หนังสืองานศพของข้าพเจ้า ส่วนเพิ่มเติม 3
l เมื่อกล่าวถึงการออม คนมักนึกถึง “การออมเงิน หรือ ออมทรัพย์”
พ่อแม่ มักจะสอนลูก ให้รู้จัก ประหยัด เก็บหอมรอบริบ สะสมไว้ใช้ในยามจำเป็นหรือยามแก่ชรา
“มีสลึงพึงประจบให้ครบบาท
อย่าให้ขาดสิ่งของต้องประสงค์
จงมักน้อยกินน้อยค่อยบรรจง
อย่าจ่ายลงให้มากจะยากนาน”
เป็นการบ่มเพาะ “นิสัยที่ดี” ให้ติดตัวไปกับลูกหลาน
และทำให้ “ลูกหลาน” ได้มีพัฒนาการที่ดีต่อ ในการทำเรื่องอื่นๆ ที่ดี
เป็นเรื่องดี งดงาม มีคุณค่า และประโยชน์ต่อตนเอง และสังคม
แต่การออมที่สำคัญและจำเป็นสำหรับชีวิตมนุษย์ และสังคม
๑. การออมทรัพย์
๒. การออมความรู้ ปัญญา
๓. การออมมิตรแท้
๔. การออมสุขภาพ
๕. การออมนิสัยที่ดี
๖. การออมความสุข
๗. การออมความดีใจหมั่นทำ
ทั้งหมดแห่งการออมที่ดี คิดและทำได้ด้วยตนเอง
และส่งผลดียิ่ง ต่อการออมและรักษาสังคมและบ้านเมือง ให้ดีงาม เข้มแข็ง พัฒนาได้จริง
l มาลงรายละเอียด รูปธรรม ของการออมแต่ละรูปแบบ
1. เริ่มจาก “การออมทรัพย์”
ความหมายของการออม
การออมทรัพย์ (Saving) หมายถึง การประหยัด การเก็บสะสมเงินไว้ใช้ในอนาคต เมื่อมีเหตุการณ์จำเป็น
เช่น เจ็บป่วย กรณีฉุกเฉิน หรือเข้าสู่วัยชรา
วัตถุประสงค์ของการออมทรัพย์
๑. เพื่อเก็บไว้ใช้ในยามจำเป็นฉุกเฉินหรือเข้าสู่วัยชรา
๒. เพื่อการศึกษา สมาชิกครอบครัวมีการศึกษาในขั้นสูง
๓. เพื่อซื้อทรัพย์สินและสิ่งของที่จำเป็น
๔. เพื่อช่วยเหลือ ญาติพี่น้อง เพื่อนมิตรฯ กรณีจำเป็น รีบด่วน
๕. เพื่อหวังผลตอบแทน โดยออมไว้ในธนาคารหรือสถาบันการเงินอื่น
๖. เพื่อการลงทุนหรือทำธุรกิจส่วนตัว
ประโยชน์ของการออมทรัพย์
๑. ช่วยทำให้ฐานะทางเศรษฐกิจดีขึ้น
๒. ช่วยทำให้คลายความเดือดร้อน มีเงินใช้จ่ายเมื่อเกิดความจำเป็น
๓. ช่วยให้ได้สิ่งที่พึงประสงค์
๔. ช่วยให้ชีวิตมีหลักประกันที่มั่นคง
๕. ช่วยให้เกิดการลงทุน
๖. ทำให้เกิดความอบอุ่นใจ เพราะมีเงินออม ที่สามารถนำมาใช้ยามจำเป็น
l หลักสำคัญที่มีผลต่อการออมทรัพย์
๑. การใช้ชีวิตที่ดี มีคุณธรรม ถูกต้อง และพอเพียง ด้วยความสุข
๒. การประหยัด และการมุ่งมั่น ที่จะออม และเห็นคุณค่าความหมายของการออมฯ
๓. รายได้ ที่สม่ำเสมอ
๔. รู้จักควบคุมตัวเองในการใช้จ่าย
๕. วางแผนการใช้เงิน ให้รายจ่ายน้อยกว่ารายได้ เก็บเงินออมจากรายได้ ที่เหลือ จึงสามารถใช้จ่ายได้
สถาบันการเงิน หรืออื่นๆ เพื่อการออมทรัพย์
๑. ธนาคาร
๒. พันธบัตรรัฐบาล
๓. สหกรณ์ออมทรัพย์
๔. บริษัทประกันภัย
๕. อื่นๆ
(แหล่งที่มา : ครูทิชากร สำราญชลารักษ์ + เพิ่มเติม)
l สำหรับ ตัวปู่จิ๊บเอง ที่สามารถทำได้จริง เพราะมีส่วนที่สำคัญเป็นหลัก คือ
๑. แบบอย่างการดำรงชีวิตของป๋าและแม่ ที่เราเห็นมาตลอดในวัยเด็ก
๒. แบบอย่างของผู้นำของไทย โดยเฉพาะ ในหลวง ร.๙
๓. การทำงานหารายได้ โดยสุจริต (ที่ต้องมีจิตสำนึกที่แน่วแน่มั่นคง)
๔. ได้ศึกษาและปฏิบัติธรรม ทำให้มีชีวิตมีสุขใจ ในการดำรงชีวิต
๕. การได้รู้ได้เห็น คนในสังคมบางส่วน ที่มีปัญหาและทุกข์ จากการฟุ่มเฟือย ไร้คุณค่า
๖. ต้องเป็นแบบอย่างที่ดีต่อลูกหลาน และเพื่อนมิตรที่มีอุดมคติ
๗. ได้เห็นถึงคุณค่าความหมาย และประโยชน์ที่เกิดขึ้นจริงในชีวิต
* ออมเงินที่ดี
๑. มีรายได้สุจริต
๒. พินิจการใช้จ่าย
๓. ใช้ให้คุ้มหมดไม่เหลือ
๔. เจือจุนสังคม
๕. ใช้จนถึงแก่เฒ่า
การออมได้ด้วยใจสุข
๑. ฟอแม่ต้นแบบที่ดี
๒. ผู้นำดีฯในหลวง ร.๙
๓. ชีวิตที่สุจริตมีธรรม
๔. ทำด้วยใจที่เป็นสุข
๕. แบบอย่างดีต่อลูกหลาน
l การออมที่ดีอย่างหนึ่ง จักส่งผลที่ดี ต่อการออมแบบอื่นๆ
หัวใจของการออม คือ อย่างไร How
คือ การเก็บเล็กผสมน้อย ค่อยๆ ทำ สะสมไว้ให้มากขึ้น ให้เพียงพอ ต่อการ
(๑) การเก็บ หรือ การออม ให้ได้ผลจริง
(๒) การนำไปใช้ ใช้อะไร อย่างไร ให้เกิดประโยชน์ ได้จริง
คือ หลักการ ที่ทำให้เรา สามารถ “ทำการออม” ได้จริง
(๑) เราต้องรู้และเข้าใจว่า “การออม” มีคุณค่า ความหมาย และ ประโยชน์อย่างไร ต่อเรา และส่วนรวม
การเข้าใจ เป็นพื้นฐาน หรือจุดเริ่มต้นของงานหรือเรื่องทุกเรื่อง ที่ทำให้สามารถทำได้จริง
หาก เราไม่เข้าใจ แต่ทำไปเพราะ “ทำใจ” เนื่องจากถูกบังคับ
เราจะทำได้ไม่นาน พอไม่มีใคร หรือ อะไร มาบังคับ เราก็จะหยุดหรือเลิกทำ
การเข้าใจ เกิดจาก การศึกษาเรียนรู้ และนำไปปฏิบัติ
ทำซ้ำครั้งแล้วครั้งเล่า จนเกิดความเข้าใจ
แล้ว เราจะทำได้อย่างเป็นไปเอง (อัตโนมัติ)
(๒) เราต้องเต็มใจ และปรารถนาที่จะออม (ทำ) ด้วย
การใช้ปัญญา ความจริงนำ
เป็นเสมือนเข็มทิศ บอกทาง นำทาง ให้ไปในทางที่ถูกที่ควร
(๓) ทำด้วยความรักและความสุข
เป็นธรรมในหัวใจ ที่ให้เราทำด้วยความเต็มใจ ทำอย่างดีที่สุด
ทำได้อย่างแท้จริง และสม่ำเสมอ
l เราพูดถึง “การออมทรัพย์” ไปแล้ว
เรามาต่อกัน
การออมความรู้ ปัญญา
เป็นสิ่งที่จำเป็น ต่อการ “ใช้ชีวิตได้อย่างดี มีคุณค่า ความหมายถูกต้อง และมีประโยชน์”
จะต้องทำ หรือ ดำเนินไปตามขั้นตอน หรือเป็นขั้นๆ ของระบบการศึกษา (ของรัฐ กระทรวง โรงเรียนฯ)
และที่สำคัญ ไม่น้อยไปกว่า หรือ อาจจะมากกว่า คือ
การศึกษา เพื่อเข้าใจ โลก สังคม ตัวเอง และผู้อื่น ส่วนรวม
ซึ่งต้องทำ นอกห้องเรียน
และทำไปตลอดชีวิต
เพราะ เมื่อเราโตขึ้น เป็นผู้ใหญ่
เราก็จะก้าวไปสู่สังคมที่กว้างและไกลขึ้น
มีปัญหาอุปสรรคมากมาย รวมทั้งความขัดแย้งต่างๆ ที่จะเผชิญ ในโลกแห่งความเป็นจริง
ที่ต้องใช้ คำว่า “การออมความรู้ และ ปัญญา”
เพราะ จะมีจุดเริ่มต้น สะสม และพัฒนา
1.ความรู้ วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ความรู้เป็นความคุ้นเคย ความตระหนักหรือความเข้าใจในเกี่ยวกับบุคคลหรือสิ่งอื่น
เช่น ข้อเท็จจริง (ความรู้ประพจน์) ทักษะ (ความรู้กระบวนการ) หรือวัตถุ (ความรู้โดยประจักษ์)
วิธีหาความรู้มีหลายวิธีและมีแหล่งที่มาต่างๆ เช่น ประสบการณ์การศึกษา เหตุผล ความทรงจำ
วิธีการทางวิทยาศาสตร์ การสำรวจและการฝึกฝน เป็นต้น
การศึกษาความรู้ในทางปรัชาญา เรียก ญาณวิทยา
ความรู้สามารถหมายความถึง ความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องหนึ่งในทางทฤษฎีหรือปฏิบัติ
อาจเป็นความรู้โดยปริยาย (เช่น ทักษะหรือความชำนาญในการปฏิบัติ)
หรือความรู้ชัดแจ้ง (เช่น ความเข้าใจทางทฤษฎี) ความรู้รูปนัยหรืออรูปนัย
ความรู้เชิงระบบหรือโดยจำเพาะ
นักปรัชญาเพลโตชี้ให้เห็นข้อแตกต่างระหว่างความรู้และความเชื่อที่จริงใน Theaetetus
ทำให้มีหลายคนอ้างเขาโดย
นิยามความรู้ว่าเป็น “ความเชื่อที่จริงและมีการอ้างเหตุผลสนับสนุน” (justified true belief)[1][2]
2.ปัญญา วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ปัญญา (บาลี: ปญฺญา, จาก ป- อุปสรรค + ญา ธาตุ (รู้) + -กฺวิ ปัจจัยนามกิตก์)
แปลว่า ความรอบรู้, ความรู้ทั่ว
หมายถึง
-ความฉลาดเกิดแต่เรียนและคิด[1], อังกฤษ: Wisdom, sapience หรือ sagacity)
-ความสามารถในการคิดและกระทำโดยใช้ความรู้, ประสบการณ์, ความเข้าใจ, สามัญสำนึก
และ การเข้าใจทะลุปรุโปร่ง
ปัญญามักเกี่ยวข้องกับลักษณะต่างๆ เช่น
การตัดสินโดยไม่เอนเอียง, ความเห็นอกเห็นใจ,
การรู้ตนเองผ่านการทดลอง, การบรรลุอยู่เหนือตน และ การไม่ยึดติด
จนถึงกับ คุณธรรม เช่น จริยธรรมและการทำเพื่อผู้อื่น
ปัญญา (ศาสนาพุทธ) จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ปัญญา แปลว่า ความรู้ทั่ว คือรู้ทั่วถึงเหตุถึงผล รู้อย่างชัดเจน, รู้เรื่องบาปบุญคุณโทษ,
รู้สิ่งที่ควรทำควรเว้น เป็นต้น
เป็นธรรมที่คอยกำกับศรัทธา เพื่อให้เชื่อประกอบด้วยเหตุผล ไม่ให้หลงเชื่ออย่างงมงาย
ในสังคีติสูตร พระสารีบุตรกล่าวว่า ปัญญา ทำให้เกิดได้ 3 วิธี คือ
(๑) โดยการสดับตรับฟัง การศึกษาเล่าเรียน (สุตมยปัญญา ปัญญาที่เกิดจากการฟัง)
(๒) โดยการคิดค้น การตรึกตรอง (จินตามยปัญญา ปัญญาที่เกิดจากการคิด)
(๓) โดยการอบรมจิต การเจริญภาวนา (ภาวนามยปัญญา ปัญญาที่เกิดจากการอบรม)
หลักธรรมทางพระพุทธศาสนาที่เกี่ยวข้องกับปัญญา 3 อย่างคือ
(๑) กาลามสูตร จัดเป็นสุตามยปัญญา
(๒) โยนิโสมนสิการ จัดเป็นจินตามยปัญญา
(๓) สมถและวิปัสสนา จัดเป็นภาวนามยปัญญา
ปัญญา ที่เป็นระดับ อธิปัญญา คือปัญญาอย่างสูง
จัดเป็นสิกขาข้อหนึ่งใน สิกขา 3 หรือ ไตรสิกขา คือ อธิศีล อธิจิตอธิปัญญา
เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี