดยชุมชนใหม่ๆ ที่อยู่บริเวณนี้ส่วนใหญ่เป็นคนไทยเชื้อสายจีนที่เติบโตจากการทำการค้าจากสินค้าที่ขนส่งมาทางสถานีหัวลำโพง และกลุ่มคนที่ขยายตัวมาจากทางฝั่งเยาวราช

แม้ว่าหลังจากปี พ.ศ. ๒๕๐๓ สถานีรถไฟกรุงเทพฯ (หัวลำโพงที่เรียกกัน)จะไม่ได้เป็นศูนย์กลางการขนส่งสินค้าแล้ว แต่ยังมีส่วนของการขนส่งมวลชนที่ถือว่าสำคัญไม่แพ้กัน รวมถึงชุมชนที่เข้ามาตั้งรกรากในพื้นที่ใกล้เคียง ต่างก็มีแนวทางในการทำการค้า สร้างจุดเด่นในพื้นที่ของตัวเอง

โดยที่ดินรอบสถานีรถไฟแห่งนี้และพื้นที่ใกล้เคียง ส่วนใหญ่เป็นที่ดินของหน่วยงานภาครัฐ เช่น การรถไฟแห่งประเทศไทย ที่ดินของสำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์และ ที่ดินของสำนักงานจัดการทรัพย์สินจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ลักษณะการอยู่อาศัยจึงเป็นไปในแบบสิทธิการเช่า

มีเพียงพื้นที่บางส่วนที่เป็นของประชาชนทั่วไปที่สามารถซื้อขายได้แบบมีกรรมสิทธิ์ได้ ที่อยู่อาศัยที่เป็นตึกแถวส่วนใหญ่จึงเป็นที่อยู่อาศัยในรูปแบบสิทธิการเช่ากลายเป็นเมืองที่เติบโตตามกาลเวลา พื้นที่ใกล้เคียงของย่านหัวลำโพงก็เติบโตไปมากเช่นกัน

ย้ำเตือนความทรงจำ

“สถานีรถไฟกรุงเทพฯ” หรือที่เรียกกันว่า “สถานีหัวลำโพง” เป็นสถานีรถไฟที่เก่าแก่คู่บ้านเมืองเรามาช้านาน.. เริ่มก่อสร้างในปลายสมัย ล้นเกล้ารัชกาลที่ ๕ คือในปี พ.ศ. ๒๔๕๓ การก่อสร้างแล้วเสร็จ และเปิดใช้บริการอย่างเป็นทางการโดยมีพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ ได้ทรงเสด็จพระราชดำเนินกระทำพิธีกดปุ่มสัญญาณไฟฟ้าเป็นสัญญาณให้ขบวนรถไฟขบวนแรกเข้าสู่อาคารสถานี เมื่อวันที่ ๒๕ เดือนมิถุนายน ปี พ.ศ. ๒๔๕๙

และนี่เป็นเรื่องราวที่นำมาเล่าให้ได้อ่านกัน ...

ภาพจากโปสต์การ์ด หรือไปรษณียบัตรเก่าๆ เป็นภาพสถานีรถไฟกรุงเทพฯ หรือที่เรียกจนคุ้นชินกันว่า “สถานีรถไฟหัวลำโพง” ซึ่งสถานีหัวลำโพง จริงๆ นั้นมีอยู่จริงๆ และอยู่ไม่ไกลจากสถานีรถไฟกรุงเทพฯ แห่งนี้แต่ได้ถูกยกเลิกและรื้อทิ้งไปนานแล้วนั่นเอง (สถานีรถไฟกรุงเทพฯ จึงไม่ใช่สถานีรถไฟหัวลำโพงอย่างที่หลายคนเข้าใจและเรียกต่อๆกันมา)...”

2. ในเมื่อยืนยันว่าจะไม่ทุบหัวลำโพง แต่จะเก็บไว้ทำอะไร?

กระทรวงคมนาคม โดยการรถไฟแห่งประเทศไทย มีแนวทางจะพัฒนาพื้นที่สถานีหัวลำโพง โดยบริษัท เอสอาร์ที แอสเสท จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทลูกของการรถไฟแห่งประเทศไทย ระบุว่า หลังจาก ร.ฟ.ท. ย้ายการเดินรถไฟไปที่สถานีกลางบางซื่อทั้งหมดแล้ว จะเริ่มพัฒนาพื้นที่บริเวณสถานีหัวลำโพง เน้นการเป็นพื้นที่สาธารณะให้กับคนเมือง และเพิ่มศักยภาพเชิงพาณิชย์ โดยการพัฒนายังคงความเป็นอัตลักษณ์เดิมให้สอดคล้องกับความสมัยใหม่และปรับเข้ากับรูปแบบการดำเนินชีวิตในปัจจุบัน ดังนั้น จะยังคงอนุรักษ์อาคารหัวลำโพงและจุดสำคัญทางประวัติศาสตร์ในบริเวณนี้อย่างครบถ้วน

ถึงตรงนี้ น่าจะตัดเรื่องทุบสถานีหัวลำโพงทิ้งไปได้เลย เหลือแต่เพียงว่ายังให้มีรถไฟวิ่งเข้ามาหัวลำโพงอยู่หรือไม่ แค่ไหน หรือจะใช้ประโยชน์อย่างไรให้คุ้มค่าประโยชน์ใช้สอย และคงอัตลักษณ์เดิมไว้ได้อย่างดีที่สุด

3. น่าคิดว่า ดร.สามารถ ราชพลสิทธิ์ ให้มุมของข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการพัฒนา ดังนี้

“...ไม่ปิดหัวลำโพงก็พัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์ได้

อีกเหตุผลหนึ่งที่ต้องการปิดหัวลำโพงก็คือต้องการพัฒนาเป็นพื้นที่เชิงพาณิชย์ เช่น ห้างสรรพสินค้า โรงแรม อาคารสำนักงาน และคอนโดมิเนียม เป็นต้น เพื่อนำรายได้เข้าการรถไฟฯ

แต่กระทรวงคมนาคมจะต้องไม่ลืมว่าหากการเดินทางเข้า-ออกหัวลำโพงสะดวกรวดเร็ว จะทำให้การพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์ได้ผลตอบแทนมากขึ้น เนื่องจากจะมีผู้มาใช้บริการจำนวนมาก เพราะการเดินทางเข้าออกหัวลำโพงสะดวกรวดเร็ว อันเป็นผลมาจาก “การพัฒนาพื้นที่กับทางรถไฟแบบบูรณาการ (Integrated Development of Area and Railway หรือ IDAR) ที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในญี่ปุ่น ดังนั้น จะต้องเปิดให้บริการสถานีหัวลำโพงต่อไป

อย่าให้ “ประวัติศาสตร์ซ้ำรอย” ผมขอเสนอให้กระทรวงคมนาคมทบทวนการปิดสถานีหัวลำโพงให้รอบคอบ ให้ย้อนคิดไปถึงการปิดสนามบินดอนเมืองในปี 2549 ทันทีที่เปิดใช้สนามบินสุวรรณภูมิ ทำให้ผู้โดยสารที่อยู่ใกล้สนามบินดอนเมืองจำนวนมากเดือดร้อน ต้องเดินทางไกลไปขึ้นเครื่องที่สนามบินสุวรรณภูมิ ด้วยเหตุนี้ จึงต้องเปิดใช้สนามบินดอนเมืองอีกครั้ง...

..บทเรียนจากการปิด-เปิดสนามบินดอนเมืองหลายครั้ง ถือเป็นบทเรียนที่กระทรวงคมนาคมจะต้องพิจารณาให้รอบคอบ เพื่อไม่ให้ “ประวัติศาสตร์ซ้ำรอย” ที่จะต้องปิด-เปิดสถานีหัวลำโพงหลายครั้งเช่นเดียวกัน

อย่ารังแกหัวลำโพงที่ทรงคุณค่าทางประวัติศาสตร์และสถาปัตยกรรมมายาวนานถึง 105 ปี เลย !”

สารส้ม

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

  •  
  • Breaking News
  • ข่าวยอดนิยม
  • คอลัมน์ฮิต
18:15 น. (คลิป) 'นายกอิ๊งค์' อ้าง! ใส่ชุดขาว ตอบนักข่าวเรื่อง 'ทักษิณ' ไม่ได้
18:12 น. ทำบุญอย่างไรให้ได้อานิสงส์มาก
18:00 น. (คลิป) เมื่อกล้องวงจรปิด 'ชั้น14และบ้านจันทร์ส่องหล้า' เสียพร้อมกัน นอนบ้านไม่ได้นอนชั้น14 ด้วยหรือไม่
17:57 น. KNU ประกาศชัยชนะตีฐานทหารเมียนมาตรงข้ามช่องทางพุน้ำร้อนเมืองกาญจน์แตกกระเจิง
17:53 น. คดี‘ชั้น 14’พ่นพิษ! ‘บิ๊กต่าย’สั่งกองวินัยเตรียมสอบ‘หมอ รพ.ตำรวจ’
ดูทั้งหมด
ภาพอบอุ่นใจความรักที่งดงามของ 'กษัตริย์จิกมี-สมเด็จพระราชินี-เจ้าชาย-พระธิดา' ในยามค่ำคืนของทะเลทรายโกบี
(คลิป) 'ฐปณีย์' เละคาบ้าน! ด้อยค่าคนไม่เห็นด้วย 'เมียจ่าปืน' ออกโรงตอกกลับไม่ใช่ IO
‘ลาออก’ไปเถอะ! ฉะ‘นายกฯ’มีสติปัญญาแค่นี้ แผ่นเสียงตกร่องชู‘กาสิโน’แก้เศรษฐกิจ
มาแล้ว! กรมอุตุฯคาดหมายอากาศ 7 วันข้างหน้า ตั้งแต่ 4-10 พ.ค.68
หยามเกียรติธงชาติไทย! ทนายแจ้งเอาผิด โพสต์เฟสบุ๊คดูหมิ่น'ธงคือผ้าเช็ดเท้า'
ดูทั้งหมด
อวสาน‘ทักษิณ’คุกรออยู่
ความต่างของ สิงคโปร์ กับ ไทย
คุกนรก (1)
นักการเมือง ‘ส้มสารพิษ’
บุคคลแนวหน้า : 9 พฤษภาคม 2568
ดูทั้งหมด

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

(คลิป) 'นายกอิ๊งค์' อ้าง! ใส่ชุดขาว ตอบนักข่าวเรื่อง 'ทักษิณ' ไม่ได้

ได้โอกาสส่งออก! ‘อินโดนีเซีย’เผยปี’68คาดผลผลิตข้าวเหลือเกินบริโภคในปท.

ปตท. ลงนามสัญญาซื้อขายก๊าซธรรมชาติส่วนเพิ่มแหล่งอาทิตย์เสริมความมั่นคงพลังงานไทย

'DSI'ลงนามด่วนถึง'ผบ.ตร.-ปลัด มท.' ร่วมมือสอบสวนเอาผิดฟอกเงินคดีฮั้วเลือก สว.

(คลิป) เมื่อกล้องวงจรปิด 'ชั้น14และบ้านจันทร์ส่องหล้า' เสียพร้อมกัน นอนบ้านไม่ได้นอนชั้น14 ด้วยหรือไม่

ไม่ปล่อยให้ผ่านมือ!'รอง ผกก.สืบฯฮีโร่'ขับรถกลางดึกเจอโจรผัวเมียงัดตู้เติมเงินจับทันที

  • Breaking News
  • (คลิป) \'นายกอิ๊งค์\' อ้าง! ใส่ชุดขาว ตอบนักข่าวเรื่อง \'ทักษิณ\' ไม่ได้ (คลิป) 'นายกอิ๊งค์' อ้าง! ใส่ชุดขาว ตอบนักข่าวเรื่อง 'ทักษิณ' ไม่ได้
  • ทำบุญอย่างไรให้ได้อานิสงส์มาก ทำบุญอย่างไรให้ได้อานิสงส์มาก
  • (คลิป) เมื่อกล้องวงจรปิด \'ชั้น14และบ้านจันทร์ส่องหล้า\' เสียพร้อมกัน นอนบ้านไม่ได้นอนชั้น14 ด้วยหรือไม่ (คลิป) เมื่อกล้องวงจรปิด 'ชั้น14และบ้านจันทร์ส่องหล้า' เสียพร้อมกัน นอนบ้านไม่ได้นอนชั้น14 ด้วยหรือไม่
  • KNU ประกาศชัยชนะตีฐานทหารเมียนมาตรงข้ามช่องทางพุน้ำร้อนเมืองกาญจน์แตกกระเจิง KNU ประกาศชัยชนะตีฐานทหารเมียนมาตรงข้ามช่องทางพุน้ำร้อนเมืองกาญจน์แตกกระเจิง
  • คดี‘ชั้น 14’พ่นพิษ! ‘บิ๊กต่าย’สั่งกองวินัยเตรียมสอบ‘หมอ รพ.ตำรวจ’ คดี‘ชั้น 14’พ่นพิษ! ‘บิ๊กต่าย’สั่งกองวินัยเตรียมสอบ‘หมอ รพ.ตำรวจ’
ดูทั้งหมด

คอลัมน์ที่เกี่ยวข้อง

นักการเมือง ‘ส้มสารพิษ’

นักการเมือง ‘ส้มสารพิษ’

9 พ.ค. 2568

\'จิตป่วย\' ไม่ใช่เรื่องน่าอาย เร่งป้องกันและรักษากันเถอะ

'จิตป่วย' ไม่ใช่เรื่องน่าอาย เร่งป้องกันและรักษากันเถอะ

8 พ.ค. 2568

ผู้ว่าฯชัชชาติ อย่าทำลายโครงการบ้านมั่นคง

ผู้ว่าฯชัชชาติ อย่าทำลายโครงการบ้านมั่นคง

7 พ.ค. 2568

ถ้าศึกษา แล้วไม่กล้าตัดสินใจ  เปลืองเงิน เปล่าประโยชน์

ถ้าศึกษา แล้วไม่กล้าตัดสินใจ เปลืองเงิน เปล่าประโยชน์

6 พ.ค. 2568

คำโม้คุมกาสิโน กับความจริงของการบังคับใช้กฎหมาย

คำโม้คุมกาสิโน กับความจริงของการบังคับใช้กฎหมาย

5 พ.ค. 2568

ความจริงตึก สตง.ถล่ม  อย่าอคติโดยสัญชาติ

ความจริงตึก สตง.ถล่ม อย่าอคติโดยสัญชาติ

2 พ.ค. 2568

นายกฯคุณหนู เอาอยู่?  ศก.ไทย จากมีเสถียรภาพ สู่มุมมองเชิงลบ

นายกฯคุณหนู เอาอยู่? ศก.ไทย จากมีเสถียรภาพ สู่มุมมองเชิงลบ

1 พ.ค. 2568

ชั้น 14  ประตูกลับสู่นรกของนักโทษเทวดา?

ชั้น 14 ประตูกลับสู่นรกของนักโทษเทวดา?

30 เม.ย. 2568

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นางสาวอัญชะลี ไพรีรัก
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved