วันจันทร์ ที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / คอลัมน์ / คอลัมน์การเมือง / Change with คิด & ทำ
Change with คิด & ทำ

Change with คิด & ทำ

ชัยวัฒน์ สุรวิชัย
วันจันทร์ ที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2565, 02.00 น.
ผู้นำอุดมคติ ในสังคมไทย

ดูทั้งหมด

  •  

l “ผู้นำอุดมคติ” ในสังคมไทย หายาก หรือ ขาดแคลน

“สังคมไทย มีผู้นำ” มาตลอด แต่ถึงขั้น “เป็นผู้นำอุดมคติ” มีน้อย เพราะไม่ครบเครื่อง ไม่สมบูรณ์แบบ มีข้ออ่อน ในคุณสมบัติพื้นฐานในบางเรื่อง ทั้งนี้ อาจจะเกิดจาก


๑.ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม เศรษฐกิจ ศาสนา และสภาพของสังคมไทย สังคมไทยแม้จะเหลื่อมล้ำ ไม่เสมอภาคเป็นธรรม แต่มีลักษณะประณีประนอมการไม่ตกเป็นเมืองขึ้นของชาติมหาอำนาจฯ : มีบางส่วน ทำให้คนไทย ไม่ดิ้นรนต่อสู้ถึงที่สุดสภาพสังคมไทยที่มีทรัพยากรธรรมชาติ อาหารการกิน ที่ค่อนข้างสมบูรณ์ ฯลฯ ลักษณะเช่นนี้ มีส่วนสำคัญไม่น้อย ที่เป็นข้อจำกัด การก่อเกิด นักต่อสู้อุดมคติระดับสูง

ประเด็นศาสนาพุทธ ที่ถูกแปรเปลี่ยนไปจากคำสอนแท้ มีบางประเด็นที่เป็นข้ออ่อนใหญ่ กล่าวคือ (๑) ไม่ได้แก้ที่ต้นเหตุของสังคม (๒) พุทธในไทย เป็นเถรวาท ที่เน้นปัจเจก มากกว่าชาวพุทธไทย จึงขาดความสนใจ และให้ความสำคัญต่อส่วนรวม(พุทธในจีน เกาหลีฯ (มหายาน) เน้น ส่วนรวมมากกว่า)

๒. ผู้นำอุดมคติที่เป็นแบบอย่างที่ดีมีน้อย และมักจะเป็นหรืออยู่ในระดับบนของสังคม คือ พระมหากษัตริย์ และพระสงฆ์ระดับสูงฯ ผู้มาทำงานเพื่อสังคม นักการเมืองภาคประชาชน ที่ดีเด่นดัง ในระดับสูงของสังคม มีน้อย

๓. สังคม และประชาชน ขาดคุณภาพ หรือมีคุณภาพไม่พอ คุณภาพที่มีไม่มากพอ เป็นอุปสรรคและข้อจำกัดในการพัฒนาสังคมและบ้านเมือง รวมทั้งการก่อเกิดผู้นำอุดมคติ นักการเมืองอุดมคติ และที่สำคัญคือ ประชาชนที่มีคุณภาพรวมทั้ง(จากข้อ ๑) ประชาชน เน้นส่วนตัว มากกว่า ส่วนรวมฯ

๔. ความจำเป็นในการพัฒนาตนเพื่อก้าวถึงขั้นผู้นำอุดมคติมีไม่พอ

ความดุเดือดรุนแรงของการต่อสู้ แม้มีในหลายช่วง แต่ไม่ถึงที่สุด ความรู้ทางทฤษฎีในการต่อสู้เพื่อเปลี่ยนแปลงประเทศในทางที่ดี มีไม่มากพอ การดัดแปลงหล่อหลอมตนเอง ของผู้นำ ที่จะก้าวไปสู่การเป็นผู้นำอุดมคติ มีจำกัด

๕. ปัจจัย และเหตุ ที่จะเอื้อ และสนับสนุน เพื่อการก้าวและพัฒนาตนเอง ไปสู่ผู้นำอุดมคติ มีน้อย มีไม่พอ เงินทุน นักวิชาการ สื่อ นักธุรกิจ โดยเฉพาะการสนับสนุน ของ มหาประชาชน

l จากประสบการณ์ที่ผ่านมา การมี และดำรงอยู่ของผู้นำสังคมอุดมคติ เป็นอย่างไร?

๑. มาจากเจตจำนงของปัจเจกเป็นหลัก การมาจากแรงผลักดันของสังคม มีน้อย

๒. นักต่อสู้อุดมคติ มีน้อยลงในปัจจุบัน เมื่อเปรียบเทียบกับในสมัย ยุคก่อน ๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๖

๓. การมีความรู้ในเชิงตำรา หรือ ทฤษฎีชั้นสูง จากภายในและต่างประเทศจะสร้างผู้นำที่ดี ในระดับหนึ่ง แต่มักไปไม่ถึงดวงดาว โดย ทฤษฎี นำมาปฏิบัติ ใช้ได้ผลน้อย และไม่ประสบความสำเร็จ เพราะขาดการปฏิบัติและการประยุกต์ที่ประสานเข้ากับสภาพสังคมไทยที่เป็นจริง

๔. การเข้ามาต่อสู้ทางการเมือง ในยุคของความขัดแย้งรุนแรง และโดนมาตรการจากการใช้อำนาจรัฐในยุคของเผด็จการ จับกุมคุมขัง หรือลงโทษทางการเมืองทำให้เกิด “จิตใจต่อสู้ และพัฒนา ยกระดับตน ไปสู่ขั้นของการเป็นผู้นำ” เพื่อนำการต่อสู้ของกลุ่มองค์กร หรือ มวลชน ฯ

๕. ผู้นำที่เกิดขึ้น จะมีฐานมวลชนน้อย อาจจะเกิดจากการขาดความรู้เชิงทฤษฎีและการปฏิบัติและขาดการจัดตั้งพัฒนาประชาชน หรือ คนในกลุ่มองค์กร ให้มีคุณภาพและมีส่วนทำให้ผู้นำ ไม่มีเงื่อนไข ในการพัฒนา ยกระดับตนเอง ให้สูงขึ้น

๖. ยิ่งในสังคม ที่มีระบบการเลือกตั้ง ที่จะนำไปสู่การเป็นผู้นำระดับประเทศหรือจังหวัด เป็นระบบการเลือกตั้งที่ไม่สุจริตเที่ยงธรรม คือใช้ เงินทุนมหาศาล อำนาจ สื่อ นักวิชาการ มวลชน ฯ เป็นกลไกหลัก ในการตั้งพรรคการเมือง เพื่อผ่านการเลือกตั้งขึ้นไปสู่อำนาจรัฐ และเหตุปัจจัย ที่จะเอื้อหรือเป็นแรงผลักดัน หรือฐานสนับสนุน ให้มีพัฒนาตนเองให้เป็นผู้นำอุดมคติมีน้อย ไม่พอที่จะก้าวไปถึงได้

และที่ได้พบเห็นบ่อย กลับกลายเป็น การเสื่อมถอย หรือ “ทิ้งกลางคัน”อุดมคติที่เคยมี

อดีตนักศึกษา ประชาชน นักวิชาการฯ ที่เคยมีบทบาท ในยุค ๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๖ หรือ หลังจากนั้นมักจะ “เก็บอุดมการณ์ใส่ลิ้นชัก” อ้างว่า เพื่อไปทำงานการเมืองเลือกตั้งหรือ “การละทิ้งอุดมการณ์ หรืออุดมคติ ที่เคยมี เคยเป็น” กลับไปอยู่ใต้อำนาจของนายทุนสามานย์นายทุนพรรค นายทุนเจ้าสัวใหญ่ ที่ต้องการใช้อำนาจของพรรคการเมือง รัฐมนตรี สส. ต่อรองกับรัฐบาลเพื่อหวังรับผลประโยชน์จาก สัมปทานฯ

ส่วนที่ดีหน่อย คือ นักการเมืองอุดมคติ ที่เคยเข้าร่วมและสังกัดพรรคการเมืองที่ดีมีคุณธรรม แม้จะพยายาม ที่จะสร้างและพัฒนาพรรค แต่ก็ไม่สามารถ นำพาพรรค ไปได้ก็ออกตัวมา ทำงานอิสระ ทำงานกับชุมชน และหน่วยงานบางส่วน ที่ยังคงมีอุดมคติ

l ประเด็นที่เป็นข้ออ่อน สำคัญของนักการเมืองอุดมคติ ในสังคมไทยปัจจุบัน

๑. ขาดความรู้ ความคิดและความเข้าใจ ที่จะต้องพัฒนาตน และยกระดับตนให้เป็นผู้นำที่ดีโดยมักอาศัย เพียงแต่ความดีและอุดมคติของตน ที่ทำให้พัฒนาก้าวมาได้ในระดับหนึ่งแต่ไม่ได้พัฒนาตนให้มีความรู้ มีทฤษฎี มีการบริหารจัดการในงานต่างๆ ของตน ให้ดีและก้าวหน้าขึ้นโดยเฉพาะ การพัฒนาคุณภาพของ คนในสังกัด หรือองค์กร ที่ตนเกี่ยวข้อง

๒. ขาดความรู้ ความสามารถ และข่าวสารข้อมูลที่ถูกต้องเป็นจริง ในการวิเคราะห์สถานการณ์นำพามวลชนซึ่งเป็นหัวใจ และปัจจัย ที่จะสร้างและพัฒนา นักการเมืองอุดมคติ ให้มีผลงาน เป็นที่ยอมรับของประชาชน

๓. ไม่เข้าใจ ระบบและโครงสร้างทางการเมืองของสังคมไทยที

-พรรคการเมือง นักการเมือง ที่จะเข้ามาในการเป็น สส.เขต ต้องใช้เงินทุนก้อนใหญ่ สื่อ มวลชน ฯลฯ

-แต่ขณะเดียวกัน ความแตกต่างของพรรคการเมืองเลือกตั้ง อยู่ที่การมี สส.อุดมคติ ที่มีคุณภาพนักการเมืองอุดมคติ เป็นด้านบวก เสริมให้พรรคเข้มแข็ง และการยอมรับจากประชาชนที่มีคุณภาพนักการเมืองอุดมคติ ควรใช้แนวทาง เป็นสส.ปาร์ตี้ลิสต์ มากกว่า มีไม่น้อย ที่นักการเมืองอุดมคติ ยอมอ่อน และคล้อยตามไปทำแบบนักเลือกตั้ง จะทำให้ตนเสื่อม เสียหาย

l นักการเมืองอุดมคติ ต้องเข้าใจบทบาทและฐานะในการทำงานการเมืองตามอุดมคติ

เนื่องจากพรรคการเมืองไทย ยังอยู่ในระบบและโครงสร้างที่เหลื่อมล้ำ ไปอีกระยะยาวนานหนึ่งบทบาทของ “นักการเมืองอุดมคติ” จึงมีความจำกัด และมียากลำบากและอุปสรรคในการทำงานไม่น้อย

แต่เราสามารถทำงาน ในพรรคการเมือง หรือเป็น สส. หรือ สว. ได้

๑. ในยุคที่สถานการณ์เอื้ออำนวย พรรคการเมืองอุดมคติและมีคุณธรรม สามารถเกิดขึ้นได้ เช่น พรรคสังคมนิยมแห่งประเทศไทย ๒๕๑๘ - ๒๕๑๙ พรรคพลังธรรม ๒๕๓๑- ๒๕๕๐ ฯลฯ

๒. การเป็น สส. เขต ในเขตเมืองใหญ่ และในยุค ที่การเลือกตั้ง ยังไม่เข้าสู่ยุคทุนสามานย์ คือ การนำเสนอ “การเมืองในเชิงปฏิรูปใหญ่” ให้เป็นประชาธิปไตยที่แท้จริง หรือการดำเนินการเป็นขั้นตอน เน้นในเรื่องที่ทางพรรค สามารถทำได้ หรือทำแนวร่วมกับพรรคอื่น

๓. การเป็น สว. หรือ สส.ปาร์ตี้ลิสต์ เพื่อเป็นด้านบวก เสริมพรรค

๔. การทำงานให้พรรค ในงานมวลชน งานแนวร่วมกับมวลชน และคนในกลุ่มใกล้เคียงกับเรา

๕. การทำแนวร่วม กับ กลุ่มหน่วยงาน และองค์กรที่มีพลังอำนาจในการเปลี่ยนแปลงสังคมฯ

๖. การรักษาบทบาท ฐานะของนักการเมืองอุดมคติ ที่ความสำคัญและความจำเป็นอย่างยิ่ง

๗. การคบกับคน ต้องจำแนก ระหว่างคนมีอุดมคติ และแนวร่วม (โอกาสที่เราจะเสียหาย เพราะ ไปทำตามแนวร่วม ที่ชักจูงให้เราทำผิดคุณธรรม มีไม่น้อย ต้องระวัง)

l คุณสมบัติพื้นฐานของผู้นำอุดมคติ

๑. มีความรู้ และความเข้าใจอย่างถ่องแท้

(๑) ตนเอง

(๒) ผู้อื่น ผู้นำ ผู้ตาม

(๓) ข้อมูล ข่าวสาร และสังคมออนไลน์

(๔) สังคม และ ประชาชน

(๕) ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม

(๖) โลก

๒.ความสามารถ ทักษะ

(๑) การเป็นผู้นำ การประชุม การพูด การรับฟัง การรอคอยการสื่อสารให้เข้าใจ การสรุปบทเรียน

(๒) งานแนวร่วม กับ บุคคล องค์กร ที่สามารถร่วมกันได้

(๓) การแยกแยะ สิ่งที่ควรทำ ที่มีอยู่

หนึ่ง สิ่งที่ทำได้เลย

สอง สิ่งที่ทำได้ แต่ต้องใช้เวลา และการออกแรง รวมทั้งการทำร่วมกับคนอื่น

สาม สิ่งที่ดี แต่ยังทำไม่ได้ เนื่องจาก สภาพเงื่อนไข และเหตุปัจจัยในปัจจุบัน ยังไม่เอื้ออำนวย

(๔) การวิเคราะห์ปัญหา วิเคราะห์สาเหตุต่างๆ การแก้ไข และแนวโน้มของสถานการณ์

(๕) ประยุกต์ เข้ากับการบริหาร และการจัดการ มี ขั้นตอน และจังหวะก้าว

(๖) การประยุกต์หลักทฤษฎี ให้กับสภาพที่เป็นจริงในปัจจุบัน (ทฤษฎี ประสานกับ การปฏิบัติ)

๓.ความเป็นผู้นำทางการเมือง

พัฒนาคุณภาพของประชาชน และสังคม ให้คิดเป็นทำเป็น มีความเป็นอิสระ ตัดสินใจด้วยตนเองนำพาประชาชนไปทำ หรือไปสู่ สิ่งที่ดีงาม เพื่อส่วนรวม ยึดมั่นในหลักและความถูกต้อง กล้าคิด กล้าทำ กล้าเสียสละ เพื่อส่วนรวมและบ้านเมือง

กรณี ที่ได้เป็น สส. การคัดเลือกที่ปรึกษา ผู้ช่วยสส. ต้องพิจารณาคัดคนที่มีคุณภาพ และต้องทำหน้าที่ นำพา และพัฒนา ให้คนในทีมงาน ให้ยกระดับขึ้นมาเป็นผู้นำฯให้เป็นแบบอย่าง

๔.การมีอุดมคติ จริยธรรม คุณธรรม

อุดมคติ คือ สิ่งที่งดงาม เป็นสิ่งที่ดีแก่ตนเอง คนอื่น และบ้านเมือง อุดมคติสูงสุดต่อส่วนรวม คือ รักษาผลประโยชน์ของคนส่วนรวมของชาติ

๕.การสรุปบทเรียน และการพัฒนาตนเอง

การสรุปบทเรียนเป็นประจำ ทำให้เรารู้ว่า อะไรถูก ดี และอะไรที่ผิดพลาด ที่ควรปรับปรุงแก้ไข ทำให้รู้จักตนเอง เข้าใจผู้อื่น เข้าใจในสถานการณ์ที่เป็นจริง ดีขึ้น การพัฒนาตนเอง ให้รู้มากขึ้น ก้าวหน้าขึ้น ทำงานได้ดีขึ้นบรรลุความสำเร็จได้รวดเร็วขึ้น

l อนึ่งผู้นำที่อุดมคติ ต้องเข้าใจให้ถ่องแท้ ในบางเรื่องดังนี้

๑.ผู้นำกับบุคลิกพิเศษ เป็นสิ่งสร้างและพัฒนาขึ้นได้

๒. บุคลิกพิเศษที่ทำให้ “ผู้นำ” แตกต่างจากผู้อื่น เช่น

(๑) ความเชื่อมั่นในตัวเอง ความกล้าหาญในการตัดสินใจในสิ่งที่ดีงาม ถูกต้อง

(๒) การมีวิสัยทัศน์ที่ชัดเจนไปถึงอนาคต (การรู้เส้นทางเดินที่ถูกต้อง สอดคล้องกับสถานการณ์ จากวันนี้ไปสู่อนาคต)

(๓) ความมั่นใจในวิสัยทัศน์ของตนเอง (จะถูกทดสอบ ในยามมีวิกฤต)

(๔) ความมุ่งมั่นที่จะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่

การริเริ่มสร้างกระแส และพัฒนาให้เกิดกระแสใหญ่ขึ้น จนถึงขั้นจุดเปลี่ยนแปลง

๓.“ผู้นำ” สัจธรรมข้อที่สำคัญที่สุดตาม “พุทธปรัชญา”

ในการชนะใจผู้อื่นได้นั้นจำเป็นอย่างยิ่งเราทุกคนต้องจะชนะใจตนเองให้ได้ก่อน หันกลับมาดูตนเอง อ่านใจตนเอง ประเมินและแก้ไขตนเอง ก่อนที่จะคิดไปแก้ไขผู้ใด ถึงจะได้ชื่อว่าเป็น “ผู้นำที่ดี”

l แนวคิดผู้นำ จากหนังสือ Leadership เขียนโดย Henry Kissinger : เรียบเรียงโดย ปรีดี บุญซื่อ

๑.ทุกระบอบการเมือง และ ทุกสังคมจะอยู่ในภาวะเปลี่ยนผ่านตลอดเวลา จากอดีตที่เป็นความทรงจำของสังคม มาสู่วิสัยทัศน์ของอนาคต จะสร้างแรงดลใจให้กับวิวัฒนาการของสังคมนั้น ตลอดเส้นทาง

๒. ความเป็นผู้นำคือสิ่งที่ขาดไม่ได้ เพราะสังคมต้องมีการตัดสินใจสร้างความไว้วางใจ การรักษาพันธะความมุ่งมั่น และการเสนอแนวทางของอนาคตข้างหน้า ที่สังคมจะก้าวเดินไปให้ถึง

๓. ผู้นำ มีฐานะบทบาทของสะพาน ที่เชื่อมต่อระหว่างอดีตกับอนาคต และระหว่างค่านิยมที่ยึดถือกันอยู่ กับความมุ่งมั่นของผู้คนต่างๆ ที่ผู้นำจะเป็นคนนำพาไปสู่อนาคตดังกล่าว

ภาระที่ท้าทายต่อผู้นำคือการวิเคราะห์ โดยเริ่มต้นจากการประเมินสังคมที่เป็นจริง ผ่านประวัติศาสตร์ ค่านิยม และความสามารถของสังคม

๔. ผู้นำต้องประเมินสิ่งที่รู้จากอดีต กับข้อสรุปเรื่องการคาดการณ์อนาคต ซึ่งจะมีความไม่แน่นอน เพราะ

-ข้อมูลไม่สมบูรณ์

-และยังไม่มีข้อพิสูจน์มาสนับสนุน

แต่การคาดการณ์อนาคต ทำให้ผู้นำสามารถกำหนดเป้าหมายและยุทธศาสตร์อันจะสร้างแรงบันดาลใจแก่สังคมได้

๕. ผู้นำต้องเป็นนักการศึกษา สามารถสื่อสารเป้าหมาย โน้มน้าวคนที่เห็นต่าง และระดมเสียงสนับสนุน

ลักษณะสำคัญในตัวของผู้นำคือความกล้าหาญ และบุคลิกภาพความกล้าหาญที่จะตัดสินใจเลือกทิศทางอนาคต ส่วนบุคลิกภาพคือความหนักแน่นในการเดินบนหนทางไปสู่เป้าหมาย ที่ประโยชน์และอันตรายยังมองเห็นไม่ชัดเจน ในช่วงระยะเปลี่ยนผ่าน ความเป็นผู้นำจึงเป็นสิ่งสำคัญที่สุด

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

  •  
  • Breaking News
  • ข่าวยอดนิยม
  • คอลัมน์ฮิต
13:01 น. 'หนิง-ปณิตา'บุกเกาหลีเสริมความสวย!พร้อมเผยเคล็ดลับหน้ายุบบวม
13:00 น. ไทย-อินโดนีเซีย ปักหมุดอนาคต! พร้อมจับมือพัฒนาสาธารณสุข-ความมั่นคง-เศรษฐกิจ-ท่องเที่ยว
12:54 น. Lienjang Thailand เปิดบ้านต้อนรับประสบการณ์แห่งความงามสไตล์เกาหลี ร่วมสัมผัสแนวทาง K-Beauty
12:51 น. ‘ชูศักดิ์’มอบ ผอ.พศ. คุย มส. หามาตรการป้องกันหลังเกิดกรณีวัดไร่ขิง
12:51 น. 'จยย.คว่ำ'กระเด็นเข้าใต้สิบล้อโดนทับหัวซ้ำ ดับคาที่!
ดูทั้งหมด
พระลูกวัดฟันเปรี้ยง‘ทิดแย้ม’ทำแต่กิจของสงฆ์ ไม่ว่างนั่งปั่นบาคาร่า ลั่นยัง‘สึก’ไม่สำเร็จ
หนาวทั้งบาง! ‘ดิเรกฤทธิ์’ชี้หากราชทัณฑ์ไร้หลักฐานปมชั้น 14 คาดคนผิดรับโทษเพียบ
ประวัติศาสตร์! ไทยพลิกนรกโค่นจีน3-2คว้าตั๋วฟุตซอลโลก
สั่งย้าย! รอง ผบ.พัน กองบิน 23 พ้นตำแหน่ง หลังใช้ทหารวิ่งไรเดอร์เพื่อประโยชน์ส่วนตัว
ชีวิตครอบครัวพัง! อดีตเมียพลทหารขับไรเดอร์เผย เลิกกันเพราะผัวขอยืมเงินเอาไปปิดยอดส่งนาย
ดูทั้งหมด
ชาติจะเสียหาย หากยังฝืนทำต่อไป
คดีสะเทือน ‘สทร.’
จากภิกษุมหาโจร ถึงเวลายกเครื่องวงการสงฆ์
บุคคลแนวหน้า : 19 พฤษภาคม 2568
ต่างกรรมต่างวาระของ‘บักแม้ว’กับ‘ทิดแย้ม’
ดูทั้งหมด

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

หนุ่มพัทยาผวาถูก 'แก๊งตำรวจเก๊' กระทืบอุ้มค้นบ้านชิงโทรศัพท์มือถือ

ดราม่าสนั่น! คานส์ไล่นักแสดงจีนคนดังพ้นพรมแดง หลังละเมิดกฏแต่งโป๊เกินงาม

เรื่องไร้สาระ! 'อนุทิน'บอกไม่รู้จัก'ณฐพร'คือใคร มีสิทธิ์อะไร ยื่นยุบ'ภูมิใจไทย'

แนวหน้าวิเคราะห์ : หยุด‘โควิด’รีเทิร์น เริ่มได้ที่ตัวเราเอง

ฝนถล่มตอนใต้จีน เสียชีวิต 5 ราย ประกาศเตือนภัยระดับเหลือง

หัวจะปวด! ลูกค้าสั่ง'เค้กพวงมาลัยวิจิตร'นึกว่า300 แม่ค้าอธิบายต้นทุนโดนสวน'วัตถุดิบไม่น่าแพง'

  • Breaking News
  • \'หนิง-ปณิตา\'บุกเกาหลีเสริมความสวย!พร้อมเผยเคล็ดลับหน้ายุบบวม 'หนิง-ปณิตา'บุกเกาหลีเสริมความสวย!พร้อมเผยเคล็ดลับหน้ายุบบวม
  • ไทย-อินโดนีเซีย ปักหมุดอนาคต! พร้อมจับมือพัฒนาสาธารณสุข-ความมั่นคง-เศรษฐกิจ-ท่องเที่ยว ไทย-อินโดนีเซีย ปักหมุดอนาคต! พร้อมจับมือพัฒนาสาธารณสุข-ความมั่นคง-เศรษฐกิจ-ท่องเที่ยว
  • Lienjang Thailand เปิดบ้านต้อนรับประสบการณ์แห่งความงามสไตล์เกาหลี ร่วมสัมผัสแนวทาง K-Beauty Lienjang Thailand เปิดบ้านต้อนรับประสบการณ์แห่งความงามสไตล์เกาหลี ร่วมสัมผัสแนวทาง K-Beauty
  • ‘ชูศักดิ์’มอบ ผอ.พศ. คุย มส. หามาตรการป้องกันหลังเกิดกรณีวัดไร่ขิง ‘ชูศักดิ์’มอบ ผอ.พศ. คุย มส. หามาตรการป้องกันหลังเกิดกรณีวัดไร่ขิง
  • \'จยย.คว่ำ\'กระเด็นเข้าใต้สิบล้อโดนทับหัวซ้ำ ดับคาที่! 'จยย.คว่ำ'กระเด็นเข้าใต้สิบล้อโดนทับหัวซ้ำ ดับคาที่!
ดูทั้งหมด

คอลัมน์ที่เกี่ยวข้อง

เปิดประตูสู่การเมืองไทย คู่มือฉบับเยาวชนคนหนุ่มสาว

เปิดประตูสู่การเมืองไทย คู่มือฉบับเยาวชนคนหนุ่มสาว

19 พ.ค. 2568

เหนือความอาลัยใด ณ ลำปาง บ้านเกิด ส่งพี่ชายสู่สรวงสวรรค์

เหนือความอาลัยใด ณ ลำปาง บ้านเกิด ส่งพี่ชายสู่สรวงสวรรค์

12 พ.ค. 2568

คู่มือมนุษย์คนหนึ่ง : ก้าวผ่าน‘กายใจ สังคม ปัญญา’ ปีที่ 75

คู่มือมนุษย์คนหนึ่ง : ก้าวผ่าน‘กายใจ สังคม ปัญญา’ ปีที่ 75

5 พ.ค. 2568

๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๖ มิติใหม่ของประวัติศาสตร์ประชาธิปไตยไทย เรียบเรียงโดย ชัยวัฒน์ สุรวิชัย

๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๖ มิติใหม่ของประวัติศาสตร์ประชาธิปไตยไทย เรียบเรียงโดย ชัยวัฒน์ สุรวิชัย

28 เม.ย. 2568

นิพพาน ทัศนะที่มีสาระ เส้นทางสู่สุขที่แท้จริงของชีวิตคนเรา

นิพพาน ทัศนะที่มีสาระ เส้นทางสู่สุขที่แท้จริงของชีวิตคนเรา

21 เม.ย. 2568

รำลึกวันปีใหม่สงกรานต์ไทย ปี ๒๕๖๘ คุณค่าความหมายในชีวิต ๗๖ ปี ของชายชราคนลำปาง

รำลึกวันปีใหม่สงกรานต์ไทย ปี ๒๕๖๘ คุณค่าความหมายในชีวิต ๗๖ ปี ของชายชราคนลำปาง

14 เม.ย. 2568

มารู้จัก ชัยวัฒน์ สุรวิชัย จากมุมมองของ GEMINI GOOGLE

มารู้จัก ชัยวัฒน์ สุรวิชัย จากมุมมองของ GEMINI GOOGLE

7 เม.ย. 2568

การอภิปรายไม่ไว้วางใจในประเทศไทย ใครได้ใครเสีย ประชาชนและบ้านเมืองได้อะไร

การอภิปรายไม่ไว้วางใจในประเทศไทย ใครได้ใครเสีย ประชาชนและบ้านเมืองได้อะไร

31 มี.ค. 2568

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นางสาวอัญชะลี ไพรีรัก
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved