l ข้ออ่อนใหญ่ที่ผู้ใหญ่มีอุดมการณ์ ทำผิดพลาดมหันต์ คือ ไม่กล้าแนะนำเยาวชนคนหนุ่มสาวที่ถูกปลูกฝังอุดมคติเดียวกัน ถึงหนทางข้างหน้าที่ผิด ที่นำไปสู่ความสูญเสียใหญ่ เพราะ “อคติ” ครอบงำจิตใจ อยากจะบรรลุเป้าหมายที่พวกตนใฝ่ฝันแต่ทำไม่สำเร็จจึงทำทุกอย่าง เพื่อให้ก้าวไปสู่ชัยชนะ แม้จะเกิดความสูญเสียใหญ่เพราะ “มิใช่ตนและพวกตน” แต่เป็น “เยาวชนคนหนุ่มสาว” ที่ต้องมารับกรรม จากบาปของเหล่าผู้เฒ่านักวิชาการใหญ่นี่คือ “เรื่องที่จะเกิดขึ้นในวันข้างหน้า” ทั้งที่มี “บทเรียนอันเศร้าสลด ที่เคยเกิดขึ้นมาแล้ว”ในอดีตตามมาดูกัน
l หนังสือ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๖ มิติใหม่ประวัติศาสตร์ประชาธิปไตยไทย
(เรียบเรียง โดย ชัยวัฒน์ สุรวิชัย) ควรอ่านเพื่อให้เข้าใจ จะเห็นแนวโน้มของพฤติกรรมผู้นำนักศึกษาฯในยุคก่อน ๖ ตุลาคม ๒๕๑๙
๔.๔ ความคิดเห็นของ อาจารย์นงเยาว์ ชัยเสรีของอธิการบดีธรรมศาสตร์ สมัย ดร.ป๋วย เป็นอธิการบดี
(จากหนังสือ ดิฉันชื่อ นงเยาว์ ชัยเสรี หนังสือแจกในงานศพอาจารย์นงเยาว์ ชัยเสรี ศาสตราจารย์ คุณหญิงนงเยาว์ ชัยเสรี สตรีผู้นำการเปลี่ยนแปลงแห่ง “ธรรมศาสตร์”)
๑.ความแตกต่างที่ชัดเจน ระหว่างก่อนหน้า และหลังเหตุกาณ์ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๖
(๑) ก่อนและระหว่างเหตุการณ์ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๖
นักศึกษามีความสนิทสนมกับอาจารย์มาก ว่ากล่าวตักเตือนกันได้ นักศึกษามีอะไรก็มาปรึกษาอาจารย์
(๒) หลังเหตุการณ์ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๖ (ก่อน ๖ ตุลาคม ๒๕๑๙)
อาจารย์เริ่มกลัวนักศึกษาเพราะสมัยนั้น ถ้าพูดอะไรผิดหูนักศึกษา จะถูกนักศึกษาเล่นงานด้วยการปิดโปสเตอร์ โจมตีด่าว่าทันที
๒.อาจารย์ป๋วย อึ๊งภากรณ์ ไม่ได้สนับสนุน “วิธีการ” การเรียกร้องทางการเมืองของนักศึกษาหลายครั้งพยายามห้าม เพราะเป็นห่วงว่า จะมี “อันตราย” เกิดกับลูกศิษย์ อาจารย์ป๋วย พยายามที่จะเจรจากับองค์การและสภานักศึกษาธรรมศาสตร์ โดยชี้แจงว่ามหาวิทยาลัยเปิดโอกาสให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็นอย่างเสรีแต่ไม่ควรจะกล่าวพาดพิงโจมตีใครด้วยถ้อยคำรุนแรงให้เกิดความเสียหาย แต่นักศึกษาก็ไม่ค่อยฟัง และยังคงดำเนินทางการเมืองต่อไปวิธีการเจรจากับนักศึกษาของอาจารย์ป๋วยนั้น ไม่เป็นที่ยอมรับ (หน้า ๙๓)
ของอาจารย์ส่วนใหญ่ เพราะเห็นว่า “อาจารย์ป๋วยเข้าข้าง นักศึกษา” ทั้งที่สถานการณ์จริงก็คือ “ฝ่ายบริหารไม่สามารถห้ามปรามหรือยุติเหตุการณ์ใดๆ อันเนื่องมาจากนักศึกษาได้เลยแม้แค่นั้น เพราะนักศึกษาไม่รับฟัง”
๓.และคณาจารย์อื่นๆ ก็ไม่กล้าทำอะไรกับนักศึกษา เพราะหากใครทำให้นักศึกษาไม่พอใจแล้วก็จะถูกสืบค้นเรื่องส่วนหัวและนำมากล่าวให้ร้ายบนเวที และติดโปสเตอร์ประจาน
๔.เมื่อเกิดวิกฤตศรัทธาเช่นนี้ อาจารย์ป๋วยก็พยายามแก้ปัญหาด้วยการออกมติให้ “ยุบ อมธ.ทั้งชุดแต่เมื่อมีการเลือกตั้งใหม่ ก็เป็น อมธ.ชุดเดิม ดังนั้นธรรมศาสตร์ จึงยังยังคงเป็นเวทีและเป็นศูนย์กลางการต่อสู้เพื่อความเป็นธรรมทางสังคม และมีการชุมนุมใหญ่บ่อยครั้ง
๕.จอมพลประภาส กลับไทย ๑๕ สิงหาคม ๒๕๑๙ ศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย (ศนท.)เข้ามาเปิดการชุมนุมในธรรมศาสตร์ เพื่อให้จอมพลประภาสกลับออกนอกประเทศ......มหาวิทยาลัยต้องเรียกประชุมคณะผู้บริหาร ที่บ้านของ ดร.ประกอบ หุตะสิงห์ นายกสภามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เพื่อร่วมกันหาทางออกที่ประชุมขอให้อาจารย์ป๋วย บันทึกเทปถ้อยแถลงเพื่อเจรจาหว่านล้อมให้นักศึกษายุติการชุมนุม ซึ่งนักศึกษายอมรับฟังและยุติการชุมนุม และเดินทางออกจากธรรมศาสตร์แต่โดยดี ทำให้ไม่มีเหตุรุนแรงเกิดขึ้นในวันนั้น และเหตุการณ์ก็คลี่คลายไปด้วยดี เพราะจอมพลประภาสยอมเดินทางออกนอกประเทศ (หน้า ๙๔ )
๖. เณร (จอมพลถนอม) ได้บรรพชาเป็นสามเณรที่วัดไทย ได้ปรับอนุญาตให้เข้าอุปสมบทที่วัดบวรนิเวศวิหาร ศนท. จึงได้จัดชุมนุมใหญ่ เพื่อขับไล่เณรถนอม ออกจากประเทศ การปิดป้ายและการชุมนุมประท้วงของ ศนท. ได้รับการต่อต้านอย่างรุนแรงกับฝ่ายเป็นปฏิปักษ์ฯ และที่นครปฐม มีการนำร่างของ ๒ พนักงานไฟฟ้าภูมิภาค ไปแขวนคอในที่สาธารณะ ต่อมานักศึกษาธรรมศาสตร์ ได้แสดงละครสะท้อนเหตุการณ์อันน่าเศร้านี้ อาจารย์ป๋วย ได้ไปห้ามปรามถึงบริเวณลานโพธิ์ ที่จัดแสดงฯ แต่นักศึกษาไม่ฟัง (แถมยังกล่าวหาอาจารย์ป๋วย ว่าเป็นสมุนทรราช รับใช้เผด็จการฯ)
l กรุณากลับไปอ่านย้ำ
สองผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น ผลดีและผลเสียที่ตามมา
๑. จากการที่ผู้นำนักศึกษาฯ เชื่อฟังอาจารย์ (เหตุการณ์จอมพลประภาสกลับไทย)
๒. จากการที่ผู้นำนักศึกษาฯ ไม่เชื่อฟังอาจารย์ (เหตุการณ์จอมพลถนอมกลับไทย) (หน้า ๙๕)
l ความจริงในเรื่องราวที่นำมากล่าวนี้
มีบุคคลหลายฝ่าย พยายามตักเตือนแก้ไข “กลุ่มนำการเคลื่อนไหวซ้ายจัดเหล่านี้” ที่เข้าไป “จัดตั้ง” ผู้คนที่เร้าร้อน ที่สังกัดอยู่ในองค์กรต่างๆ ทั้ง “พรรคสังคมนิยมแห่งประเทศไทย” (พสท.) ศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย กลุ่มเยาวชนนักเรียนฯ ชาวนาฯซึ่งใน พสท. มีผู้ใหญ่บางส่วน สามารถป้องกันแก้ไขได้ แต่องค์กรอื่นๆ ไม่มีพลังในการป้องกันเพราะ “แกนนำกลุ่มซ้ายจัดนี้” มีไม่มาก ไม่ได้เป็นคนส่วนใหญ่แต่อาศัย “การจัดตั้ง” และการผลักดันอย่างเอาจริงต่อเนื่องไม่หยุด และการนำเสนอคำขวัญ หรือวาทกรรมที่ปลุกเร้า “ตายสิบเกิดแสน” “ไม่มีการเสียสละ การปฏิวัติไม่เกิด” “จับปืนเข้าโค่นล้ม” ฯลฯ
l เหตุการณ์ในยุคนี้ ก็มีการเลียนแบบ เช่น
พรรคการเมืองหนึ่ง จัดตั้ง โดยเน้น “สื่อทันสมัย” ใส่ความคิดผิดๆ ข้อมูลเท็จบิดเบือน ต่อเยาวชนคนหนุ่มสาวต่อ “สถาบันหลักชาติ” กองทัพ ฯลฯ และใช้วาทกรรมบิดเบือนหลากหลายซึ่งหลายการกระทำได้ถูกลงโทษไปแล้ว เช่น
การยุบพรรคอนาคตใหม่ พรรคก้าวไกลคนโดน ม.112 ฯลฯ ซึ่งต้องลงไปหาความจริง จะรู้แจ้งประจักษ์ใจ ถึงความผิดใหญ่ที่มีการกระทำคำพูดข้อเขียน การกระทำ........และนำไปบิดเบือน ต่อ “คนที่ไม่รู้ ไม่ได้ติดตามข้อเท็จจริง” ทำให้เข้าใจผิดว่า “รัฐรุนแรง หรือรังแกเด็กฯ”
กรณี “ผู้นำเยาวชนนักศึกษา ในจุฬาฯธรรมศาสตร์ฯ” ทำเรื่องราวที่ไม่เหมาะสมอย่างยิ่งซึ่งศิษย์เก่า และประชาชนที่รับทราบ รู้สึกเศร้าใจ
@ บทสรุป คือ ขอให้ย้อนไปอ่านข้อเขียนของอาจารย์นงเยาว์ ชัยเสรี ข้างต้น ขออย่าให้ “ประวัติศาสตร์” อย่าซ้ำรอย “HISTORY REPEATS ITSELF”
@ อ.ธีรยุทธ บุญมี พูดด้วยความเป็นห่วง หลังจากอ่านหนังสือ “๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๖ เล่มนี้” เกรงว่า “ประวัติศาสตร์ จะซ้ำรอยอีก”
เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี