วันเสาร์ ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / คอลัมน์ / คอลัมน์การเมือง / ปรีชา'ทัศน์
ปรีชา'ทัศน์

ปรีชา'ทัศน์

วันศุกร์ ที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2568, 02.00 น.
ทำไมเราไม่ไปไหนเลย

ดูทั้งหมด

  •  

องค์กรเพื่อความโปร่งใสสากล (Transparency International) ได้จัดดัชนีชี้วัดระดับความโปร่งใสปราศจากการคอร์รัปชั่น ประจำปี 2024 ประเทศไทยถูกจัดอยู่ลำดับที่ 107 จาก 180 ประเทศ ได้คะแนน 34 จาก 100 ลดไป 1 คะแนนจากปีที่แล้ว (ดูรูปภาพ 1) โดยมี เดนมาร์ก ฟินแลนด์ และสิงค์โปร์ อยู่ในลำดับที่ 1, 2 และ 3 ได้คะแนน 90, 88 และ 84 ตามลำดับ

รูปภาพ 1 คะแนนความโปร่งใสของไทย ในช่วงปี 2012-2024


ที่มา : Transparency International (https://www.transparency.org/en/cpi/2024/index/tha)

จะว่าไปแล้ว...ลำดับและคะแนนของประเทศไทยไม่ได้เหนือกว่าการคาดหมายแต่ประการใด เพียงแต่ว่าระหว่างที่ดูระดับความโปร่งใสของประเทศอื่นนั้น ผมได้เหลือบไปเห็นลำดับและคะแนนของประเทศกรีซที่อยู่ในลำดับที่ 59 และได้ 49 คะแนน ซึ่งแม้จะถือได้ว่าคะแนนยังสอบตกอยู่ แต่คะแนนความโปร่งใสที่มีอัตราเฉลี่ยเพิ่มขึ้นมาเรื่อยๆ ตั้งแต่ปี 2012 (ดูรูปภาพ 2) ก็ทำให้ต้องกลับมามองประเทศตัวเองว่า นี้เป็นอีกหนึ่งดัชนีที่ชี้ว่าเราไม่ไปไหนเลย ไม่ว่าจะเป็นดัชนีตลาดหุ้นหรืออัตราการเติบโตของเศรษฐกิจเมื่อเทียบกับประเทศเพื่อนบ้านในกลุ่มอาเซียน

ถ้ามองย้อนกลับเมื่อสักสิบกว่าปีก่อน ดัชนีชี้วัดความโปร่งใสปราศจากการคอร์รัปชั่น ประจำปี 2011 ของกรีซนั้นเท่ากับประเทศไทยที่ 34 จากคะแนนเต็ม 100 และอยู่ในลำดับที่ 80 เท่ากันจาก 182 ประเทศ

ในปีนั้น 2011 (๒๕๕๔) ขณะที่ไทยกำลังเผชิญกับปัญหาน้ำท่วมใหญ่ กรีซก็กำลังเผชิญกับปัญหาความล่มสลายทางเศรษฐกิจอันเนื่องมาจากปัญหาหนี้สาธารณะที่มีมากถึง 166% ของจีดีพี

รูปภาพ 2 คะแนนความโปร่งใสของกรีซ ในช่วงปี 2012-2024

ที่มา : Transparency International (https://www.transparency.org/en/cpi/2024/index/grc)

ความจริงแล้ว...กรีซเป็นประเทศที่มีอะไรหลายอย่างคล้ายกับไทย เช่น มีประวัติศาสตร์ที่เก่าแก่ มีวัฒนธรรมอันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว มีแหล่งท่องเที่ยวทั้งแบบธรรมชาติ โบราณสถานและโบราณวัตถุ ให้ความสำคัญกับเรื่องอาหารการกิน สายสัมพันธ์ทางครอบครัว ระบบเครือญาติมีการคอร์รัปชั่นอย่างหนักในหมู่ข้าราชการและนักการเมือง กระทั่งพัฒนาการทางการเมืองสมัยใหม่ของกรีซก็คล้ายกับเส้นทางประชาธิปไตยของไทย เช่น การที่ถูกกองทัพแทรกแซงเป็นระยะๆ มีรัฐบาลที่มาจากการรัฐประหารของทหารสลับกับรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชน

ขณะที่ไทยมีเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 กรีซก็มีเหตุการณ์ 14 พฤศจิกายน 2516 อันเป็นวันที่นักศึกษากรีซได้ออกมาประท้วงขับไล่รัฐบาลเผด็จการทหารเหมือนกับประเทศไทย ซึ่งผลของ 14 ต.ค.ของไทยและ 14 พ.ย.ของกรีซล้วนทำให้รัฐบาลเผด็จการทหารของทั้งสองประเทศหมดอำนาจลงในเวลานั้น

แต่คำถามที่น่าสนใจในเวลานั้น ก็คือ ทำไมประเทศที่มีอารยธรรมเก่าแก่สองพันกว่าปี เป็นแหล่งกำเนิดปรัชญาและแนวความคิดแบบตะวันตก ต้นกำเนิดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก ชนชาติแรกที่ใช้การปกครองอันเป็นรากฐานของระบอบประชาธิปไตยในปัจจุบัน จึงกลายเป็นประเทศที่หมดลายเยี่ยงนั้นไปได้

คำตอบที่ฟังดูธรรมดาแสนจะคุ้นหูสำหรับคนไทยแบบเราๆ ก็คือ “ระบบราชการที่ล้มเหลว กับ การคอร์รัปชั่น ฉ้อราษฎร์บังหลวงของข้าราชการและนักการเมือง”

ในตอนนั้น การที่กรีซถังแตก เศรษฐกิจล่มสลายก็เพราะความเละเทะของทั้งรัฐบาลและระบบราชการ อันเปรียบเสมือนผีเน่ากับโลงผุที่ทำให้เกิดปรากฏการณ์ ดังเช่น.......

ระบบข้าราชการที่ให้เงินเดือนข้าราชการสูงกว่าพนักงานเอกชนถึง 3 เท่า และถ้าอยากรู้ว่าประสิทธิภาพการทำงานของข้าราชการกรีกเป็นอย่างไร ก็ลองนึกถึงนายกฯ ของไทยดู ทั้งนี้ข้าราชการชายกรีกเกษียณอายุที่ 55 หญิง 50 ปี ส่วนบรรดาข้าราชการการเมืองกรีก พอได้แหย่ขาหรือเถลือกหัวเข้ามาในการเมืองไม่ทันไร ก็สามารถปลูกบ้านราคาหลายสิบล้านดอลลาร์ในกรุงเอเธนส์และอีกสองสามหลังในเมืองตากอากาศอื่นๆ

ระบบโรงเรียนรัฐบาลกรีก คุณภาพการเรียนการสอนถูกจัดอยู่ในกลุ่มอันดับต่ำที่สุดในยุโรป แต่รัฐบาลก็ยังจ้างครูด้วยอัตราครูสี่คนต่อนักเรียนหนึ่งคน เท่ากับประเทศฟินแลนด์ที่อยู่ในอันดับหนึ่งเรื่องคุณภาพการสอน ทั้งนี้ผู้ปกครองของนักเรียนกรีกต้องจ้างครูสอนพิเศษต่างหากอีกหนึ่งคน สำหรับสอนลูกๆ ของตนที่บ้าน เพื่อให้แน่ใจได้ว่าบุตรหลานตัวเองจะได้รับความรู้จริงๆ

ระบบโรงพยาบาลรัฐมีอัตราการใช้ยา เครื่องมือและอุปกรณ์แพทย์สูงกว่าประเทศอื่นๆ ในยุโรป เพราะเป็นเรื่องปกติที่พยาบาลและหมอจะกลับบ้านไปพร้อมกับสิ่งเหล่านี้เพื่อเอาไปใช้ที่บ้าน และคนไข้จะต้องจ่ายสินบน ค่าน้ำร้อนน้ำชาให้กับหมอ เพื่อแน่ใจว่าตนเองจะได้รับการดูแลรักษาอย่างเหมาะสม

ในขณะที่รัฐบาลกรีกมีการใช้จ่ายเงินงบประมาณอย่างเละเทะ ไม่มีประสิทธิภาพเช่นนี้ ความสามารถในการหารายได้ของรัฐบาลก็ไม่ได้แตกต่างกัน เช่น ในช่วงเวลานั้น การรถไฟแห่งชาติกรีกสามารถหารายได้เพียงแค่ปีละประมาณ 125 ล้านดอลลาร์ แต่มีรายจ่ายเงินเดือนพนักงานทั้งหมดประมาณ 500 ล้านดอลลาร์ต่อปี และยังมีค่าใช้จ่ายอื่นๆ อีกประมาณ 380 ล้านดอลลาร์ต่อปี อย่างไรก็ตาม สาเหตุสำคัญในการขาดรายได้ของรัฐบาลกรีกนั้นไม่ได้มาจากความบ่มิไก๊ของรัฐบาลฝ่ายเดียว แต่ก็เกิดจาก การโกงและ/หรือหลบเลี่ยงการจ่ายภาษีอย่างมโหฬาร ของชาวกรีกอีกด้วย

วัฒนธรรมการโกงและ/หรือหลบเลี่ยงภาษีถือเป็นเรื่องปกติในสังคมกรีก ด้วยค่านิยมที่ว่า “ใครๆ เขาก็ทำกัน” และไม่มีใครเคยถูกจับแบบเป็นเรื่องเป็นราว การดำเนินคดีฉ้อโกงภาษีของศาลกรีกบางคดีใช้เวลาถึง 15 ปี อัยการกรีกแทบไม่เคยสั่งฟ้องใครเรื่องนี้ เพราะตัวเองก็เป็นส่วนหนึ่งของมหกรรม“กีฬาแห่งชาติ”นี้ อันเป็นคำที่นักการเมืองกรีกขนานนาม...การหลบเลี่ยงภาษีในกรีซว่าคือ “National Sport”

มีคำกล่าวกันว่า “ความผิดเรื่องการโกงและ/หรือหลบเลี่ยงภาษีในสังคมกรีกนั้น เป็นความผิดประมาณว่า….การที่สุภาพบุรุษไม่ได้เปิดประตูให้กับสุภาพสตรี”

การหลบเลี่ยงภาษีวิธีหนึ่งอันเป็นที่นิยมก็คือ ชาวกรีกส่วนใหญ่จะเลือกประกอบอาชีพที่เป็นนายจ้างตัวเอง เพราะสามารถปรับแต่งบัญชีรายได้ของตัวเองเพื่อใช้ในการหลบเลี่ยงภาษี (ตรงนี้เป็นเหตุผลที่ทำให้กรีกเป็นประเทศที่มีอัตราการประกอบอาชีพที่เป็นนายจ้างตัวเองสูงสุดในยุโรป) แพทย์ที่เป็นเจ้าของคลินิกจะรายงานรายได้ตัวเองปีละไม่เกิน 15,000 ดอลลาร์ ซึ่งเป็นอัตราที่ยังไม่ต้องเสียภาษีให้รัฐบาล สมาชิกรัฐสภากรีกทุกคนล้วนพูดความจริงไม่หมดเกี่ยวกับเรื่องการเสียภาษีของตัวเอง แม้กระทั่งโรงแรมระดับห้าดาวก็ชอบแกล้งทำเป็นลืมให้ใบเสร็จกับลูกค้า เพื่อหลีกเลี่ยงภาษีการค้าทุกธุรกรรมในกรีซ ถ้าทำได้จะใช้เงินสดจ่ายกันอย่างเดียว โดยไม่มีใบเสร็จ ชาวกรีกพึ่งเริ่มจะมาใช้บัตรเครดิตกัน เมื่อประมาณปลายทศวรรษที่ 1990 นี้เอง

ในตอนนั้น กรีซสิ้นลายถึงขนาดที่ถูกนักการเมืองเยอรมันปรามาสว่า ให้ขายเกาะบางแห่งหรือเอาโบราณสถานบางที่มาประมูลขาย เพื่อเอาเงินมาใช้หนี้ที่ก่อไว้ การที่นักการเมืองจากเมืองเบียร์พูดเช่นนี้ก็เพราะว่า นอกจากเงินช่วยเหลือที่กรีซได้จาก IMF แล้ว กรีซยังต้องพึ่งพาเงินจากสหภาพยุโรป (EU) ด้วย ซึ่ง 30% วงเงินช่วยเหลือตรงนี้มาจากเยอรมันในฐานะที่เป็นพี่ใหญ่ของ EU และการที่รัฐบาลเยอรมันจะจ่ายเงินตรงนี้ได้ ก็ต้องผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภาเยอรมันเสียก่อน และแน่นอนคนเยอรมันส่วนใหญ่ย่อมไม่เห็นด้วยกับการนำเอาเงินภาษีของพวกเขาไปช่วยเหลือกรีซอยู่แล้ว

จริงๆ แล้ว เนื้อร้าย(เรื่องการคอร์รัปชั่น)ก้อนนี้ฝังตัวอยู่ในสังคมกรีกมานานนับพันปีแล้ว สืบสาวไปได้ตั้งแต่สังคมการเมืองของเอเธนส์ ในยุคโสกราตีส เพลโต และอริสโตเติล ที่สังคมการเมืองของกรีกมักจะประกอบไปด้วย “กลุ่มครอบครัวการเมือง” (Political Families) หลายๆกลุ่ม โดยแต่ละกลุ่มก็อาศัยสายสัมพันธ์ดังกล่าวเกื้อกูลกันและกัน ภายหลังจากที่มีอำนาจและตำแหน่งในทางการเมือง

การอาศัยสายสัมพันธ์เกื้อกูลซึ่งกันและกันของกลุ่มครอบครัวการเมืองสมัยกรีกโบราณก็ไม่ได้แตกต่างไปจากกลุ่มครอบครัวการเมืองไทยในปัจจุบันเท่าใดนัก ที่แต่ก่อนก็เป็นกลุ่มครอบครัวการเมืองจากที่ต่างๆ เช่น ราชครู สุพรรณบุรี สระแก้ว เชียงใหม่ เชียงราย บุรีรัมย์ ปากน้ำ โคราช ฯลฯ ปัจจุบันก็เป็นกลุ่มครอบครัวการเมืองที่มาจากภาคธุรกิจต่างๆ เช่น การสื่อสาร พลังงาน ก่อสร้าง ชิ้นส่วนรถยนต์ ค้าปลีก ฯลฯ โดยทุกวันนี้ กลุ่มครอบครัวการเมืองเหล่านี้ต่างเข้ามาร่วมกันสร้างมหกรรมสังคญาติในสังคมการเมืองไทยเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ

อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันนี้ ถ้าอ้างอิงข้อมูลจากองค์กรเพื่อความโปร่งใสสากล (Transparency International) จะเห็นได้ว่าเนื้อร้ายหรือการคอร์รัปชั่นที่ฝังตัวอยู่ในสังคมกรีกมานาน เริ่มได้รับการเยียวยาบ้างแล้ว ทั้งนี้ก็เพราะบทเรียนจากการร่วมกันเล่น “มหกรรมกีฬาแห่งชาติ” ของชาวกรีกจนทำให้สังคมเกือบล่มสลายเศรษฐกิจพังพินาศจนต้องเข้ารับความช่วยเหลือจาก IMF ระหว่างปี 2010-2018 ทำให้ในปี 2016 รัฐบาลกรีก องค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและพัฒนา (OECD) และคณะกรรมาธิการยุโรป (EC) ได้ร่วมกันประกาศแผนปฏิบัติการปราบปรามการคอร์รัปชั่นเป็นวาระแห่งชาติ อันทำให้กรีซซึ่งเคยอยู่ในลำดับที่ 80 ด้วยคะแนน 34 เท่ากับไทย ในปี 2011 (๒๕๕๔) เลื่อนขึ้นมาอยู่ลำดับที่ 59 ด้วยคะแนน 49 ในปี 2024 (๒๕๖๗)ขณะที่ประเทศไทยตกลงไปอยู่ที่อันดับ 107 ด้วยคะแนน 34 เท่าเดิมกับเมื่อสิบสามปีที่ก่อน

ครับ ทำไมลำดับหรือคะแนนของเราไม่ขยับไปไหนเลย....ทุกคนก็คงมีคำตอบกันอยู่แล้ว


ดร.ธิติ สุวรรณทัต
 

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

  •  
  • Breaking News
  • ข่าวยอดนิยม
  • คอลัมน์ฮิต
16:24 น. 'กัน จอมพลัง'ไม่ทน! เห็นคลิปหลานชายทำร้ายตาวัย 80 บุกมาสอนหลานถึงบ้าน
16:22 น. 'ทิดประดิษฐ์'อดีตเจ้าอาวาสวัดพระพุทธฉาย โชว์ส่งมอบเอกสารวัด ปัดข่าวหอบเงินหนี
16:19 น. 'สะพานเข้าชุมชนถล่ม' ชาวบ้านกว่า30หลังคาเรือน-ถูกตัดขาดจากโลกภายนอก
16:14 น. ‘ขอนแก่น’ยกขบวนศิลปินดัง-สินค้าเด็ด‘ของดีเมืองแคน’บุกเวสต์เกต ครบจบถึง 14 ก.ค.นี้
16:05 น. ติดเชื้อ'ไวรัสซิกา' 7 ราย ใน 4 จังหวัดอีสาน เตือนหญิงตั้งครรภ์เสี่ยงสูง ลูกอาจพิการได้
ดูทั้งหมด
โปรดเกล้าฯ 'พล.อ.' พ้นจากการปฏิบัติหน้าที่ นายทหารราชองครักษ์พิเศษ
พอที'เพื่อไทย'!! อดีตเด็ก พท.หอบผ้าซบพรรคลุงป้อมพรึ่บ อีสานมาเพียบ! (คลิป)
'หมอวรงค์'บอกหนาวเลย! หลังฟังการไต่สวนคดี'ทักษิณ'ชั้น 14 รพ.ตร. ครั้งที่ 3
ศาลรัฐธรรมนูญ มีมติ 8 ต่อ 1 หญิงหย่าสามีต้องกลับไปใช้นามสกุลเดิม
'ดุ๊ก ภาณุเดช'วอนหยุดบุกรุกบ้านส่วนตัวที่เขาใหญ่ สุดทนคนแห่ถ่ายรูป-เดินชิลเหมือนอยู่คาเฟ่
ดูทั้งหมด
จีนยกระดับปราบ Cyber Scam ฉ้อโกงออนไลน์ให้เป็นวาระแห่งชาติ
ฝนตก-น้ำท่วม-ก่อสร้าง พึงระมัดระวังไฟดูด-ไฟรั่ว
ฮุนเซน-ทักษิณ (แพทองธาร) มิตรหรือศัตรู
บุคคลแนวหน้า วันที่ 12 ก.ค. 2568
ทักษิณยังคงคุยโวเหมือนเดิม
ดูทั้งหมด

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

'กัน จอมพลัง'ไม่ทน! เห็นคลิปหลานชายทำร้ายตาวัย 80 บุกมาสอนหลานถึงบ้าน

ติดเชื้อ'ไวรัสซิกา' 7 ราย ใน 4 จังหวัดอีสาน เตือนหญิงตั้งครรภ์เสี่ยงสูง ลูกอาจพิการได้

อดีตผู้พิพากษาเลคเชอร์ 6 ข้อ ‘ทักษิณ’ทำอย่างน้อย 4 ครั้ง เสี่ยงครอบงำ-‘พท.’อาจถูกยุบพรรค

‘วิสุทธิ์’ย้อนเกล็ด‘ภท’ สส.โหวตสวนเรียก‘งูเห่า’ ตอนย้ายคอกเข้าพรรคบอก‘อุดมการณ์’

เกษตรกรกำแพงเพชร บุกพรรคประชาชน หลัง'ไอซ์'ปูดงบ 'ไผ่' หวั่นเดือดร้อนถูกตัดงบ

‘ไผ่’ซัด‘รักชนก’เป็นเหตุ‘ม็อบชาวกำแพงเพชร’บุกศูนย์ ปชน. โวยพาดพิงงบพัฒนา

  • Breaking News
  • \'กัน จอมพลัง\'ไม่ทน! เห็นคลิปหลานชายทำร้ายตาวัย 80 บุกมาสอนหลานถึงบ้าน 'กัน จอมพลัง'ไม่ทน! เห็นคลิปหลานชายทำร้ายตาวัย 80 บุกมาสอนหลานถึงบ้าน
  • \'ทิดประดิษฐ์\'อดีตเจ้าอาวาสวัดพระพุทธฉาย โชว์ส่งมอบเอกสารวัด ปัดข่าวหอบเงินหนี 'ทิดประดิษฐ์'อดีตเจ้าอาวาสวัดพระพุทธฉาย โชว์ส่งมอบเอกสารวัด ปัดข่าวหอบเงินหนี
  • \'สะพานเข้าชุมชนถล่ม\' ชาวบ้านกว่า30หลังคาเรือน-ถูกตัดขาดจากโลกภายนอก 'สะพานเข้าชุมชนถล่ม' ชาวบ้านกว่า30หลังคาเรือน-ถูกตัดขาดจากโลกภายนอก
  • ‘ขอนแก่น’ยกขบวนศิลปินดัง-สินค้าเด็ด‘ของดีเมืองแคน’บุกเวสต์เกต ครบจบถึง 14 ก.ค.นี้ ‘ขอนแก่น’ยกขบวนศิลปินดัง-สินค้าเด็ด‘ของดีเมืองแคน’บุกเวสต์เกต ครบจบถึง 14 ก.ค.นี้
  • ติดเชื้อ\'ไวรัสซิกา\' 7 ราย ใน 4 จังหวัดอีสาน เตือนหญิงตั้งครรภ์เสี่ยงสูง ลูกอาจพิการได้ ติดเชื้อ'ไวรัสซิกา' 7 ราย ใน 4 จังหวัดอีสาน เตือนหญิงตั้งครรภ์เสี่ยงสูง ลูกอาจพิการได้
ดูทั้งหมด

คอลัมน์ที่เกี่ยวข้อง

กฎหมายในฐานะเครื่องมือจริยธรรม

กฎหมายในฐานะเครื่องมือจริยธรรม

11 ก.ค. 2568

วันชาติอเมริกาในบางแง่มุม

วันชาติอเมริกาในบางแง่มุม

4 ก.ค. 2568

กฎหมายงบประมาณรายจ่ายอาจตกเป็นโมฆะ  กรณีศึกษาการแปรญัตติงบประมาณปี ๒๕๖๕

กฎหมายงบประมาณรายจ่ายอาจตกเป็นโมฆะ กรณีศึกษาการแปรญัตติงบประมาณปี ๒๕๖๕

27 มิ.ย. 2568

ความไม่ชัดเจนในมาตรา ๑๔๔ ของรัฐธรรมนูญ ๒๕๖๐  และกรณีศึกษาการกระทำฝ่าฝืนในมาตรานี้

ความไม่ชัดเจนในมาตรา ๑๔๔ ของรัฐธรรมนูญ ๒๕๖๐ และกรณีศึกษาการกระทำฝ่าฝืนในมาตรานี้

20 มิ.ย. 2568

รัฐบาลกลางกับการอุดมศึกษาสหรัฐ

รัฐบาลกลางกับการอุดมศึกษาสหรัฐ

13 มิ.ย. 2568

สแตนลีย์ ฟิชเชอร์ กับเมืองไทย

สแตนลีย์ ฟิชเชอร์ กับเมืองไทย

6 มิ.ย. 2568

นักกฎหมายไม่มีคุณธรรม...เลวยิ่งกว่ามหาโจร

นักกฎหมายไม่มีคุณธรรม...เลวยิ่งกว่ามหาโจร

30 พ.ค. 2568

การยกเลิกเหตุปัจจัยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๖๒๓  ที่ให้พระภิกษุมีทรัพย์สินได้เพื่อให้ถูกต้องตามพระธรรมวินัยที่ได้สวดปาติโมกข์

การยกเลิกเหตุปัจจัยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๖๒๓ ที่ให้พระภิกษุมีทรัพย์สินได้เพื่อให้ถูกต้องตามพระธรรมวินัยที่ได้สวดปาติโมกข์

23 พ.ค. 2568

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved