วันศุกร์ ที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / คอลัมน์ / คอลัมน์ผู้หญิง / พินิจ-พิจารณ์
พินิจ-พิจารณ์

พินิจ-พิจารณ์

นพ.พินิจ กุลละวณิชย์
วันอาทิตย์ ที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2568, 02.00 น.
Microbiota

ดูทั้งหมด

  •  

ท่านรู้หรือไม่ว่าบนตัวท่าน ทุกซอกทุกมุมของร่างกาย มีสิ่งที่มีชีวิต ตัวเล็กๆ ที่มองไม่เห็นด้วยตาเปล่าอาศัยอยู่เป็นร้อยล้านๆ ตัว!? และในทุกส่วนของร่างกายท่าน ตั้งแต่จมูก ปาก คอ หลอดอาหาร กระเพาะอาหาร ลำไส้เล็ก ลำใหญ่ ปอด อวัยวะเพศฯลฯ สิ่งที่มีชีวิตเหล่านี้เรียกรวมกันว่าจุลินทรีย์ หรือ microorganismsทางการแพทย์เรียกสิ่งต่างๆ เหล่านี้ว่า microbiota ส่วนยีน(gene) ของ microbiota เรียกรวมกันว่า microbiomeซึ่งมียีนประมาณ 20 ล้านยีน!? มนุษย์มียีนเพียง 22,000 ยีนเท่านั้น และมนุษย์มีเซลล์เองเพียง 30 ล้านเซลล์

Microbiota เหล่านี้ประกอบด้วยสิ่งที่มีชีวิตประเภทต่างๆ หลายกลุ่ม เช่น แบคทีเรีย (มีกว่า 1,000 สายพันธุ์ในลำไส้)ไวรัส เชื้อรา โปรโตซัว อาเดีย ฯลฯ microbiota เหล่านี้รวมกันแล้วมีน้ำหนักถึง 1-2 กก. เนื่องจาก microbiota เหล่านี้มีประโยชน์มากต่อร่างกาย วงการแพทย์จึงถือเสมือนว่า microbiotaเป็นอวัยวะอันหนึ่งที่ร่างกายจะขาดไม่ได้


เด็กที่เกิดจากแม่ตามธรรมชาติ กับเด็กที่เกิดจากการผ่าตัดผ่านหน้าท้องในการทำคลอด จะมีจุลินทรีย์ที่ไม่เหมือนกันเพราะเด็กที่เกิดจากแม่ตามธรรมชาติจะได้จุลินทรีย์ที่อยู่ในช่องคลอดของแม่ ส่วนเด็กที่เกิดจากการผ่าตัดจะได้รับจุลินทรีย์จากผิวหนังเป็นหลัก เด็กๆ จะค่อยๆ ได้รับจุลินทรีย์เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ตามวัย เมื่อเด็กมีอายุ 1-3 ขวบ จะมีจุลินทรีย์เหมือนผู้ใหญ่ จำนวนชนิดของจุลินทรีย์และปริมาณจะค่อยๆ ลดลงเมื่อมีอายุสูงขึ้นรวมทั้งมีความแตกต่างของชนิดและปริมาณของจุลินทรีย์ในอวัยวะต่างๆ เช่น ปาก คอ หลอดอาหาร กระเพาะอาหาร ลำไส้เล็ก ลำไส้ใหญ่ ปอด ช่องคลอด ผิวหนัง ฯลฯ

Microbiota มีความสำคัญต่อการมีสุขภาพที่ดีของมนุษย์ เช่น ช่วยย่อยอาหารที่มนุษย์ย่อยเองไม่ได้ คือ กากหรือเส้นใยอาหาร- fiber ช่วยผลิตสาร หรือวิตามินที่สำคัญต่างๆ เช่น วิตามินบีวิตามินเค รวมถึงสารที่ช่วยลดการอักเสบที่ส่งผลต่อสมอง ต่ออารมณ์ ความเครียด (ผ่าน gut brain axis-กลไกสมอง-ลำไส้) สร้างภูมิคุ้มกัน รวมทั้งช่วยป้องกันร่างกายจากเชื้อโรคต่างๆ

จุลินทรีย์ในร่างกายมีทั้งส่วนที่ดีและไม่ดี ปกติจะมีความสมดุลของจุลินทรีย์ในร่างกาย เมื่อมีความสมดุล มนุษย์ก็จะอยู่แบบสันติ อยู่อย่างสุขสบาย โดยจะมีเชื้อจุลินทรีย์ที่ดีมากกว่าเชื้อที่ไม่ดี แต่เมื่อมีความไม่สมดุลเกิดขึ้น เช่น จากการกินยาปฏิชีวนะที่ไปฆ่าเชื้อต่างๆ ในร่างกาย ทำให้เกิดความไม่สมดุลของเชื้อจุลินทรีย์ได้ ความไม่สมดุลอาจเกิดจากการกินอาหารที่ไม่เหมาะสม เช่น กินเนื้อแดง(วัว หมู แพะ แกะ) เนื้อแปรรูป (ไส้กรอก กุนเชียง เบคอน แฮม)ไขมันมากไป หรือกินของหวานมากไป จากความเครียดการพักผ่อนนอนหลับที่ไม่เพียงพอ การสูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์ การไม่ออกกำลังกาย ฯลฯ

เมื่อมีความไม่สมดุลของเชื้อจุลินทรีย์เกิดขึ้น จะทำให้เกิดโรคต่างๆ ได้ เช่น เมื่อกินยาปฏิชีวนะ อาจนำไปสู่อาการท้องเสียหรือที่วงการแพทย์เรียกว่า antibiotic associated diarrheaซึ่งถ้าเป็นมากอาจเป็นถึง pseudomembranous colitis หรือโรคท้องเสียจากเชื้อ difficile ฯลฯ

เชื้อจุลินทรีย์ที่ดีเหล่านี้ต้องการสารอาหารที่ดีต่อสุขภาพของมัน อาหารเหล่านี้เรียกว่า prebiotic ซึ่งก็คือกาก ใยอาหาร หรือ fiber นั่นเอง ฉะนั้นถ้ามนุษย์กินอาหารจำพวกพืช ผัก ผลไม้มากๆ จะดีต่อจุลินทรีย์ที่อยู่ในร่างกายเรา จุลินทรีย์ที่มีชีวิตอยู่และอยู่ในอาหาร คือ probiotics probiotics มีอยู่ในอาหารหลายๆ ประเภท เช่น กิมจิ (kimchi) โยเกิร์ต มิโสะ ฯลฯ ส่วน postbioticsคือ สารที่เกิดจากการย่อยสลายของ prebiotics นั่นเอง

ปัจจุบันนี้พบว่าโรคต่างๆ จะมีชนิดของจุลินทรีย์ไม่เหมือนกัน ปริมาณไม่เท่ากัน จะเกิดอาการหรือโรคต่างๆ ได้ถ้ามีชนิดต่างๆ ของจุลินทรีย์น้อยลง ถ้ามีหลายๆ ชนิดของจุลินทรีย์จะยิ่งดีต่อสุขภาพ

เพียงแต่ว่าในปัจจุบันนี้ แพทย์ยังไม่ทราบว่าโรคต่างๆ ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงของชนิดและปริมาณของจุลินทรีย์ในร่างกาย หรือการเปลี่ยนแปลงของจุลินทรีย์ ทำให้เกิดโรคต่างๆ ได้

ถ้ามีความก้าวหน้าทางด้านการแพทย์ จนเราสามารถวินิจฉัยได้ว่าโรคหนึ่งโรคใดขาดจุลินทรีย์ชนิดอะไรบ้าง เราอาจเติมจุลินทรีย์ชนิดนั้นๆ ให้ผู้ป่วย ถ้าสามารถผลิตจุลินทรีย์ชนิดนั้นได้โดยเฉพาะ เพื่อเป็นการรักษาแบบเฉพาะเจาะจง อย่างในโรค pseudomembranous colitis แพทย์สามารถรักษาให้หายขาดได้โดยการให้จุลินทรีย์ที่ผู้ป่วยขาดแคลนได้ ด้วยการปลูกถ่ายอุจจาระของคนปกติที่เก็บมาทำเป็น capsule ให้ผู้ป่วยกิน มีความรู้สึกเหมือนกับกินยา capsule

โยเกิร์ตที่มีจุลินทรีย์ที่มีชีวิตเป็นสารอาหารที่ดี เพียงแต่ว่ามันมีจุลินทรีย์ทั่วๆ ไป ไม่ได้มีเฉพาะเจาะจงสำหรับผู้ป่วยที่ขาดจุลินทรีย์ชนิดหนึ่งชนิดใด

ในปัจจุบันนี้วิธีดูแล microbiota คือ การมีพฤติกรรมชีวิตที่ดี เช่น กินอาหารที่ดีต่อสุขภาพ ที่มีใยอาหารมากๆ พืช ผัก ผลไม้ งดเนื้อแดง แปรรูป ลดไขมัน ฯลฯ ออกกำลังกาย นอนให้พอ (7-9 ชม.) ไม่ดื่มแอลกอฮอล์ ไม่สูบบุหรี่ ไม่เครียด ไม่ใช้ยาปฏิชีวนะถ้าไม่จำเป็น ฯลฯ

อีกหน่อย เมื่อความรู้ทางการแพทย์เจริญขึ้น อาจเป็นไปได้ว่า เมื่อคนเป็นโรคหนึ่งโรคใด อาจตรวจว่าขาดจุลินทรีย์อะไรแล้วจึงเติมจุลินทรีย์ที่ขาดให้ผู้ป่วยไป เป็นการรักษาที่เฉพาะเจาะจง

หายใจเข้าไว้ครับ ท่านใดที่อยู่ได้อีก 20 ปี อาจอยู่ต่อไปได้ -เพราะความก้าวหน้าทางการแพทย์ - อีก 30-40 ปี!?

นพ.พินิจ กุลละวณิชย์

 

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

  •  
  • Breaking News
  • ข่าวยอดนิยม
  • คอลัมน์ฮิต
12:00 น. หวดไทยพร้อมลุย! สู้ศึกชิงแชมป์โลกที่คาซัคฯ
11:59 น. 'จุลพันธ์'พร้อมคุย'อนุทิน'ทำประชามติ กม.คอมเพล็กซ์ ไม่ใช่เป็นการเสนอขึ้นมาลอยๆ
11:51 น. จ่ายครบ280ล้าน! 'มาดามแป้ง'เคลียร์เงินสโมสรจบทุกลีก
11:46 น. 'สรวงศ์'ขออย่าโยงการเมือง กับการลงโทษ 3 หมอปม 'ทักษิณ' ย้ำไม่เกี่ยว'รัฐบาลอิ๊งค์'
11:34 น. เศร้า! ช้างป่ากุยบุรีขาเจ็บล้มแล้ว สะเทือนใจผลชันสูตร
ดูทั้งหมด
ภาพอบอุ่นใจความรักที่งดงามของ 'กษัตริย์จิกมี-สมเด็จพระราชินี-เจ้าชาย-พระธิดา' ในยามค่ำคืนของทะเลทรายโกบี
(คลิป) 'ฐปณีย์' เละคาบ้าน! ด้อยค่าคนไม่เห็นด้วย 'เมียจ่าปืน' ออกโรงตอกกลับไม่ใช่ IO
‘ลาออก’ไปเถอะ! ฉะ‘นายกฯ’มีสติปัญญาแค่นี้ แผ่นเสียงตกร่องชู‘กาสิโน’แก้เศรษฐกิจ
มาแล้ว! กรมอุตุฯคาดหมายอากาศ 7 วันข้างหน้า ตั้งแต่ 4-10 พ.ค.68
'แก้ว อภิรดี'ควงลูกสาวเปิดสถานะหัวใจ เผยเตรียมสละโสดก่อนอายุ 35
ดูทั้งหมด
อวสาน‘ทักษิณ’คุกรออยู่
ความต่างของ สิงคโปร์ กับ ไทย
คุกนรก (1)
นักการเมือง ‘ส้มสารพิษ’
บุคคลแนวหน้า : 9 พฤษภาคม 2568
ดูทั้งหมด

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

'จุลพันธ์'พร้อมคุย'อนุทิน'ทำประชามติ กม.คอมเพล็กซ์ ไม่ใช่เป็นการเสนอขึ้นมาลอยๆ

จ่ายครบ280ล้าน! 'มาดามแป้ง'เคลียร์เงินสโมสรจบทุกลีก

ทั่วโลกจับตา! 'สหรัฐฯ'วางแผนเจรจาการค้า'จีน'สัปดาห์นี้ ลั่นกำแพงภาษีไม่เพิ่มกว่านี้แล้ว

ยิปซีพยากรณ์'ดวงรายวัน'ประจำวันศุกร์ที่ 9​ พฤษภาคม พ.ศ. 2568

ปตท. ลงนามสัญญาซื้อขายก๊าซธรรมชาติส่วนเพิ่มแหล่งอาทิตย์เสริมความมั่นคงพลังงานไทย

‘อุ๊งอิ๊งค์‘เลี่ยงตอบ! มติแพทย์สภา พักใบอนุญาต 3 หมอ เซ่นปม ชั้น 14

  • Breaking News
  • หวดไทยพร้อมลุย! สู้ศึกชิงแชมป์โลกที่คาซัคฯ หวดไทยพร้อมลุย! สู้ศึกชิงแชมป์โลกที่คาซัคฯ
  • \'จุลพันธ์\'พร้อมคุย\'อนุทิน\'ทำประชามติ กม.คอมเพล็กซ์ ไม่ใช่เป็นการเสนอขึ้นมาลอยๆ 'จุลพันธ์'พร้อมคุย'อนุทิน'ทำประชามติ กม.คอมเพล็กซ์ ไม่ใช่เป็นการเสนอขึ้นมาลอยๆ
  • จ่ายครบ280ล้าน! \'มาดามแป้ง\'เคลียร์เงินสโมสรจบทุกลีก จ่ายครบ280ล้าน! 'มาดามแป้ง'เคลียร์เงินสโมสรจบทุกลีก
  • \'สรวงศ์\'ขออย่าโยงการเมือง กับการลงโทษ 3 หมอปม \'ทักษิณ\' ย้ำไม่เกี่ยว\'รัฐบาลอิ๊งค์\' 'สรวงศ์'ขออย่าโยงการเมือง กับการลงโทษ 3 หมอปม 'ทักษิณ' ย้ำไม่เกี่ยว'รัฐบาลอิ๊งค์'
  • เศร้า! ช้างป่ากุยบุรีขาเจ็บล้มแล้ว สะเทือนใจผลชันสูตร เศร้า! ช้างป่ากุยบุรีขาเจ็บล้มแล้ว สะเทือนใจผลชันสูตร
ดูทั้งหมด

คอลัมน์ที่เกี่ยวข้อง

ป่าชายเลน

ป่าชายเลน

4 พ.ค. 2568

ศูนย์รับบริจาคอวัยวะ สภากาชาดไทย

ศูนย์รับบริจาคอวัยวะ สภากาชาดไทย

27 เม.ย. 2568

โลกร้อน–เราช่วยชาติได้อย่างไร

โลกร้อน–เราช่วยชาติได้อย่างไร

20 เม.ย. 2568

วันผู้สูงอายุ

วันผู้สูงอายุ

13 เม.ย. 2568

Carabao Cup

Carabao Cup

6 เม.ย. 2568

ฟุตบอลอังกฤษ

ฟุตบอลอังกฤษ

30 มี.ค. 2568

โรคอ้วน

โรคอ้วน

23 มี.ค. 2568

การทำอาชีพจากต้นตาล

การทำอาชีพจากต้นตาล

16 มี.ค. 2568

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นางสาวอัญชะลี ไพรีรัก
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved