วันพุธ ที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / คอลัมน์ / คอลัมน์การเมือง / ปรีชา'ทัศน์
ปรีชา'ทัศน์

ปรีชา'ทัศน์

วันศุกร์ ที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2567, 02.00 น.
ผู้ว่าการ ธปท.

ดูทั้งหมด

  •  

ในงานวิจัยเรื่องความเป็นอิสระของธนาคารกลาง Alex Cukierman(2481 - 2566)

ศาสตราจารย์ด้านเศรษฐศาสตร์ ชาวยิวมหาวิทยาลัยเทล-อาวีฟ ที่ทำร่วมกับนักเศรษฐศาสตร์ธนาคารโลกอีก 2 คน พบว่าระยะเวลาการดำรงตำแหน่งของผู้ว่าการธนาคารกลางเป็นหนึ่งในดัชนีชี้วัดที่บ่งบอกถึงระดับความเป็นอิสระของธนาคารกลาง งานชิ้นนี้ศึกษาธนาคารกลางต่างๆ ทั่วโลก 72 แห่ง ในช่วงปี 2493-2532 แยกเป็น 21 แห่งจากประเทศพัฒนาแล้ว และ 51 แห่ง ในประเทศกำลังพัฒนารวมทั้งประเทศไทยด้วย


ดัชนีตัวนี้ชี้ไปที่การดำรงอยู่ในตำแหน่งจนครบวาระของผู้ว่าการธนาคารกลาง ซึ่งส่วนใหญ่แล้วจะมีวาระครั้งละ 4 ปี เท่ากับวาระการเลือกตั้งในระบอบประชาธิปไตย หรือ 5 ปี ในบางประเทศ และก็อาจจะได้รับการแต่งตั้งให้อยู่ต่อในวาระที่สองหรือมากกว่านั้นในบางประเทศ เช่น นายอลัน กรีนสแปน อดีตผู้ว่าการธนาคารกลาง สหรัฐฯ ที่ดำรงตำแหน่งนี้ยาวนานถึงเกือบ 19 ปี (2530-2549) ผ่านการทำงานร่วมกับประธานาธิบดี 4 คน และรัฐมนตรีคลังอีก 10 คน

ขณะที่ผู้ว่าการธนาคารกลางอาร์เจนตินา โดยกฎหมายแล้วกำหนดให้มีวาระการดำรงตำแหน่ง 4 ปีเช่นกัน แต่โดยประเพณี เมื่อมีการเปลี่ยนรัฐบาลหรือรัฐมนตรีคลัง ผู้ว่าการธนาคารกลางก็จะขอลาออกพร้อมกันไปด้วย เป็นประเพณีที่ถือปฏิบัติกันมา ทำให้อัตราการเปลี่ยนผู้ว่าการธนาคารกลางอาร์เจนตินาอยู่ในอัตราสูงที่สุด เฉลี่ย 13 เดือนต่อ 1 คน ในระหว่างปี 2493-2532 ส่วนผู้ว่าการฯธนาคารกลางไอซ์แลนด์มีระยะเวลาดำรงตำแหน่งเฉลี่ยคงทนยาวนานที่สุดถึง 29 ปี ในช่วงระหว่างเวลาเดียวกันนั้น

อย่างไรก็ตาม ความสัมพันธ์ระหว่างระยะเวลาในการดำรงตำแหน่งของผู้ว่าการฯ กับความเป็นอิสระของธนาคารกลางนั้นไม่ได้เป็นการแปรผันตรงเสมอ เพราะยังมีปัจจัยอื่นที่เกี่ยวข้องอีกมากทั้งระบบการเมือง วัฒนธรรมองค์กร รวมถึงความน่าเชื่อถือของตัวผู้ว่าการฯ เอง

ผู้ว่าการธนาคารประเทศไทย(ธปท.) เช่น อาจารย์ป๋วย อึ๊งภากรณ์ สามารถอยู่ในตำแหน่งนี้ได้ยาวนานถึง 12 ปี (2502-2514) ภายใต้การเมืองแบบเผด็จการและต่อเนื่องด้วยระบอบคณาธิปไตย แต่ความเชื่อมั่นที่ชาวต่างประเทศมีต่อองค์กรและตัวผู้นำนั้นกลับสูงมาก เพราะ ธปท. ในยุคนี้มีความเป็นอิสระมาก เป็นตัวของตัวเอง ยึดมั่นในหลักการ ภายหลังจากการวางรากฐานให้ธปท. ไว้อย่างดีแล้ว อ.ป๋วย ก็ขอลาออกอย่างสง่าผ่าเผยเพื่อไปเป็นคณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์อย่างเต็มตัว

ในทางกลับกันช่วง 15 ปีของบรรยากาศประชาธิปไตยที่กำลังเบ่งบานในประเทศไทย (2535-2549) ธปท. ผ่านการมีผู้ว่าการฯ มา 5 คน....แต่ 4 คนแรกใน 5 คนนี้ล้วนถูกกดดันหรือปลดออกจากตำแหน่ง ส่วนคนที่ 5 นั้นลาออกเพื่อไปรับตำแหน่งรัฐมนตรีคลังในรัฐบาลที่มาจากการรัฐประหาร โดย......

คนแรกถูกกดดันให้ลาออกเพราะไม่สามารถจัดการปัญหาอื้อฉาวทุจริตในธนาคารกรุงเทพฯพาณิชย์การได้

คนสองถูกบังคับให้ลาออกเพื่อรับผิดชอบต่อวิกฤติเศรษฐกิจต้มยำกุ้งที่เกิดขึ้น

คนสามถูกบีบให้ลาออกเพราะมีส่วนพัวพันกับการดำเนินนโยบายที่ผิดพลาดอันนำไปสู่วิกฤติต้มยำกุ้ง

คนที่สี่ถูกปลดออกเพราะมีความขัดแย้งกับรัฐบาลในการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจ

ทั้งนี้ในประวัติศาสตร์เศรษฐกิจการเมืองไทยความเห็นที่แตกต่างกันในการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจระหว่างรัฐบาลหรือรัฐมนตรีคลังกับธนาคารแห่งประเทศไทยถือเป็นเรื่องปกติและมีมาช้านานแล้ว

ในฐานะที่ปรึกษาทางเศรษฐกิจ การเป็นนายธนาคารของรัฐบาลและรับผิดชอบดูแลนโยบายการเงิน ถ้าธนาคารกลางได้ไตร่ตรองรอบคอบแล้วมีความเชื่อมั่นว่าเป็นความเห็นที่ถูกต้อง ทั้งด้านข้อเท็จจริงและเหตุผล ธนาคารกลางจะต้องกล้าที่เสนอความเห็นนั้นต่อรัฐบาล ซึ่งรัฐบาลอาจไม่เห็นด้วย หรือแม้จะเห็นด้วยก็อาจจะถือว่าเหตุผลทางการเมืองมีความสำคัญมากกว่าก็เป็นได้

คุณเล้ง ศรีสมวงศ์ ผู้ว่าการ ฯ คนที่ 3 เคยพูดไว้ว่า....ผู้ว่าการแบงก์ชาติมีอาวุธอยู่อย่างเดียวเท่านั้น คือเราไม่เห็นด้วยกับเขา เราก็ลาออก.....

เมื่อธนาคารกลางแสดงความเห็นอย่างตรงไปตรงมาโดยสุจริต ไม่หวั่นเกรงอิทธิพลของนักการเมืองแล้วรัฐบาลไม่เห็นด้วยและตัดสินใจเลือกดำเนินการที่ตรงข้ามกับที่ได้เสนอ หากธนาคารกลางยังเชื่อมั่นว่า การดำเนินงานของรัฐบาลจะทำให้เกิดความเสียหายต่อส่วนรวมแล้ว ก็เป็นหน้าที่ของผู้ว่าการฯ ที่จะประท้วงรัฐบาล และวิธีประท้วงที่เด็ดขาดก็คือ การลาออกจากตำแหน่ง

ในอดีตก็เคยปรากฏว่า เมื่อมีกรณีขัดแย้งอย่างรุนแรงในหลักการสำคัญ ผู้ว่าฯ ธปท.ก็ได้เคยลาออกจากตำแหน่งมาแล้ว เช่น ปี 2489 ธปท. ได้พยายามที่จะลดปริมาณของเงินออกใช้หมุนเวียนภายในประเทศเพื่อควบคุมเงินเฟ้อ โดยแบ่งขายทุนสำรองเงินตราซึ่งเป็นทองคำให้กับประชาชนเพื่อไถ่ถอนธนบัตรจากการหมุนเวียนเสียเป็นบางส่วน โดยได้เสนอต่อรัฐบาลให้ขายทองคำด้วยวิธีประมูล แต่รัฐบาลหลวงธำรงนาวาสวัสดิ์ ต้องการที่จะขายให้แก่ประชาชนทั่วไปโดยไม่มีการประมูลแต่พระองค์เจ้าวิวัฒนไชย ผู้ว่าการ ธปท. คนแรก เห็นว่าวิธีดังกล่าวทำให้รัฐเสียประโยชน์ จึงได้ลาออกจากตำแหน่ง เมื่อ ต.ค. 2489

หม่อมหลวงเดช สนิทวงศ์ ผู้ว่าการ คนที่ 4 ลาออก เมื่อ ก.พ. 2495 ประท้วงรัฐบาลจอมพลป.ที่บังคับให้ ธปท. ขึ้นค่าเงินบาท ขณะที่ อาจารย์ป๋วย อึ๊งภากรณ์ ลาออกจากตำแหน่งรองผู้ว่าการ ในปี 2496 เพราะถูกแทรกแซงการทำงานโดยพลเอกสฤษดิ์ ธนะรัชต์ (ยศขณะนั้น) ผู้มีอิทธิพลในรัฐบาลขณะนั้นที่ขอให้ ธปท. ไม่สั่งปรับสหธนาคารที่มีคนใกล้ชิดของสฤษดิ์เป็นผู้บริหาร เพราะทำผิดระเบียบการควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน หรืออีกกรณีที่ผู้ว่าการ ธปท. แสดงสปิริตเพื่อรักษาคุณสมบัติสำคัญในการเป็นนายธนาคารที่ดีคือความซื่อสัตย์สุจริต เมื่อนายเกษม ศรีพยัคฆ์ ผู้ว่าการ คนที่ 5ลาออก เมื่อ ก.ค. 2501 ในสมัยรัฐบาลจอมพลสฤษดิ์เพื่อแสดงความรับผิดชอบต่อกรณีที่พนักงาน ธปท. ฉ้อโกง โดยที่ผู้ว่าการฯ ไม่ได้มีส่วนรู้เห็นเกี่ยวข้องด้วยแต่ประการใด

กลับมาที่ปัจจุบัน ในบรรยากาศการทำงานร่วมกันระหว่างรัฐบาลกับ ธปท. ในช่วงเวลานี้ ผมเห็นด้วยกับท่านผู้ว่าการฯ ที่บอกว่า....ความตึงเครียดอย่างสร้างสรรค์ระหว่างรัฐบาลกับแบงก์ชาติมีอยู่เสมอเพราะเราสวมหมวกคนละใบ ไม่มีเหตุผลเลยที่เราจะทำงานร่วมกันไม่ได้ คุณแค่ต้องเข้าใจว่าเราแสดงบทบาทแตกต่างกันตามกฎหมาย...

สุดท้ายขอฝากข้อคิดจาก อ.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ปูชนียบุคคลของ ธปท.ให้กับคุณเศรษฐาในฐานะรัฐมนตรีคลังที่เคยให้ข้อคิดไว้ว่า “ผู้ว่าการฯกับตัวรัฐมนตรีเป็นเสมือนสามีภรรยาเพราะฉะนั้นถ้ามีเรื่องอะไรก็ควรจะพูดกันในบ้าน อย่าไปประจานกันข้างนอก” ส่วนท่านผู้ว่าการฯ เศรษฐพุฒินั้นผมเชื่อว่าท่านมี DNA ของอาจารย์ป๋วยอยู่เต็มตัว ครับ

ดร.ธิติ สุวรรณทัต

อ้างอิง

วิวัฒนไชยานุสรณ์ ธนาคารแห่งประเทศไทย พิมพ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวิวัฒนไชย ณ เมรุวัดเทพศิรินทราวาส วันเสาร์ที่ ๑ เมษายน ๒๕๐๔

งานของ Alex Cukierman อ่านเพิ่มเติมในAlexCukierman, Steven Webb and Neyapti (1992) “Measuring the Independence of Central Banks and Its Effects on Policy Outcomes” World Bank Economic Review 6 (3) : 353-398.

การลาออกหรือการถูกปลดของผู้ว่าการ ฯ ธปท. อ่านเพิ่มเติมในThitinan Pongsudhirak (2001)“Crisis From Within: The Politics of MacroeconomicManagement in Thailand, 1947-97” Ph.D. thesis, Department of International Relations, London School of Economics and Political Science.

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

  •  
  • Breaking News
  • ข่าวยอดนิยม
  • คอลัมน์ฮิต
13:24 น. สตม.โชว์ผลงาน! รวบ'ชาวจีน'หนีคดีค้ายา-แชร์ลูกโซ่
13:23 น. เชิญชมเทศกาลศิลปะ ‘พระนคร ออน โอ่งอ่าง : หันน่าเข้าคลอง’ 11-13 ก.ค.นี้
13:23 น. อำลาเจลีก!บีจีดึง'เจริญศักดิ์'คืนทัพสู้ไทยลีก
13:19 น. (คลิป) 'ณัฐวุฒิ'แซะ! ดาบในมือศาลรัฐธรรมนูญ อาจเป็นอาวุธทำลายฝ่ายตรงข้ามทางการเมือง
13:19 น. 'พิธา' ของจริง หรือ ของปลอม? วิจารณ์แนวคิด'ขี้ข้าชาวตะวันตก' ไม่สอดคล้องความจริง
ดูทั้งหมด
ผลสลากกินแบ่งรัฐบาล งวดประจำวันที่ 1 กรกฎาคม 2568
‘มาครง’เผยคุย‘แพทองธาร’แล้ว ลั่นคนไทยไว้วางใจมิตรภาพจาก‘ฝรั่งเศส’ได้เสมอ
‘หม่อมปนัดดา‘ ปรากฏตัวกลางม็อบ ‘รวมพลังแผ่นดิน’ ของดให้สัมภาษณ์สื่อ
แกว่งเท้าหาเสี้ยน! ปรากฏการณ์แฉโพย‘สายส้ม’เข้มข้น-ล่อนจ้อน
'ออสเตรเลีย'ออกคำเตือนพลเมืองมา'ไทย'หลังพบวัตถุต้องสงสัยหลายเมืองท่องเที่ยวภาคใต้
ดูทั้งหมด
ต้นสนยักษ์ร่วมสมัยกับฟาโรห์
‘คลิปเขมร’เหตุอัปยศ‘แพทองธาร’
รู้ทันคอร์รัปชันด้วยวิทยาศาสตร์ ไม่ใช่แค่ศีลธรรม
วาทกรรมเจ็บจี๊ด
อุ๊งอิ๊งค์ 2 ปรับ ครม. ฟอร์มาลีน
ดูทั้งหมด

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

อำลาเจลีก!บีจีดึง'เจริญศักดิ์'คืนทัพสู้ไทยลีก

'พิธา' ของจริง หรือ ของปลอม? วิจารณ์แนวคิด'ขี้ข้าชาวตะวันตก' ไม่สอดคล้องความจริง

(คลิป) 'ณัฐวุฒิ'แซะ! ดาบในมือศาลรัฐธรรมนูญ อาจเป็นอาวุธทำลายฝ่ายตรงข้ามทางการเมือง

ตำรวจพะเยาไล่ล่าแก๊งค้ายา ยิงสกัดยึดยาบ้า 1.5 แสนเม็ด คนร้ายเผ่นหนีเข้าป่า

ราชกิจจาฯ เผยแพร่ ประกาศกระทรวงมหาดไทย ขอสละสัญชาติไทย จำนวน 195 ราย

มีประโยชน์ยามเกิดภัยพิบัติ! ‘บก.ลายจุด’แนะแจก‘พาวเวอร์แบงก์’เป็นของที่ระลึก

  • Breaking News
  • สตม.โชว์ผลงาน! รวบ\'ชาวจีน\'หนีคดีค้ายา-แชร์ลูกโซ่ สตม.โชว์ผลงาน! รวบ'ชาวจีน'หนีคดีค้ายา-แชร์ลูกโซ่
  • เชิญชมเทศกาลศิลปะ ‘พระนคร ออน โอ่งอ่าง : หันน่าเข้าคลอง’ 11-13 ก.ค.นี้ เชิญชมเทศกาลศิลปะ ‘พระนคร ออน โอ่งอ่าง : หันน่าเข้าคลอง’ 11-13 ก.ค.นี้
  • อำลาเจลีก!บีจีดึง\'เจริญศักดิ์\'คืนทัพสู้ไทยลีก อำลาเจลีก!บีจีดึง'เจริญศักดิ์'คืนทัพสู้ไทยลีก
  • (คลิป) \'ณัฐวุฒิ\'แซะ! ดาบในมือศาลรัฐธรรมนูญ อาจเป็นอาวุธทำลายฝ่ายตรงข้ามทางการเมือง (คลิป) 'ณัฐวุฒิ'แซะ! ดาบในมือศาลรัฐธรรมนูญ อาจเป็นอาวุธทำลายฝ่ายตรงข้ามทางการเมือง
  • \'พิธา\' ของจริง หรือ ของปลอม? วิจารณ์แนวคิด\'ขี้ข้าชาวตะวันตก\' ไม่สอดคล้องความจริง 'พิธา' ของจริง หรือ ของปลอม? วิจารณ์แนวคิด'ขี้ข้าชาวตะวันตก' ไม่สอดคล้องความจริง
ดูทั้งหมด

คอลัมน์ที่เกี่ยวข้อง

กฎหมายงบประมาณรายจ่ายอาจตกเป็นโมฆะ  กรณีศึกษาการแปรญัตติงบประมาณปี ๒๕๖๕

กฎหมายงบประมาณรายจ่ายอาจตกเป็นโมฆะ กรณีศึกษาการแปรญัตติงบประมาณปี ๒๕๖๕

27 มิ.ย. 2568

ความไม่ชัดเจนในมาตรา ๑๔๔ ของรัฐธรรมนูญ ๒๕๖๐  และกรณีศึกษาการกระทำฝ่าฝืนในมาตรานี้

ความไม่ชัดเจนในมาตรา ๑๔๔ ของรัฐธรรมนูญ ๒๕๖๐ และกรณีศึกษาการกระทำฝ่าฝืนในมาตรานี้

20 มิ.ย. 2568

รัฐบาลกลางกับการอุดมศึกษาสหรัฐ

รัฐบาลกลางกับการอุดมศึกษาสหรัฐ

13 มิ.ย. 2568

สแตนลีย์ ฟิชเชอร์ กับเมืองไทย

สแตนลีย์ ฟิชเชอร์ กับเมืองไทย

6 มิ.ย. 2568

นักกฎหมายไม่มีคุณธรรม...เลวยิ่งกว่ามหาโจร

นักกฎหมายไม่มีคุณธรรม...เลวยิ่งกว่ามหาโจร

30 พ.ค. 2568

การยกเลิกเหตุปัจจัยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๖๒๓  ที่ให้พระภิกษุมีทรัพย์สินได้เพื่อให้ถูกต้องตามพระธรรมวินัยที่ได้สวดปาติโมกข์

การยกเลิกเหตุปัจจัยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๖๒๓ ที่ให้พระภิกษุมีทรัพย์สินได้เพื่อให้ถูกต้องตามพระธรรมวินัยที่ได้สวดปาติโมกข์

23 พ.ค. 2568

รัฐบาลกับการกู้เงิน : จากอดีตสู่ปัจจุบัน (จบ)

รัฐบาลกับการกู้เงิน : จากอดีตสู่ปัจจุบัน (จบ)

16 พ.ค. 2568

รัฐบาลกับการกู้เงิน : จากอดีตสู่ปัจจุบัน (2)

รัฐบาลกับการกู้เงิน : จากอดีตสู่ปัจจุบัน (2)

9 พ.ค. 2568

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved