วันเสาร์ ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / คอลัมน์ / คอลัมน์การเมือง / ปรีชา'ทัศน์
ปรีชา'ทัศน์

ปรีชา'ทัศน์

วันศุกร์ ที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2568, 02.00 น.
ว่าด้วยกฎหมายดีดี กับ Fake Law

ดูทั้งหมด

  •  

กฎหมายเปรียบดั่งกระจกสะท้อนภาพและระดับความศิวิไลซ์ของแต่ละสังคม

เช่น ประเทศนิวซีแลนด์มีกฎหมายฉบับหนึ่งที่นอกจากจะมีความก้าวหน้าอย่างยิ่งแล้ว ยังมีความลึกล้ำและซับซ้อนอีกด้วย กฎหมายฉบับดังกล่าว ชื่อว่า
Te Awa Tupua Act 2017 อันเป็นกฎหมายรับรองสิทธิของแม่น้ำว่ามีสถานะเป็นบุคคลและมีจิตวิญญาณ Te Awa Tupua ออกเสียงว่า “เต อะวา ทูพูอะ” เป็นภาษาเมารี (Maori) มีความหมายว่า“ความศักดิ์สิทธิ์ของแม่น้ำ”


ชาวเมารีเป็นชนพื้นเมืองดั้งเดิมของนิวซีแลนด์ กฎหมายฉบับนี้ชาวเมารีเผ่าวังกานูอิอิวิ (Whanganuilwi) ซึ่งเป็นเผ่าที่อาศัยอยู่ตามริมฝั่งแม่น้ำวังกานูอิ บนเกาะเหนือของนิวซีแลนด์ ได้ต่อสู้เรียกร้องมานานตั้งแต่ปี 1880 จนในที่สุด เดือนมีนาคม 2017 รัฐสภานิวซีแลนด์ก็ได้ออกกฎหมายฉบับดังกล่าว เป็นการยอมรับความสัมพันธ์พิเศษระหว่างแม่น้ำวังกานูอิกับชนเผ่านี้ กล่าวคือเป็นการรับรองสถานภาพการเป็นบุคคลทางกฎหมายของแม่น้ำวังกานูอิที่มีสิทธิและความรับผิดชอบเช่นเดียวกับบุคคลทั่วไป

ความก้าวหน้าและลึกล้ำของกฎหมายฉบับนี้ คือการยอมรับความคิด ความเชื่อของคนสังคมนิวซีแลนด์ที่มีต่อคนพื้นเมืองและสิทธิของพวกเขา โลกทัศน์ของชาวเมารีที่มีต่อแม่น้ำ ทรัพยากรธรรมชาติและสภาพแวดล้อมนั้นมีความซับซ้อนทั้งด้านกายภาพและจิตวิญญาณ ซึ่งถ้าจะว่าไปแล้ว ไม่น่าจะเฉพาะชาวเมารีเท่านั้น คนจำนวนหนึ่งในทุกสังคมก็เชื่อว่าธรรมชาติมีความศักดิ์สิทธิ์ ที่มนุษย์จะต้องยอมรับและแสดงความเคารพ และมีหน้าที่ต้องปกปักรักษา ดูแลให้มีความยั่งยืนสืบต่อไปถึงคนรุ่นต่อไป
เพียงแต่สังคมนั้นอาจยังไม่มีกฎหมายลักษณะเช่นนี้

นอกจากแม่น้ำวังกานูอิแล้ว ที่ประเทศอินเดีย ศาลสูงรัฐอุตตราขัณฑ์ (Uttarakhand) ก็ได้ประกาศให้แม่น้ำคงคาและยมนา มีสถานภาพเป็นบุคคลและมีสิทธิตามกฎหมายเช่นเดียวกัน ซึ่งในศาสนาฮินดูเชื่อกันว่าเป็นแม่น้ำศักดิ์สิทธิ์

ยังมีอีกหลายประเทศที่มีกฎหมายพัฒนาก้าวหน้าไปไกลจนล้ำหน้าประเทศอื่น แม้แต่ประเทศไทยก็มีกฎหมายเนื้อหาดีดีและมีความก้าวหน้าไม่แพ้ชาติอื่น
เช่น กฎหมายสมรสเท่าเทียม ที่พึ่งมีผลบังคับใช้ไปเมื่อวันพุธที่ ๒๒ ที่ผ่านมานี้เอง

แต่อย่างไรก็ตาม ถ้าพูดกันตามสำนวนฝรั่งที่ว่า “skeleton in the closet” (โครงกระดูกในห้องเก็บของ)อันหมายถึง เรื่องปกปิดของคนในตระกูลที่ก่อเรื่องไม่ดีงามไว้ ประเทศไทยก็ยังมีกฎหมายล้าหลัง ตกยุค หรือได้มาด้วยกระบวนการและวิธีการที่ไม่ถูกต้องอีกเป็นจำนวนมาก เช่น ประกาศหรือคำสั่งของหัวหน้าคณะปฏิวัติดังที่เคยเขียนไว้ในบทความตอนก่อนๆ นอกจากนั้นก็ยังมีกฎหมายอีกประเภทที่เรียกว่า Fake Law อันมีความหมายได้หลายนัย ขึ้นอยู่ว่าจะใช้ในบริบทอะไร

โดยทั่วไปแล้ว Fake Law เป็นคำที่ใช้เพื่ออธิบายการบิดเบือน การตีความ แนวคิด หลักการ เจตนารมณ์ของกฎหมายและการใช้กฎหมายในทางที่ผิดและบิดเบือนเพื่อวัตถุประสงค์อย่างใดอย่างหนึ่ง

การใช้กฎหมายอย่างฉ้อฉล หรือ Fake Law เพื่ออำพราง บิดเบือนหรือหลอกลวงที่อาจจะนำมาปรับใช้กับกฎหมายของบ้านเรานั้นมีอยู่หลายฉบับตั้งแต่รัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ พระราชกฤษฎีกา รวมทั้งคำพิพากษาของศาล แต่อย่างไรก็ดี กฎหมายที่เป็น Fake Law นั้นไม่อยู่ในข่ายที่จะเป็น “โมฆะ” เสมอไป อาจจะตกเป็น “โมฆะ” หรือไม่ก็ได้ เช่นเดียวกับคำพิพากษาก็อยู่ในนัยเดียวกัน

Fake Law ยังหมายถึงการเผยแพร่ข้อเท็จจริงและความเข้าใจผิดเกี่ยวกับกฎหมายเพื่อโน้มน้าวความคิดเห็นสาธารณะ เพื่อแสวงหาผลประโยชน์ทางสังคมหรือทางการเมือง ดังนั้นการทำงานของ Fake Law จึงมักจะต้องใช้ Fake News ควบคู่กันไปด้วย

ประวัติศาสตร์การเมืองไทย ตั้งแต่เปลี่ยนแปลงการปกครอง ๒๔๗๕ จนถึงปัจจุบัน ได้มีการใช้ Fake Law และ Fake News เพื่อผลประโยชน์ทางการเมือง ทำลายล้างศัตรูหรือคู่แข่งทางการเมือง หรือเพื่อวาระซ่อนเร้นอื่นๆ ในหลายกรณี ต่างกรรมต่างวาระกันเรื่อยมา

การใช้กฎหมายอย่างฉ้อฉลที่เข้าข่าย Fake Law เกิดขึ้นในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขของไทยเป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๗๖ เมื่อพระยามโนปกรณ์นิติธาดา นายกรัฐมนตรี ได้กราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ขอให้ทรงประกาศ พระราชกฤษฎีกาให้ปิดประชุมสภาผู้แทนราษฎร และตั้งคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ และให้รอการใช้บทบัญญัติต่างๆ ในรัฐธรรมนูญ ที่ขัดกับพระราชกฤษฎีกานี้ โดยวัตถุประสงค์ที่แท้จริงของการประกาศพระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ก็เพื่อยุติการเคลื่อนไหวทางการเมืองของกลุ่มหลวงประดิษฐ์มนูธรรม (นายปรีดี พนมยงค์)

การปิดสภาและงดใช้รัฐธรรมนูญบางมาตรา นั้นเป็นถือเป็นการรัฐประหารในรูปแบบหนึ่ง เพราะอำนาจทั้งหมดด้านการบริหารและนิติบัญญัติถูกโอนมาไว้ที่ตัวนายกรัฐมนตรี คือ พระยามโนปรณ์ฯ โดยอาศัยอำนาจของพระมหากษัตริย์ในรูปของพระราชกฤษฎีกา จนหนังสือพิมพ์นำไปเขียนล้อเลียนว่า “ระบอบมโนเครซี่”

ในแถลงการณ์ของพระยามโนปกรณ์ฯ อ้างเหตุผลในการยุบสภาว่ามีความขัดแย้งในสภาผู้แทนราษฎรเรื่องเค้าโครงเศรษฐกิจ ซึ่งพระยามโนปกรณ์ฯ ตระหนักดีว่าถ้าเค้าโครงเศรษฐกิจถูกเสนอต่อสภาฯ แล้ว เสียงส่วนใหญ่ในสภาฯ จะเห็นชอบด้วย เพราะสมาชิกสภาฯส่วนมากสนับสนุนนายปรีดี ดังนั้นจึงตัดสินใจยุบสภาผู้แทนราษฎรเสียก่อนเพื่อไม่ให้มีการพิจารณาเรื่องเค้าโครงการเศรษฐกิจของนายปรีดี ซึ่งพระยามโนปกรณ์ฯ เห็นว่าเป็นคอมมิวนิสต์

ดังนั้น ในวันรุ่งขึ้น ๒ เมษายน ๒๔๗๖ พระยามโนปกรณ์ฯ จึงเร่งรัดการประกาศ พระราชบัญญัติว่าด้วยคอมมิวนิสต์ พ.ศ.๒๔๗๖ โดยมีสาระสำคัญว่า “การก่อให้เกิดขึ้น หรือแม้แต่เพียงพยายามก่อให้เกิดขึ้นซึ่งคอมมิวนิสต์ จักเป็นเหตุนำมาซึ่งความหายนะแก่ประชาราษฎร และเป็นภัยต่อความมั่นคงของประเทศ จึงได้กำหนดโทษขึ้นและให้ผู้สนับสนุนส่งเสริมและสมาชิกของสมาคมดังกล่าว มีความผิดด้วย”

พระยามโนปกรณ์ฯ อาศัย “พระราชกฤษฎีกาให้ปิดประชุมสภาผู้แทนราษฎร และตั้งคณะรัฐมนตรีชุดใหม่”ซึ่งกำหนดว่า “พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะได้ทรงใช้อำนาจนิติบัญญัติ ตามคำแนะนำและยินยอมของคณะรัฐมนตรี” ลงนามสนองพระบรมราชโองการประกาศใช้พระราชบัญญัติคอมมิวนิสต์ พ.ศ.๒๔๗๖ ขึ้นเป็นฉบับแรก ตามคำแนะนำของคณะรัฐมนตรี โดยไม่ผ่านการพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งขัดกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พ.ศ. ๒๔๗๕ มาตรา ๓๖ ที่บัญญัติว่า “บรรดาพระราชบัญญัติทั้งหลาย จะตราขึ้นเป็นกฎหมายได้ แต่โดยคำแนะนำและยินยอมของสภาผู้แทนราษฎร”

การใช้กฎหมายอย่างฉ้อฉลเช่นนี้ ตั้งแต่ การประกาศพระราชกฤษฎีกาให้ปิดประชุมสภาผู้แทนราษฎร และตั้งคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ ในวันที่ ๑ เมษายน ๒๔๗๖ และการประกาศ พระราชบัญญัติว่าด้วยคอมมิวนิสต์ พ.ศ.๒๔๗๖ ในวันที่ ๒ เมษายน ๒๔๗๖ นั้นก็เพื่อมุ่งทำลายและปราบปรามนายปรีดี พนมยงค์และผู้สนับสนุน

ภายหลังการประกาศกฎหมายฉ้อฉล ๒ ฉบับนี้คณะราษฎรได้ประชุมเป็นการภายใน และเห็นควรว่านายปรีดีควรไปอยู่ต่างประเทศชั่วคราว ซึ่งนายปรีดีก็พร้อมปฏิบัติตามแต่มีเงื่อนไขว่า มิใช่ไปเพราะถูกเนรเทศด้วยเรื่องคอมมิวนิสต์ แต่ไปเพื่อศึกษาและดูงานในต่างประเทศ ต่อมา วันที่ ๑๒ เมษายน ๒๔๗๖ นายปรีดี พนมยงค์ ได้เดินทางออกนอกประเทศไปฝรั่งเศส โดยรัฐบาลทำสัญญาจะจ่ายเงินให้ปีละ ๑,๐๐๐ ปอนด์จโดยรัฐบาลออกแถลงการณ์ว่า นายปรีดี พยมยงค์ เดินทางไปศึกษาต่อในต่างประเทศ

อย่างไรก็ตาม การใช้กฎหมายอย่างฉ้อฉล ด้วยการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาให้รอการใช้รัฐธรรมนูญบางมาตราเป็นการชั่วคราวนั้น ได้นำไปสู่การรัฐประหารในวันที่ ๒๐ มิถุนายน ๒๔๗๖ ซึ่งเป็นการทำรัฐประหารครั้งแรกของประเทศไทย ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง เมื่อ ๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕

ศาสตราจารย์พิเศษ

ดร.ปรีชา สุวรรณทัต

หมายเหตุ : เรื่อง Te Awa Tupua Act 2017 และความสัมพันธ์ระหว่างชาวเมารีเผ่าวังกานูอิกับแม่น้ำสายนี้ อ้างอิงและดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้จาก นิติ ภวัครพันธุ์ “แม่น้ำคือบุคคล : การคืนอำนาจให้ชนพื้นเมือง”, Way Magazine, 2 มีนาคม 2021.

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

  •  
  • Breaking News
  • ข่าวยอดนิยม
  • คอลัมน์ฮิต
16:24 น. 'กัน จอมพลัง'ไม่ทน! เห็นคลิปหลานชายทำร้ายตาวัย 80 บุกมาสอนหลานถึงบ้าน
16:22 น. 'ทิดประดิษฐ์'อดีตเจ้าอาวาสวัดพระพุทธฉาย โชว์ส่งมอบเอกสารวัด ปัดข่าวหอบเงินหนี
16:19 น. 'สะพานเข้าชุมชนถล่ม' ชาวบ้านกว่า30หลังคาเรือน-ถูกตัดขาดจากโลกภายนอก
16:14 น. ‘ขอนแก่น’ยกขบวนศิลปินดัง-สินค้าเด็ด‘ของดีเมืองแคน’บุกเวสต์เกต ครบจบถึง 14 ก.ค.นี้
16:05 น. ติดเชื้อ'ไวรัสซิกา' 7 ราย ใน 4 จังหวัดอีสาน เตือนหญิงตั้งครรภ์เสี่ยงสูง ลูกอาจพิการได้
ดูทั้งหมด
โปรดเกล้าฯ 'พล.อ.' พ้นจากการปฏิบัติหน้าที่ นายทหารราชองครักษ์พิเศษ
พอที'เพื่อไทย'!! อดีตเด็ก พท.หอบผ้าซบพรรคลุงป้อมพรึ่บ อีสานมาเพียบ! (คลิป)
'หมอวรงค์'บอกหนาวเลย! หลังฟังการไต่สวนคดี'ทักษิณ'ชั้น 14 รพ.ตร. ครั้งที่ 3
ศาลรัฐธรรมนูญ มีมติ 8 ต่อ 1 หญิงหย่าสามีต้องกลับไปใช้นามสกุลเดิม
'ดุ๊ก ภาณุเดช'วอนหยุดบุกรุกบ้านส่วนตัวที่เขาใหญ่ สุดทนคนแห่ถ่ายรูป-เดินชิลเหมือนอยู่คาเฟ่
ดูทั้งหมด
จีนยกระดับปราบ Cyber Scam ฉ้อโกงออนไลน์ให้เป็นวาระแห่งชาติ
ฝนตก-น้ำท่วม-ก่อสร้าง พึงระมัดระวังไฟดูด-ไฟรั่ว
ฮุนเซน-ทักษิณ (แพทองธาร) มิตรหรือศัตรู
บุคคลแนวหน้า วันที่ 12 ก.ค. 2568
ทักษิณยังคงคุยโวเหมือนเดิม
ดูทั้งหมด

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

'กัน จอมพลัง'ไม่ทน! เห็นคลิปหลานชายทำร้ายตาวัย 80 บุกมาสอนหลานถึงบ้าน

ติดเชื้อ'ไวรัสซิกา' 7 ราย ใน 4 จังหวัดอีสาน เตือนหญิงตั้งครรภ์เสี่ยงสูง ลูกอาจพิการได้

อดีตผู้พิพากษาเลคเชอร์ 6 ข้อ ‘ทักษิณ’ทำอย่างน้อย 4 ครั้ง เสี่ยงครอบงำ-‘พท.’อาจถูกยุบพรรค

‘วิสุทธิ์’ย้อนเกล็ด‘ภท’ สส.โหวตสวนเรียก‘งูเห่า’ ตอนย้ายคอกเข้าพรรคบอก‘อุดมการณ์’

เกษตรกรกำแพงเพชร บุกพรรคประชาชน หลัง'ไอซ์'ปูดงบ 'ไผ่' หวั่นเดือดร้อนถูกตัดงบ

‘ไผ่’ซัด‘รักชนก’เป็นเหตุ‘ม็อบชาวกำแพงเพชร’บุกศูนย์ ปชน. โวยพาดพิงงบพัฒนา

  • Breaking News
  • \'กัน จอมพลัง\'ไม่ทน! เห็นคลิปหลานชายทำร้ายตาวัย 80 บุกมาสอนหลานถึงบ้าน 'กัน จอมพลัง'ไม่ทน! เห็นคลิปหลานชายทำร้ายตาวัย 80 บุกมาสอนหลานถึงบ้าน
  • \'ทิดประดิษฐ์\'อดีตเจ้าอาวาสวัดพระพุทธฉาย โชว์ส่งมอบเอกสารวัด ปัดข่าวหอบเงินหนี 'ทิดประดิษฐ์'อดีตเจ้าอาวาสวัดพระพุทธฉาย โชว์ส่งมอบเอกสารวัด ปัดข่าวหอบเงินหนี
  • \'สะพานเข้าชุมชนถล่ม\' ชาวบ้านกว่า30หลังคาเรือน-ถูกตัดขาดจากโลกภายนอก 'สะพานเข้าชุมชนถล่ม' ชาวบ้านกว่า30หลังคาเรือน-ถูกตัดขาดจากโลกภายนอก
  • ‘ขอนแก่น’ยกขบวนศิลปินดัง-สินค้าเด็ด‘ของดีเมืองแคน’บุกเวสต์เกต ครบจบถึง 14 ก.ค.นี้ ‘ขอนแก่น’ยกขบวนศิลปินดัง-สินค้าเด็ด‘ของดีเมืองแคน’บุกเวสต์เกต ครบจบถึง 14 ก.ค.นี้
  • ติดเชื้อ\'ไวรัสซิกา\' 7 ราย ใน 4 จังหวัดอีสาน เตือนหญิงตั้งครรภ์เสี่ยงสูง ลูกอาจพิการได้ ติดเชื้อ'ไวรัสซิกา' 7 ราย ใน 4 จังหวัดอีสาน เตือนหญิงตั้งครรภ์เสี่ยงสูง ลูกอาจพิการได้
ดูทั้งหมด

คอลัมน์ที่เกี่ยวข้อง

กฎหมายในฐานะเครื่องมือจริยธรรม

กฎหมายในฐานะเครื่องมือจริยธรรม

11 ก.ค. 2568

วันชาติอเมริกาในบางแง่มุม

วันชาติอเมริกาในบางแง่มุม

4 ก.ค. 2568

กฎหมายงบประมาณรายจ่ายอาจตกเป็นโมฆะ  กรณีศึกษาการแปรญัตติงบประมาณปี ๒๕๖๕

กฎหมายงบประมาณรายจ่ายอาจตกเป็นโมฆะ กรณีศึกษาการแปรญัตติงบประมาณปี ๒๕๖๕

27 มิ.ย. 2568

ความไม่ชัดเจนในมาตรา ๑๔๔ ของรัฐธรรมนูญ ๒๕๖๐  และกรณีศึกษาการกระทำฝ่าฝืนในมาตรานี้

ความไม่ชัดเจนในมาตรา ๑๔๔ ของรัฐธรรมนูญ ๒๕๖๐ และกรณีศึกษาการกระทำฝ่าฝืนในมาตรานี้

20 มิ.ย. 2568

รัฐบาลกลางกับการอุดมศึกษาสหรัฐ

รัฐบาลกลางกับการอุดมศึกษาสหรัฐ

13 มิ.ย. 2568

สแตนลีย์ ฟิชเชอร์ กับเมืองไทย

สแตนลีย์ ฟิชเชอร์ กับเมืองไทย

6 มิ.ย. 2568

นักกฎหมายไม่มีคุณธรรม...เลวยิ่งกว่ามหาโจร

นักกฎหมายไม่มีคุณธรรม...เลวยิ่งกว่ามหาโจร

30 พ.ค. 2568

การยกเลิกเหตุปัจจัยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๖๒๓  ที่ให้พระภิกษุมีทรัพย์สินได้เพื่อให้ถูกต้องตามพระธรรมวินัยที่ได้สวดปาติโมกข์

การยกเลิกเหตุปัจจัยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๖๒๓ ที่ให้พระภิกษุมีทรัพย์สินได้เพื่อให้ถูกต้องตามพระธรรมวินัยที่ได้สวดปาติโมกข์

23 พ.ค. 2568

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved