วันเสาร์ ที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / คอลัมน์ / คอลัมน์การเมือง / เส้นใต้บรรทัด
เส้นใต้บรรทัด

เส้นใต้บรรทัด

จิตกร บุษบา
วันอาทิตย์ ที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2567, 02.00 น.
ปัญหา ‘เกาะกูด’ ไทย-กัมพูชา

ดูทั้งหมด

  •  

มีความกังวลระแวง ว่ารัฐบาล นางสาวแพทองธาร ชินวัตร จะสานต่อความสัมพันธ์ของคนรุ่นพ่อ คือ ทักษิณ ชินวัตรกับฮุนเซน อดีตผู้นำกัมพูชา ที่ปัจจุบัน ทั้งไทยและกัมพูชา มี “คนรุ่นลูก” ขึ้นมาเป็นายกรัฐมนตรี คือ“ฮุน มาเนต-แพทองธาร”MOU 2544 กลับมาหลอกหลอนอีกครั้ง ว่าด้วยสิทธิทับซ้อนและเขตแดนทับซ้อน ที่เป็นที่กังวลว่า จะนำพาไปการสูญเสีย “เกาะกูด” เหมือนที่เราเคยเสีย “เขาพระวิหาร” ให้แก่กัมพูชามาแล้ว

1) น.ส.รสนา โตสิตระกูล อดีตสมาชิกวุฒิสภา (สว.) โพสต์เฟซบุ๊กในหัวข้อ “อย่าปล่อยให้ประเทศไทยต้องเสียดินแดนเพิ่มด้วยข้ออ้างเพื่อความมั่นคงทางพลังงาน” ระบุว่า ข้ออ้างรัฐบาลเจรจาพื้นที่อ้างว่าทับซ้อนกันทางทะเลระหว่างไทย-กัมพูชาเพื่อความมั่นคงทางพลังงาน เป็นพื้นที่ที่มีขนาดใหญ่มโหฬารถึง 26,000 ตารางกิโลเมตร ไม่มีประเทศไหนที่จะมีพื้นที่อ้างว่าทับซ้อนกัน ที่มีขนาดใหญ่ได้ถึง 26,000 ตารางกิโลเมตรอย่างกรณีนี้เลย


ขอให้ดูแหล่ง JDA พื้นที่ทับซ้อนระหว่างไทย มาเลเซียมีขนาดพื้นที่เพียง 7,250 ตารางกิโลเมตรเท่านั้นหากจะมีพื้นที่ที่ทับซ้อนกันจริงระหว่างไทยกับกัมพูชา ก็ไม่ควรมีพื้นที่ใหญ่เกินกว่าแหล่ง JDA ที่เป็นพื้นที่ทับซ้อนระหว่าง ไทย กับ มาเลเซีย

รัฐบาลที่อ้างว่าสนิทชิดเชื้อกับผู้นำฝ่ายกัมพูชาควรเกลี้ยกล่อมให้กัมพูชายอมรับการเจรจาแบ่งเขตแดน ตามกฎหมายทะเลให้เสร็จสิ้นเสียก่อน การจัดการผลประโยชน์ทางทะเล

การเจรจาแบ่งเขตแดน และแบ่งผลประโยชน์ตาม MOU 2544 ไม่ได้เป็นไปตามกฎหมายทะเล ย่อมมีข้อน่าสงสัยในเจตนาและความโปร่งใสของรัฐบาลว่าเป็นเจตนาดีต่อประเทศจริงหรือไม่ หรือสนใจเพียงผลประโยชน์ของนักการเมืองและกลุ่มทุนเท่านั้น ใช่หรือไม่

ใน MOU 2544 มีข้อตกลงว่าพื้นที่เหนือเส้นละติจูดที่11 องศาเหนือ ให้เจรจาแบ่งเขตแดน ส่วนใต้เส้นละติจูด11 องศาเหนือ เป็นการแบ่งผลประโยชน์กัน โดยมีการกำหนดสัดส่วนแบ่งผลประโยชน์ไว้แล้ว คือส่วนที่ติดฝั่งไทยไทยได้ 90% กัมพูชาได้ 10% ตรงกลางแบ่งกัน 50:50 ส่วนที่ติดฝั่งกัมพูชา ไทยได้ 10% กัมพูชาได้ 90% (ดูรูป 1))

การกำหนดสัดส่วนแบ่งผลประโยชน์เช่นนี้ ย่อมกระทบต่อดินแดนในอธิปไตยของไทยทั้งดินแดนส่วนที่อยู่เหนือ และอยู่ใต้เส้นละติจูด 11 องศาเหนืออย่างแน่นอน ใช่หรือไม่

การแบ่งเขตแดนและแบ่งผลประโยชน์แบบในข้อตกลง MOU 2544 ไม่ได้เป็นไปตามกฎหมายทะเล ที่เส้นเขตแดนทางทะเลต้องลากเส้นกึ่งกลางจากเกาะกูดของไทย และเกาะกงของกัมพูชา (ดูรูป 2)

การแบ่งผลประโยชน์ตามรูปที่1 กัมพูชาจะสามารถอ้างสิทธิเป็นเจ้าของดินแดนเพิ่มขึ้นในภายหลังได้ ดินแดนที่เคยเป็นของไทยตามกฎหมายทะเล จะกลายเป็นดินแดนของกัมพูชา เพราะการมีผลประโยชน์แม้เพียง 10% ก็ย่อมสามารถอ้างสิทธิในดินแดนตรงจุดนั้นได้ ใช่หรือไม่

ข้ออ้างว่าต้องรีบเร่งแบ่งผลประโยชน์กันเพื่อเพิ่มความมั่นคงทางพลังงาน แท้ที่จริงแล้วเป็นความมั่นคงทางพลังงานของใครกันแน่ ?!?

ต่อให้ได้ก๊าซและน้ำมันจากพื้นที่นี้ คนไทยก็ไม่มีหวังจะได้ค่าไฟที่ถูกลง ค่าน้ำมันที่ถูกลง และค่าก๊าซหุงต้มที่ถูกลง มีแต่นักการเมืองและกลุ่มทุนพลังงานจะรวยขึ้น แต่ประเทศต้องเสี่ยงในการเสียดินแดนเพิ่มขึ้น ใช่หรือไม่

2) เว็บไซต์ ไทยพับบลิก้า ระบุว่า ที่มาของการอ้างสิทธิ์เหนือไหล่ทวีปทับซ้อนกันระหว่างไทยและกัมพูชาเกิดจากหลักกฎหมายระหว่างประเทศ 2 ฉบับคือ อนุสัญญาเจนีวา ค.ศ. 1958 และอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเลค.ศ. 1982 ที่ได้บัญญัติเขตอำนาจของรัฐชายฝั่งเหนือไหล่ทวีป โดยกำหนดให้รัฐชายฝั่งมีสิทธิอธิปไตยเหนือทรัพยากรธรรมชาติบนและใต้ไหล่ทวีป ไม่ว่าจะเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่มีชีวิตหรือไม่มีชีวิตก็ตาม สิทธิเช่นว่านั้นรัฐชายฝั่งจะใช้เองหรือให้สัมปทานแก่บุคคลใดเข้าไปสำรวจหรือแสวงหาประโยชน์ได้

กัมพูชาประกาศเขตไหล่ทวีปของตนเอง ครั้งแรกเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 1970 (พ.ศ. 2513) และอีกครั้งหนึ่งเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 1972 โดยอาศัยหลักเขตแดนทางบก
หลักที่ 73 เป็นจุดตั้งต้น จากนั้นลากเส้นตรงไปทางตะวันตกค่อนลงไปทางใต้เล็กน้อยผ่านเกาะกูดถึงประมาณกลางอ่าวไทย แล้วหักลงใต้เกือบสุดอ่าวไทย แล้วหักขึ้นไปทางตะวันออกเฉียงเหนือ โอบล้อมเกาะภูกว๊อก แล้วไปบรรจบเส้นเขตแดนกัมพูชา-เวียดนาม

ประเด็นเรื่องเกาะกูดยังมีความคลุมเครืออยู่ ในเอกสารการประกาศไหล่ทวีปปรากฏว่า มีการลากเส้นผ่านกลางเกาะกูด เป็นการแสดงเจตนาอ้างอำนาจอธิปไตยเหนือบางส่วนของเกาะกูด เจ้าหน้าที่ฝ่ายกัมพูชาเคยอ้างระหว่างการเจรจากับฝ่ายไทยเนืองๆ ว่าเกาะกูดเป็นของกัมพูชาครึ่งหนึ่ง แต่หากพิจารณาลงไปในรายละเอียดตามแผนที่แนบท้ายแล้วจะพบว่า เส้นที่กัมพูชาอ้างว่าเป็นเขตไหล่ทวีปนั้นได้เว้นเกาะกูดเอาไว้ และในแผนผังแนบท้ายบันทึกความเข้าใจปี 2544 ได้มีการเว้นเส้นที่กัมพูชาอ้างว่าเป็นเขตแดนทางทะเลในลักษณะที่เป็นตัว U เว้าอ้อมเกาะกูด ทำให้ฝ่ายไทยตีความว่า กัมพูชาไม่ได้อ้างอำนาจอธิปไตยเหนือเกาะกูด

ข้อโต้แย้งอีกประการหนึ่งของฝ่ายไทยคือ เกาะกูดนี้ถูกระบุเอาไว้สนธิสัญญาสยาม-ฝรั่งเศส ปี ค.ศ. 1907 ชัดเจนแล้วว่าอยู่ในเขตไทย เนื่องจากถ้อยคำในสนธิสัญญาดังกล่าว ซึ่งฝ่ายกัมพูชาใช้อ้างอิงในการกำหนดเขตทางทะเลระบุว่า “เขตแดนในระหว่างกรุงสยามกับอินโดจีนของฝรั่งเศสนั้น ตั้งแต่ชายฝั่งทะเลที่ตรงข้ามยอดเขาที่สูงที่สุดของเกาะกูดเป็นหลักแล้ว ตั้งแต่นี้ต่อไปทางด้านตะวันออกเฉียงเหนือถึงสันเขาพนมกระวานแล”

อย่างไรก็ตาม เจตนารมณ์ของสนธิสัญญาสยาม-ฝรั่งเศส ปี 1907 นั้นให้ใช้เกาะกูดเป็นจุดเล็งเพื่อกำหนดเส้นเขตแดนทางบก ไม่ใช่สนธิสัญญาที่กำหนดเขตแดนทางทะเลแต่อย่างใด ฝ่ายไทยใช้ประโยชน์จากข้อความนี้เพื่ออ้างอิงอำนาจอธิปไตยเหนือเกาะกูด ไม่ใช่การกำหนดเขตไหล่ทวีป

ประเทศไทยประกาศเขตไหล่ทวีปของตัวเองหลังกัมพูชาเกือบ 1 ปี คือประกาศเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 1973โดยอาศัยหลักเขตทางบกหลักที่ 73 เป็นจุดตั้งต้นเช่นกันโดยลากเส้นจากจุดที่ 1 ที่ละติจูด 11 องศา 39 ลิปดาเหนือและลองจิจูดที่ 102 องศา 55 ลิปดาตะวันออก ไปยังจุดที่สองละติจูด 9 องศา 48.5 ลิปดาเหนือ และลองจิจูดที่ 101 องศา 46.5 ลิปดาตะวันออก ถ้าพิจารณาตามภูมิประเทศแล้วจะพบว่า เส้นของไทยเริ่มจากบริเวณระหว่างเกาะกูดและเกาะกงลากเป็นเส้นตรงไปทางตะวันตกเฉียงใต้แล้วหักลงใต้ค่อนไปทางตะวันออกเล็กน้อยตามแนวเส้นเขตแดนระหว่างกัมพูชากับเวียดนามแล้วเฉียงใต้ไปบรรจบเส้นเขตแดนไทย-มาเลเซีย

นักกฎหมายไทยส่วนใหญ่มักอ้างว่าฝ่ายกัมพูชากำหนดเขตไหล่ทวีปฝ่ายเดียวโดยไม่ได้อ้างอิงหลักกฎหมายระหว่างประเทศใดๆ เลย ในขณะที่ไทยอ้างอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1982 ซึ่งแม้ว่าจะสร้างขึ้นภายหลังจากการประกาศเขตไหล่ทวีปของทั้งสองประเทศแล้วก็ตามแต่ก็อาศัยพื้นฐานของอนุสัญญาเจนีวาปี ค.ศ. 1958 (ซึ่งไทยเป็นภาคีอยู่ก่อนและยังคงมีผลบังคับใช้อยู่)

แต่หากพิจารณาจากข้อเท็จจริงทางภูมิศาสตร์นั้นอ่าวไทยมีความกว้างมากที่สุดเพียง 206 ไมล์ทะเล อนุสัญญาสหประชาชาติอนุญาตให้ประเทศชายฝั่งอ้างเขตเศรษฐกิจจำเพาะและไหล่ทวีปไปได้ถึง 200 ไมล์ทะเลจากเส้นฐาน ดังนั้นไม่ว่าประเทศชายฝั่งอ่าวไทยทั้งหลายจะประกาศตามหลักการใดหรือไม่มีหลักการใดเลย ก็จะเกิดพื้นที่ที่อ้างสิทธิทับซ้อนกันอยู่นั่นเอง ป่วยการที่จะมานั่งเถียงกันว่า เส้นของฝ่ายไหนถูกต้องตามหลักกฎหมายระหว่างประเทศมากกว่ากัน เพราะอย่างไรเสียอีกฝ่ายก็ไม่ยอมรับการกำหนดของอีกฝ่ายอยู่แล้ว

เมื่อเป็นเช่นนั้นจึงเกิดเป็นพื้นที่ซึ่งอ้างสิทธิทับซ้อนกันในอ่าวไทยคิดเป็นพื้นที่กว่า 26,000 ตารางกิโลเมตร ที่เชื่อกันโดยทั่วไปว่าใต้พื้นพิภพใต้บาดาลนั้นจะมีก๊าซธรรมชาติอยู่ในปริมาณ 11 ล้านล้านคิวบิกฟุตหรือคิดเป็นมูลค่าในราคาปัจจุบัน 3.5 ล้านล้านบาท และน้ำมันอีก 500 ล้านบาร์เรล คิดเป็นมูลค่า 1.5 ล้านล้านบาท รอคอยให้ขุดขึ้นมาใช้กันอยู่ถ้ามัวแต่ทะเลาะเบาะแว้งโต้แย้งสิทธิกันไปมาอยู่อย่างนั้นคงไม่มีโอกาสจะได้ใช้ประโยชน์จากทรัพยากรล้ำค่า

อาศัยตามภูมิปัญญาของมนุษยชาติในยุคปัจจุบันแล้ว ประเทศชายฝั่งที่พิพาทกันในเรื่องเขตแดนทางทะเลหรือไหล่ทวีป สามารถเลือกวิถีทางที่ระงับข้อพิพาทได้ 2 ทางใหญ่ๆ คือ

ทางแรก ใช้กลไกตามกฎหมายและระบบยุติธรรมระหว่างประเทศ เช่น ศาลกฎหมายทะเลระหว่างประเทศ ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ศาลอนุญาโตตุลาการ ตามภาคผนวกที่ 7 ของอนุสัญญาสหประชาชาติปี 1982 และ อนุญาโตตุลาการพิเศษตามภาคผนวก 8 ของอนุสัญญาสหประชาชาติฉบับเดียวกัน วิธีการนี้เลือกใช้กันหลายประเทศเช่นกัน แต่อุทาหรณ์และประสบการณ์จากคดีปราสาทเขาพระวิหารนั้นบอกให้รู้ว่า ต่อให้มั่นใจในพยานหลักฐานและหลักกฎหมายเพียงใดก็ไม่แน่เสมอไปว่าจะเป็นฝ่ายชนะคดี และฝ่ายที่แพ้คดีมักจะไม่ยอมรับคำพิพากษาของศาลหรืออนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศ ซึ่งอาจจะนำไปสู่ความขัดแย้งครั้งใหม่ เกิดการตีความคำพิพากษานั้น และขัดแย้งกันอย่างไม่มีที่สิ้นสุดจนถึงปัจจุบันยังไม่สามารถจัดการพื้นที่พิพาทในบริเวณปราสาทเขาพระวิหารนั้นได้เลย

ทางที่สอง ซึ่งทั้งไทยและกัมพูชาเลือกใช้อยู่ในปัจจุบัน คือ เจรจากันจนกว่าจะได้ข้อสรุปที่สามารถยอมรับกันได้ทั้งสองฝ่าย แนวทางนี้อาจจะใช้เวลานานชั่วลูกชั่วหลาน ระหว่างนั้นอาจจะมีข้อขัดแย้งกันไม่น้อยแต่ถ้าสามารถบรรลุข้อสรุปที่พอใจกันทุกฝ่ายแล้ว จะทำให้มีโอกาสยุติปัญหาข้อพิพาทได้โดยสันติ อีกทั้งมิตรภาพและความรอมชอมอันนั้นนั่นเอง ที่จะเปิดโอกาสให้ทั้งสองฝ่าย เช่น กรณีไทยและมาเลเซีย สามารถขุดค้นทรัพยากรในพื้นที่พิพาทขึ้นมาใช้ประโยชน์ได้ก่อนทันกับความต้องการ

3) นายประพฤติ ฉัตรประภาชัย หรือ อาจารย์อุ๋ยนักวิชาการด้านกฎหมายและอดีตผู้สมัคร สส. กรุงเทพมหานครเขตบางกะปิ พรรคประชาธิปัตย์ ได้โพสต์เฟซบุ๊กระบุว่ากรณีพื้นที่พิพาททางทะเลระหว่างไทย-กัมพูชา บริเวณเกาะกูด เป็นของไทยนับแต่ที่ในหลวงรัชกาลที่ 5 กับฝรั่งเศสทำสนธิสัญญากันเมื่อปี พ.ศ. 2450 หรือ ร.ศ.125
ซึ่งฝรั่งเศสตกลงคืนจันทบุรี ตราด และเกาะกูดให้แก่สยาม แลกกับดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง ได้แก่ จังหวัดเสียมราฐพระตะบอง ศรีโสภณ ซึ่งสนธิสัญญาดังกล่าวมีความสมบูรณ์ในตัวเองตามหลักกฎหมายระหว่างประเทศ

และในปี พ.ศ. 2516 รัฐบาลไทยสมัยจอมพลถนอม กิตติขจร ก็ลากเส้นเขตแดนไทยโดยวัดจากจุดกึ่งกลางระหว่างเกาะกูดกับเกาะกง โดยประกาศพิกัดภูมิศาสตร์ของไหล่ทวีปในอ่าวไทยทั้งสิ้น 18 จุด ลากเส้นผ่านอ่าวไทยจากบริเวณชายแดนไทย-กัมพูชา ที่จังหวัดตราด ไปจนถึงชายแดนไทย-มาเลเซีย ที่จังหวัดนราธิวาส ภายใต้อนุสัญญาว่าด้วยไหล่ทวีป ณ กรุงเจวีนา ค.ศ. 1958

ส่วนเส้นเขตแดนที่กัมพูชากำหนดเองในปีพ.ศ. 2515 ซึ่งลากผ่ากลางเกาะกูดนั้น เป็นการขีดเส้นโดยไม่มีหลักกฎหมายระหว่างประเทศรองรับ กัมพูชาจึงไม่มีสิทธิใดๆ ในพื้นที่ และการลากเส้นตามอำเภอใจโดยไม่มีกฎหมายรองรับเช่นนี้จึงถือเป็นการละเมิดอธิปไตยของไทยอย่างชัดแจ้ง

ส่วน MOU 44 ที่รัฐบาลทั้งสองฝ่ายไปตกลงแบ่งพื้นที่กันเองก็ขัดรัฐธรรมนูญ เพราะไม่มีการรับรองโดยรัฐสภา ทั้งที่ถือเป็นหนังสือสัญญาที่มีผลเปลี่ยนแปลงเขตอำนาจ
ของรัฐ ซึ่งต้องได้รับความเห็นชอบจากสภา จึงตกเป็นโมฆะ ไม่จำต้องนำมาพิจารณาบนโต๊ะเจรจาอีก

เมื่อยึดตามหลักการข้างต้นแล้ว จึงมิพักต้องพิจารณาว่าพื้นที่ดังกล่าวเป็น “พื้นที่ทับซ้อน” อีกต่อไป แต่ถือเป็นพื้นที่ที่รัฐไทยมีอธิปไตยโดยสมบูรณ์ นับแต่ในหลวง
รัชกาลที่ 5 ทรงทำสนธิสัญญากับฝรั่งเศส เมื่อ พ.ศ. 2450ประเทศไทยจึงมีสิทธิโดยสมบูรณ์ในการส่งกองกำลังเข้ายึดตรึงพื้นที่เกาะกูด และพื้นที่ทางทะเลที่เกี่ยวเนื่อง โดยไม่ขัดต่อกฎหมายระหว่างประเทศ เพราะถือเป็นพื้นที่ของประเทศไทยเอง หาใช่เป็นการรุกรานประเทศอื่นไม่ และหลังจากประเทศไทยส่งกองกำลังเข้าตรึงพื้นที่แล้ว หากกัมพูชาจะขอเปิดการเจรจา ก็สามารถร้องขอมาได้ ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับฝ่ายไทยว่าจะยอมเจรจาหรือไม่ หรือหากคิดว่าฝ่ายไทยสามารถบริหารแหล่งพลังงานแต่ฝ่ายเดียวได้ ก็ทำไปเลย เพราะเป็นพื้นที่ของไทย

“ผมเชื่อว่าหากมีการเจรจาก็จะต้องดำเนินไปโดยที่ประเทศไทยถือไพ่เหนือกว่าทุกประตู เพราะประเทศไทยเหนือกว่ากัมพูชาในทุกด้าน ทั้งด้านกำลังทหารและด้านเศรษฐกิจ รวมทั้งอำนาจต่อรองของประเทศไทยบนเวทีโลกและความสำคัญของประเทศไทยที่มีต่อประเทศมหาอำนาจก็มากกว่ากัมพูชาไม่รู้กี่เท่า ซึ่งผมมั่นใจว่าหากถึงเวลาที่ต้องเลือก สุดท้ายแล้วประเทศมหาอำนาจจะเลือกข้างประเทศไทย”

สุดท้ายนี้ขอฝากไปยังผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้องทั้งหลาย ให้ทำหน้าที่รักษาอธิปไตยของประเทศอย่างเต็มที่ มิเช่นนั้นท่านจะตกเป็นคนขายชาติตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 119 ซึ่งมีโทษถึงประหารชีวิต ด้วยความปรารถนาดี

สรุป : ต้องติดตามเรื่องนี้ และถามจุดยืนจากนายกรัฐมนตรีให้ชัดเจน เพราะดูเหมือนว่า อีกไม่นานหลังจากนี้ นายกรัฐมนตรีไทย มีความตั้งใจจะไปเยือนกัมพูชา ซึ่งเราไม่อาจรู้ได้ว่า เธอจะไปเจรจาเรื่องใด (แล้วแต่บทที่เขียนไว้ในไอแพดของเธอ) !!

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

  •  
  • Breaking News
  • ข่าวยอดนิยม
  • คอลัมน์ฮิต
12:32 น. สพฐ.กำชับรับเปิดเทอม 2568 ห้ามมอบหมายครูอยู่เวร–การลงโทษนักเรียนให้ยึดระเบียบ
12:31 น. 'เลขากกต.'มอบอุปกรณ์เลือกตั้งซ่อม ส.ก.เขตหนองจอก
12:24 น. แยกขัง ‘เปรมชัย-พิมล’ ยังไม่ส่งรักษานอกเรือนจำ 14 ผู้ต้องหาตึกสตง.นอนคุกคืนแรกไม่เครียด
12:23 น. เตรียมรีเมกหลานม่า! ปิดดีลขายลิขสิทธิ์ให้สตูดิโอระดับโลก ต่างชาติชมหนังเรื่องนี้เหมือนเพชร
12:02 น. 'คุณหญิงสุดารัตน์'ประกาศยืนหยัดขอเป็นฝ่ายค้าน! มุ่งสร้างการเมืองสุจริต
ดูทั้งหมด
สั่งย้าย! รอง ผบ.พัน กองบิน 23 พ้นตำแหน่ง หลังใช้ทหารวิ่งไรเดอร์เพื่อประโยชน์ส่วนตัว
นายกสมาคมทนาย ชี้'ทักษิณ'รักษาตัวชั้น 14 เจ้าตัวถูกจำคุกตามหมายศาลเเล้ว
เช็คผลเลือกตั้งเทศบาลบุรีรัมย์ ‘บิ๊กเนม’พาเหรดยึดเก้าอี้นายกเทศมนตรี
หนาวทั้งบาง! ‘ดิเรกฤทธิ์’ชี้หากราชทัณฑ์ไร้หลักฐานปมชั้น 14 คาดคนผิดรับโทษเพียบ
ล้มช้าง! เปิดผลเลือกตั้งเทศบาล‘อุดรธานี’แชมป์เก่าร่วงระนาว จิตอาสาซิวชัยที่‘บ้านดุง’
ดูทั้งหมด
บุคคลแนวหน้า : 17 พฤษภาคม 2568
จีนเตือนอย่าบิดเบือนประวัติศาสตร์สงครามโลกครั้งที่ 2 และธรรมนูญ UN
ไทยไม่รอด เพราะนายกรัฐมนตรีไร้ปัญญา
ตึกถล่มผ่านไป 51 วัน จับคนผิดไม่ได้สักคน
อีโก้ทะลุเมฆ (2)
ดูทั้งหมด

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

แยกขัง ‘เปรมชัย-พิมล’ ยังไม่ส่งรักษานอกเรือนจำ 14 ผู้ต้องหาตึกสตง.นอนคุกคืนแรกไม่เครียด

เตรียมรีเมกหลานม่า! ปิดดีลขายลิขสิทธิ์ให้สตูดิโอระดับโลก ต่างชาติชมหนังเรื่องนี้เหมือนเพชร

ตำรวจพัทลุงบุกทลายแหล่งมั่วสุมยาเสพติด รวบเจ้าของบ้านพร้อมของกลางอื้อ

โบกมือลาอีกราย! ร้านอาหารเกาหลีเจ้าดังประกาศปิดกิจการ เปิดเหตุผลที่ไปต่อไม่ไหว

ตชด.ซุ่มจับยาบ้า 3 แสนเม็ดริมโขงศรีสงครามพบสารอันตรายผสมหวังทะลักเข้าตอนใน

เปิดหน้าผู้กองสายลับ! ปลอมตัวเป็นเด็กวัด 8 เดือน ล้วงลึกคดี'ทิดแย้ม' ก่อนเป็นคนอ่านหมายศาลค้นกุฏิ

  • Breaking News
  • สพฐ.กำชับรับเปิดเทอม 2568 ห้ามมอบหมายครูอยู่เวร–การลงโทษนักเรียนให้ยึดระเบียบ สพฐ.กำชับรับเปิดเทอม 2568 ห้ามมอบหมายครูอยู่เวร–การลงโทษนักเรียนให้ยึดระเบียบ
  • \'เลขากกต.\'มอบอุปกรณ์เลือกตั้งซ่อม ส.ก.เขตหนองจอก 'เลขากกต.'มอบอุปกรณ์เลือกตั้งซ่อม ส.ก.เขตหนองจอก
  • แยกขัง ‘เปรมชัย-พิมล’ ยังไม่ส่งรักษานอกเรือนจำ 14 ผู้ต้องหาตึกสตง.นอนคุกคืนแรกไม่เครียด แยกขัง ‘เปรมชัย-พิมล’ ยังไม่ส่งรักษานอกเรือนจำ 14 ผู้ต้องหาตึกสตง.นอนคุกคืนแรกไม่เครียด
  • เตรียมรีเมกหลานม่า! ปิดดีลขายลิขสิทธิ์ให้สตูดิโอระดับโลก ต่างชาติชมหนังเรื่องนี้เหมือนเพชร เตรียมรีเมกหลานม่า! ปิดดีลขายลิขสิทธิ์ให้สตูดิโอระดับโลก ต่างชาติชมหนังเรื่องนี้เหมือนเพชร
  • \'คุณหญิงสุดารัตน์\'ประกาศยืนหยัดขอเป็นฝ่ายค้าน! มุ่งสร้างการเมืองสุจริต 'คุณหญิงสุดารัตน์'ประกาศยืนหยัดขอเป็นฝ่ายค้าน! มุ่งสร้างการเมืองสุจริต
ดูทั้งหมด

คอลัมน์ที่เกี่ยวข้อง

มีเรื่องให้ต้อง ‘เอ๊ะ’

มีเรื่องให้ต้อง ‘เอ๊ะ’

14 พ.ค. 2568

สังคมที่ ‘ชิงชัง’ ทักษิณ ชินวัตร? แต่ละคนจะช่วยชาติได้อย่างไร

สังคมที่ ‘ชิงชัง’ ทักษิณ ชินวัตร? แต่ละคนจะช่วยชาติได้อย่างไร

11 พ.ค. 2568

‘พีระพันธุ์’ จะรอดหรือจะร่วง

‘พีระพันธุ์’ จะรอดหรือจะร่วง

7 พ.ค. 2568

‘ทักษิณ’ จะต้อง ‘ติดคุก’ หรือไม่?

‘ทักษิณ’ จะต้อง ‘ติดคุก’ หรือไม่?

4 พ.ค. 2568

ไอ้นี่มัน ‘เหวง’ ไม่หาย

ไอ้นี่มัน ‘เหวง’ ไม่หาย

30 เม.ย. 2568

‘กฎหมาย’ หรือ ‘ชะตา’ ที่ไล่ล่า ‘แพทองธาร’

‘กฎหมาย’ หรือ ‘ชะตา’ ที่ไล่ล่า ‘แพทองธาร’

27 เม.ย. 2568

เรื่องของ ‘ทราย สก๊อต’

เรื่องของ ‘ทราย สก๊อต’

23 เม.ย. 2568

‘ไชยชนก ชิดชอบ’ ปิดจ๊อบได้สวย

‘ไชยชนก ชิดชอบ’ ปิดจ๊อบได้สวย

20 เม.ย. 2568

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นางสาวอัญชะลี ไพรีรัก
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved