วันศุกร์ ที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / คอลัมน์ / คอลัมน์โลกธุรกิจ / กฎ กติกา ธุรกิจ
กฎ กติกา ธุรกิจ

กฎ กติกา ธุรกิจ

รุจิระ บุนนาค
วันศุกร์ ที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2566, 06.00 น.
ค่าเอฟที กับ ค่าไฟแพง

ดูทั้งหมด

  •  

เมื่อต้นเดือนมีนาคม 2566 คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (บอร์ด กกพ.) สรุปค่าไฟฟ้างวดที่ 2 ปี 2566 ปรับขึ้น 0.98 สตางค์ต่อหน่วย เมื่อรวมค่าไฟฐาน (หรือ ค่าเอฟที Ft  ในนิยามเหมารวมตามที่หลายๆ คนรู้จัก) ส่งผลให้ค่าไฟฟ้าเรียกเก็บอยู่ที่ 4.75 บาทต่อหน่วย ซึ่งเป็นอัตราเดียวกันทั้งครัวเรือนและอุตสาหกรรม

จึงทำให้ผู้ที่ใช้ไฟบ้านสำหรับการดำรงชีวิตประจำวันพื้นฐาน จะต้องจ่ายค่าไฟฟ้าเท่ากับผู้ที่ใช้ไฟฟ้าในประกอบธุรกิจและมีรายได้  ซึ่งไม่ควรจะเป็นเช่นนั้น โดยเฉพาะในช่วงหน้าร้อนนี้ที่มีอากาศร้อนขึ้นมาก ทำให้ประชาชนต้องใช้ไฟฟ้ามากขึ้น จากการใช้พัดลมและเครื่องปรับอากาศ


ค่าไฟฐานหรือค่าเอฟที Ft [เดิมมาจากคำว่า Float Time ภายหลังเปลี่ยนเป็น Fuel Adjustment Charge (at the given time)] ค่าเอฟทีมีผลต่ออัตราค่าไฟฟ้าที่ปรับตัวสูงขึ้นในช่วงหน้าร้อนทุกครั้ง  

ค่าไฟฟ้าที่เราจ่ายกันอยู่ (ไม่รวมค่าภาษีมูลค่าเพิ่ม) มีส่วนที่เป็นค่าไฟฟ้าที่คิดจากโครงสร้างอัตราค่าไฟฟ้า จากต้นทุนการผลิตไฟฟ้าและการให้บริการไฟฟ้าที่กำหนดตามแต่ประเภทของผู้ใช้ไฟฟ้าส่วนนี้เรียกว่า ค่าไฟฟ้าฐาน (ปรับเปลี่ยนทุก 3-5 ปี) รวมกับส่วนที่เป็นค่าเอฟทีเป็นหนึ่งในตัวแปร ซึ่งค่าเอฟทีหมายถึง ค่าใช้จ่ายด้านเชื้อเพลิง ค่าซื้อไฟฟ้าของ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) และค่าใช้จ่ายตามนโยบายภาครัฐ ที่เปลี่ยนแปลงไปจากระดับที่กำหนดไว้ในค่าไฟฟ้าฐาน โดยค่าเอฟทีมีการปรับปรุงทุกๆ 4 เดือน  

ทั้งนี้ ต้นทุนที่นำมาคิดค่าไฟฐานจัดกลุ่มเป็น 3 กลุ่ม คือ ต้นทุนที่ใช้ก่อสร้างและขยายระบบผลิต ระบบส่ง และระบบจำหน่าย, ต้นทุนในการดำเนินงาน (เช่น ค่าใช้จ่ายดำเนินงานและบำรุงรักษาระบบ ค่าบริหารจัดการ ผลตอบแทนการลงทุน และจิปาถะอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง)

ทำให้หลายคนมีความรู้สึกว่ายามใดที่ความรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจของประเทศถดถอย รายได้ประชาชนตกต่ำ  ราคาสินค้า (โดยเฉพาะเชื้อเพลิง) และค่าไฟฟ้าจะปรับตัวสูงขึ้นตามไปด้วย ราวกับเป็นซ้ำเติม  ทำให้รัฐบาลต้องจัดสรรงบกลางมาอุดหนุน ตรึงราคาค่าไฟฟ้าทุกคราวไป 

ในภาพรวมประเทศไทยมี พระราชบัญญัติการประกอบกิจการพลังงาน พ.ศ. 2550 เป็นกฎหมายหลัก มีบริบทกำหนดเกี่ยวกับการกำกับดูแลโครงสร้างการประกอบกิจการพลังงานของประเทศ โดยกำหนดให้คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (มาตรา 10) ทำหน้าที่กำหนดนโยบายด้านการจัดหาและใช้ประโยชน์ด้านพลังงานของประะเทศ (พลังงานเชื้อเพลิง, ก๊าซธรรมชาติและไฟฟ้า) ตามแนวกรอบยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี (2560-2579) คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2558

ภายใต้กรอบนโยบายใหม่นี้ บริบทของนโยบายมีแนวโน้มผลักดันให้ กิจการพลังงานของประเทศไทยเปลี่ยนผ่านจากการพึ่งพาเชื้อเพลิงฟอสซิลไปสู่การผลิตและการใช้พลังงานไฟฟ้ามากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะพลังงานไฟฟ้าที่มาจากพลังงานหมุนเวียน(Renewable Energy) และการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน (Energy Efficiency) ด้วยเป้าหมายในการลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพื่อบรรเทาปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศตามข้อตกลงและความร่วมมือในระดับนานาชาติ ส่งเสริมให้มีสัมปทานหรืออนุญาตมีการประกอบกิจการพลังงานไฟฟ้าโดยภาคเอกชนมากขึ้นตามกลไกของตลาดด้านพลังงาน และทำให้ภาคเอกชนผู้ประกอบกิจการไฟฟ้าหลายรายนำนวัตกรรมเทคโนโลยีในการผลิตไฟฟ้าให้แก่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.)เป็นจำนวนหลากหลายมากขึ้น รวมถึงนโยบายส่งเสริมอุดหนุนให้เอกชนรายย่อยผลิตไฟฟ้าใช้เองในครัวเรือนเพื่อลดการพึ่งพาระบบไฟฟ้าที่ผลิตและจำหน่ายโดยรัฐ (กฟผ.)  

ปัจจุบันการประกอบกิจการไฟฟ้า ยังคงเป็นกิจการผูกขาด ภาครัฐจึงยังต้องเป็นผู้กํากับดูแล กำหนดอัตราค่าไฟฟ้า ทั้งค่าไฟฟ้าฐาน (กำหนดอัตราโดยคณะกรรมการค่าไฟฟ้าฐาน) และค่าเอฟที (กำหนดโดยอนุกรรมการกำกับสูตรการปรับอัตราค่าไฟฟ้าอัตโนมัติ) หากการประกอบกิจการไฟฟ้าเปิดให้มีการแข่งขันเสรีจะทำให้ผู้ประกอบการมีการแข่งขันด้านราคา (ราคาถูกลง) และการบริการ (เพิ่มการบริการ) ประชาชนผู้บริโภคจะมีทางเลือกและได้ประโยชน์ อัตราค่าไฟฟ้าจะสะท้อนอุปสงค์และอุปทานอันเป็นกลไกของตลาดเสรี รัฐเพียงเข้ามามีบทบาทในการใช้อำนาจกำกับดูแลมิให้เกิดการรวมตัวกันผูกขาดด้านราคา และค่าบริการด้านสายส่งไฟฟ้าใช้งานเท่านั้น  

อัตราค่าไฟฟ้าของประเทศไทย (ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) เมื่อเทียบกับต่างประเทศในแถบภูมิภาคเอเชียนั้น ได้แก่ ญี่ปุ่น มาเก๊า ฮ่องกง สิงคโปร์ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และศรีลังกา  พบว่าประเทศไทยมีอัตราค่าไฟฟ้าถูกเป็นอันดับที่สองรองจากประเทศอินโดนีเซีย (อัตราหน่วยละ 1.05 บาท เทียบกับประเทศไทยอยู่ที่ 2.23 บาท (ไม่รวมมูลค่างบอุดหนุนต่างๆ) และคาดว่าจะมีอัตราที่ต่ำกว่านี้หากเปิดให้มีการแข่งขันการประกอบกิจการอย่างเสรี

อย่างไรก็ตาม แม้อัตราค่าไฟฟ้าจะมีแนวโน้มราคาถูกลงจากนโยบายของรัฐบาล ที่เปิดให้ภาคเอกชนรับอนุญาตประกอบกิจการพลังงานไฟฟ้าแข่งขันเสรีมากยิ่งขึ้น แต่ทว่าในการรับซื้อไฟฟ้า (หรือการอนุญาตให้เอกชนผลิตไฟฟ้าใช้เอง) ยังคงมีเงื่อนไขจำกัดเฉพาะเทคโนโลยี รวมถึงโครงสร้างกิจการไฟฟ้าที่มีผู้รับซื้อไฟฟ้าเพียงรายเดียว (Enhanced Single Buyer Model: ESB) คือ กฟผ. ที่เป็นข้อจำกัดในเชิงผูกขาด รวมถึงเงื่อนไขด้านการบริการสายส่งเชื่อมต่อผู้บริโภคหรือผู้ใช้บริการ ที่ดำเนินการโดยหน่วยงานย่อยในเขตรับผิดชอบการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.)หรือ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) ยังคงไม่สามารถอำนวยประโยชน์ที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนผ่านพลังงานไฟฟ้าไปสู่ผู้บริโภคหรือผู้ใช้ไฟฟ้าได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สะท้อนความถึงความแข่งขันอย่างเสรี

การเปลี่ยนแปลงใดๆ จะต้องใช้เวลาพอสมควร แต่ที่แน่นอนคือ ประชาชนต้องรับภาระจ่ายค่าไฟแพงอยู่ในขณะนี้

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

  •  
  • Breaking News
  • ข่าวยอดนิยม
  • คอลัมน์ฮิต
18:15 น. (คลิป) 'นายกอิ๊งค์' อ้าง! ใส่ชุดขาว ตอบนักข่าวเรื่อง 'ทักษิณ' ไม่ได้
18:12 น. ทำบุญอย่างไรให้ได้อานิสงส์มาก
18:00 น. (คลิป) เมื่อกล้องวงจรปิด 'ชั้น14และบ้านจันทร์ส่องหล้า' เสียพร้อมกัน นอนบ้านไม่ได้นอนชั้น14 ด้วยหรือไม่
17:57 น. KNU ประกาศชัยชนะตีฐานทหารเมียนมาตรงข้ามช่องทางพุน้ำร้อนเมืองกาญจน์แตกกระเจิง
17:53 น. คดี‘ชั้น 14’พ่นพิษ! ‘บิ๊กต่าย’สั่งกองวินัยเตรียมสอบ‘หมอ รพ.ตำรวจ’
ดูทั้งหมด
ภาพอบอุ่นใจความรักที่งดงามของ 'กษัตริย์จิกมี-สมเด็จพระราชินี-เจ้าชาย-พระธิดา' ในยามค่ำคืนของทะเลทรายโกบี
(คลิป) 'ฐปณีย์' เละคาบ้าน! ด้อยค่าคนไม่เห็นด้วย 'เมียจ่าปืน' ออกโรงตอกกลับไม่ใช่ IO
‘ลาออก’ไปเถอะ! ฉะ‘นายกฯ’มีสติปัญญาแค่นี้ แผ่นเสียงตกร่องชู‘กาสิโน’แก้เศรษฐกิจ
หยามเกียรติธงชาติไทย! ทนายแจ้งเอาผิด โพสต์เฟสบุ๊คดูหมิ่น'ธงคือผ้าเช็ดเท้า'
มาแล้ว! กรมอุตุฯคาดหมายอากาศ 7 วันข้างหน้า ตั้งแต่ 4-10 พ.ค.68
ดูทั้งหมด
อวสาน‘ทักษิณ’คุกรออยู่
ความต่างของ สิงคโปร์ กับ ไทย
คุกนรก (1)
นักการเมือง ‘ส้มสารพิษ’
บุคคลแนวหน้า : 9 พฤษภาคม 2568
ดูทั้งหมด

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

(คลิป) 'นายกอิ๊งค์' อ้าง! ใส่ชุดขาว ตอบนักข่าวเรื่อง 'ทักษิณ' ไม่ได้

ได้โอกาสส่งออก! ‘อินโดนีเซีย’เผยปี’68คาดผลผลิตข้าวเหลือเกินบริโภคในปท.

ปตท. ลงนามสัญญาซื้อขายก๊าซธรรมชาติส่วนเพิ่มแหล่งอาทิตย์เสริมความมั่นคงพลังงานไทย

'DSI'ลงนามด่วนถึง'ผบ.ตร.-ปลัด มท.' ร่วมมือสอบสวนเอาผิดฟอกเงินคดีฮั้วเลือก สว.

(คลิป) เมื่อกล้องวงจรปิด 'ชั้น14และบ้านจันทร์ส่องหล้า' เสียพร้อมกัน นอนบ้านไม่ได้นอนชั้น14 ด้วยหรือไม่

ไม่ปล่อยให้ผ่านมือ!'รอง ผกก.สืบฯฮีโร่'ขับรถกลางดึกเจอโจรผัวเมียงัดตู้เติมเงินจับทันที

  • Breaking News
  • (คลิป) \'นายกอิ๊งค์\' อ้าง! ใส่ชุดขาว ตอบนักข่าวเรื่อง \'ทักษิณ\' ไม่ได้ (คลิป) 'นายกอิ๊งค์' อ้าง! ใส่ชุดขาว ตอบนักข่าวเรื่อง 'ทักษิณ' ไม่ได้
  • ทำบุญอย่างไรให้ได้อานิสงส์มาก ทำบุญอย่างไรให้ได้อานิสงส์มาก
  • (คลิป) เมื่อกล้องวงจรปิด \'ชั้น14และบ้านจันทร์ส่องหล้า\' เสียพร้อมกัน นอนบ้านไม่ได้นอนชั้น14 ด้วยหรือไม่ (คลิป) เมื่อกล้องวงจรปิด 'ชั้น14และบ้านจันทร์ส่องหล้า' เสียพร้อมกัน นอนบ้านไม่ได้นอนชั้น14 ด้วยหรือไม่
  • KNU ประกาศชัยชนะตีฐานทหารเมียนมาตรงข้ามช่องทางพุน้ำร้อนเมืองกาญจน์แตกกระเจิง KNU ประกาศชัยชนะตีฐานทหารเมียนมาตรงข้ามช่องทางพุน้ำร้อนเมืองกาญจน์แตกกระเจิง
  • คดี‘ชั้น 14’พ่นพิษ! ‘บิ๊กต่าย’สั่งกองวินัยเตรียมสอบ‘หมอ รพ.ตำรวจ’ คดี‘ชั้น 14’พ่นพิษ! ‘บิ๊กต่าย’สั่งกองวินัยเตรียมสอบ‘หมอ รพ.ตำรวจ’
ดูทั้งหมด

คอลัมน์ที่เกี่ยวข้อง

ความต่างของ สิงคโปร์ กับ ไทย

ความต่างของ สิงคโปร์ กับ ไทย

9 พ.ค. 2568

ปัญหาพยาบาลไต กับกฎระเบียบใหม่ของสภาการพยาบาล

ปัญหาพยาบาลไต กับกฎระเบียบใหม่ของสภาการพยาบาล

2 พ.ค. 2568

ท่าเรือคลองเตย-กาสิโน-ทายาททวงคืนที่ดิน

ท่าเรือคลองเตย-กาสิโน-ทายาททวงคืนที่ดิน

25 เม.ย. 2568

โรงแรมเถื่อน คอนโดฯให้เช่ารายวัน

โรงแรมเถื่อน คอนโดฯให้เช่ารายวัน

17 เม.ย. 2568

โอนหุ้นนายกฯนิติกรรมอำพราง?

โอนหุ้นนายกฯนิติกรรมอำพราง?

11 เม.ย. 2568

แผ่นดินไหว ตึก สตง. ถล่ม ไม่ต้องรับผิด?

แผ่นดินไหว ตึก สตง. ถล่ม ไม่ต้องรับผิด?

4 เม.ย. 2568

ซื้อหนี้ประชาชน ขายฝันอีกแล้ว

ซื้อหนี้ประชาชน ขายฝันอีกแล้ว

28 มี.ค. 2568

คานถล่ม ถนนพระราม 2 (อีกแล้ว)

คานถล่ม ถนนพระราม 2 (อีกแล้ว)

21 มี.ค. 2568

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นางสาวอัญชะลี ไพรีรัก
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved