วันเสาร์ ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / คอลัมน์ / คอลัมน์การเมือง / เขียนเพื่อคิด
เขียนเพื่อคิด

เขียนเพื่อคิด

กษิต ภิรมย์
วันพุธ ที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2562, 02.00 น.
ว่าด้วยเรื่องการปฏิรูปประเทศไทย: 3 ฝ่าย 3 มุมมอง

ดูทั้งหมด

  •  

การขีดเขียนกฎหมายรัฐธรรมนูญช่วงรัฐบาล คสช.ที่ผ่านมานั้น เรียกได้ว่าเป็นการปฏิรูปโครงสร้างรูปแบบเนื้อหาการเมือง การปกครองของไทยไปตามความคิดทัศนคติ มุมมอง ความประสงค์และความอยาก ความทะเยอทะยาน ของฝ่ายทหารการเมือง และผู้ร่วมอุดมการณ์เผด็จการนี้ เพียงฝ่ายเดียว โดยมีความเชื่อมั่นว่า ทหารต้องอยู่กับการเมืองเท่านั้น ประเทศชาติจึงจะมีความมั่นคงปลอดภัยทั้งชาติ ศาสน์ กษัตริย์ แต่ก็มิได้มีการแจกแจง หรือนิยามคำว่าสถาบันที่ว่านั้น

เมื่อวันที่กฎหมายรัฐธรรมนูญฉบับนี้ได้ผ่านประชามติตามการกำกับการ และตามความปรารถนาของรัฐบาล คสช.ก็เท่ากับว่า สังคมไทยนั้นได้มีการปฏิรูประบบการเมืองการปกครอง ไปเป็นในรูปแบบผสมผสานระหว่างระบอบประชาธิปไตย (การเลือกตั้งผู้แทนราษฎร) กับระบอบเผด็จการ(การแต่งตั้งสมาชิกวุฒิสภา) ถือเป็นประชาธิปไตยแบบครึ่งใบหรือจะเรียกว่าเป็นประชาธิปไตยแบบไทยๆ คือประชาธิปไตยแบบมีผู้ชี้ทิศทาง (Guided Democracy)


อย่างไรก็ดี ประชามติเมื่อสิงหาคม พ.ศ. 2559 มิได้ผ่านกันอย่าง “ชนะขาด” เพราะฝ่ายเห็นด้วย กับฝ่ายไม่เห็นด้วยมีคะแนนไม่ถือว่าแตกต่างกันมากนัก (เห็นด้วยกับร่างรัฐธรรมนูญ 61.35 ไม่เห็นด้วย 38.65 และในประเด็นเพิ่มเติม เห็นด้วย 58.07 ไม่เห็นด้วย 41.93) ทั้งนี้มิรวมและมินับว่า การมีส่วนร่วมในการขีดเขียนร่างกฎหมายรัฐธรรมนูญนั้น ขาดการมีส่วนร่วมเป็นอย่างมาก และฉะนั้น ความถูกต้องชอบธรรมของการได้มาซึ่งกฎหมายรัฐธรรมนูญปี 2560 จึงมีความจำกัด มีความบกพร่องอยู่ในตัว ดังที่ทราบกันดีในสังคม

ฝ่ายที่ไม่เห็นชอบกับกฎหมายรัฐธรรมนูญปี’60 ก็มองว่า กฎหมายรัฐธรรมนูญฉบับนี้ ได้วางโครงสร้าง และกำหนดบทบาทการเมืองการปกครองประเทศ ไปในทิศทางที่มีความเป็นประชาธิปไตยน้อยลง ถือเป็นการถอยหลังเข้าคลอง จึงจำเป็นต้องได้รับการแก้ไข เพื่อให้ประชาธิปไตยของไทยสามารถกลับก้าวไปข้างหน้าได้ ซึ่งก็ถือว่ามีสิทธิที่จะคิดเช่นนั้น และยังมีความชอบธรรมที่จะทำการเรียกร้องให้ดำเนินการแก้ไขอย่างเป็นรูปธรรม ก็พอจัดได้ว่ากลุ่มชนเหล่านี้ เป็นพวกหัวก้าวหน้า (Progressive) เมื่อเทียบกับกลุ่มทหารการเมืองที่เป็นพวกอนุรักษ์นิยม (Conservative) หรือพวกยึดมั่นถือมั่นกับฐานันดรเดิม (Status Quo)

อย่างไรก็ดี ในฝ่ายประสงค์แก้ไขกฎหมายรัฐธรรมนูญปี’60 ก็ยังมีอีกกลุ่มหนึ่งซึ่งมีอุดมการณ์ต่างจากพวกหัวก้าวหน้าดังกล่าวแทรกอยู่

โดยกลุ่มนี้ เป็นกลุ่มที่ต้องการเปลี่ยนแปลงโครงสร้าง รูปแบบ และเนื้อหาการเมืองการปกครองทั้งหมด (Transformation หรือ fundamental Change) เพราะมีมุมมองว่าด้วยสถาบันชาติ ศาสน์ กษัตริย์ แตกต่างไปจากทั้งกลุ่มอนุรักษ์นิยม และกลุ่มหัวก้าวหน้าก็ดี

กลุ่มนี้มีความเห็นต่างในเรื่องความเป็นราชอาณาจักรของรัฐไทย และมีความเห็นต่างในเรื่องความเป็นรัฐเดียวของไทย ส่งผลให้ต้องดำเนินการต่อต้านการผูกขาดของฝ่ายทหารที่แสดงตนในฐานะผู้พิทักษ์สถาบันชาติ ศาสน์ กษัตริย์

ผู้คนกลุ่มนี้ คือพวกอุดมการณ์ตกค้างมาจากพรรคคอมมิวนิสต์ และแนวคิดมารกซ์ - เลนิน - เหมา - เช
โดยพยายามสืบสานถ่ายทอดแนวความคิดมายังอนุชนรุ่นหลังๆ โดยถูกขีดเขียนด้วยนักคิด นักวิชาการ นักเคลื่อนไหว รุ่นใหม่ ที่ต่างฝังใจกับวลีว่าด้วย Liberty-Equality-Fraternity และเชื่อมั่นในการใช้ความรุนแรง และการเผชิญหน้า เพื่อคว่ำกระดานสังคม

ด้วยเหตุดังกล่าว ทำให้การดำเนินการแก้ไข หรือการยกร่างกฎหมายรัฐธรรมนูญใหม่ (เพื่อการปฏิรูปการเมือง
อย่างแท้จริง) ของไทย ก็เลยมีผู้เล่นอยู่ 3 ฝ่ายคือ

1. ฝ่ายอนุรักษ์นิยม อยู่บนแนวคิดการเมืองแบบทหารนำพา และแรงงานราชการเป็นแกนหลักขับเคลื่อน

2. ฝ่ายหัวก้าวหน้า อยู่บนแนวคิดการเมืองแบบเสรีประชาธิปไตยของการมีส่วนร่วมและการกระจายอำนาจ

3. ฝ่ายเปลี่ยนแปลงสังคม อยู่บนแนวคิดที่ต้องการสังคมที่ปราศจากชนชั้น และการอ้างว่าการดำเนินการใด
ก็กระทำในนามประชาชนผู้เป็นใหญ่ (โดยการกล่าวเอง และเออเอง)

ล่าสุด พลเอกอภิรัชต์ คงสมพงษ์ ได้ออกมาแสดงการบรรยายพิเศษ ว่าด้วยเรื่อง “แผ่นดินของเรา ในมุมมองด้านความมั่นคง” ซึ่งตัว ผบ.ทบ. เองก็ถือเป็นผู้แทนของฝ่ายอนุรักษ์นิยมทั้งปวง จึงเรียกได้ว่าเป็นการเปิด “ศึก” กับฝ่ายเปลี่ยนแปลงสังคมโดยปริยาย และปิดทางฝ่ายหัวก้าวหน้าไปด้วย

แต่สังคมไทย จะต้องใช้กำลังเอาชนะกันเช่นนั้นหรือจนบัดนี้ ประชาชนไทยไม่มีใครนิยมชมชอบกับการเผชิญหน้าและเอาแพ้เอาชนะกันให้ถึงที่สุด เพราะต่างได้บทเรียนจากวิกฤติการเมืองที่ทำลายชาติบ้านเมืองไปในตัวหลายครั้งหลายครา และเห็นความหายนะในต่างประเทศ

ฉะนั้น ก็ขอเสนอต่อ พลเอกอภิรัชต์ ว่า หากอยากแก้ไขปัญหากันโดยบ้านเมืองไม่บอบช้ำ ก็น่าจะได้เชิญตัวแทนแนวความคิดทุกหมู่เหล่ามานั่งคุยกันแบบเปิดอก ว่าด้วยเรื่องชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ในกรอบประชาธิปไตย กันไป เพื่อหาข้อสรุปร่วมกัน

อย่าลืมว่า ตั้งแต่ 24 มิถุนายน 2475 มาจนบัดนี้ ต่างฝ่ายก็ต่างอยู่กันคนละอุมการณ์มาโดยตลอด ไม่ว่าจะเป็น ฝ่ายกองทัพ ฝ่ายนักวิชาการ ฝ่ายพรรคการเมือง ฝ่ายปัญญาชน ฝ่ายธุรกิจ และสภาอาชีพ และประชาชนโดยทั่วไป ซึ่งแทบไม่เคยมีโอกาสถกกันเกี่ยวกับรูปแบบ และทัศนคติ ประชาธิปไตยของไทย ว่าจะมีจุดยืนร่วมกันอย่างไร การเมืองประเทศไทยจะได้นับหนึ่งแล้วก้าวไปในทิศทางเดียวกันเสียที

กษิต ภิรมย์

kasitfb@gmail.com

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

  •  
  • Breaking News
  • ข่าวยอดนิยม
  • คอลัมน์ฮิต
13:42 น. ‘ทักษิณ’เตรียมทอดผ้าป่า‘วัดบ้านไร่’ 19 ก.ค. สร้าง‘หลวงพ่อคูณ’องค์ใหญ่ที่สุดในโลก
13:22 น. ‘อนุสรณ์’แนะ‘ภราดร’ตรวจสอบคนในก่อนโวยวายคนนอกปมคุมเสียงไม่ได้
13:14 น. รัฐบาลเปิดระบบ‘มอก.วอทช์’ ดึง AI ล่าล้างบางของเถื่อน ผ่านทางออนไลน์ 24 ชม.
13:08 น. 'ตะไลชนโคม' สีสันกีฬาพื้นบ้าน-สร้างความสนุกสนาน'งานบุญวันเข้าพรรษา'
12:24 น. ฝนตกหนักถนนลื่น! เก๋งเสียหลักตกถนนสายน่าน-ร้องกวางบาดเจ็บ
ดูทั้งหมด
โปรดเกล้าฯ 'พล.อ.' พ้นจากการปฏิบัติหน้าที่ นายทหารราชองครักษ์พิเศษ
พอที'เพื่อไทย'!! อดีตเด็ก พท.หอบผ้าซบพรรคลุงป้อมพรึ่บ อีสานมาเพียบ! (คลิป)
'หมอวรงค์'บอกหนาวเลย! หลังฟังการไต่สวนคดี'ทักษิณ'ชั้น 14 รพ.ตร. ครั้งที่ 3
ศาลรัฐธรรมนูญ มีมติ 8 ต่อ 1 หญิงหย่าสามีต้องกลับไปใช้นามสกุลเดิม
'ดุ๊ก ภาณุเดช'วอนหยุดบุกรุกบ้านส่วนตัวที่เขาใหญ่ สุดทนคนแห่ถ่ายรูป-เดินชิลเหมือนอยู่คาเฟ่
ดูทั้งหมด
จีนยกระดับปราบ Cyber Scam ฉ้อโกงออนไลน์ให้เป็นวาระแห่งชาติ
ฝนตก-น้ำท่วม-ก่อสร้าง พึงระมัดระวังไฟดูด-ไฟรั่ว
ฮุนเซน-ทักษิณ (แพทองธาร) มิตรหรือศัตรู
บุคคลแนวหน้า วันที่ 12 ก.ค. 2568
ทักษิณยังคงคุยโวเหมือนเดิม
ดูทั้งหมด

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

‘ทักษิณ’เตรียมทอดผ้าป่า‘วัดบ้านไร่’ 19 ก.ค. สร้าง‘หลวงพ่อคูณ’องค์ใหญ่ที่สุดในโลก

‘พัทลุง’สลด! พบศพผัวเมียรับซื้อน้ำยาง ถูกยิงดับคู่ในบ้าน ตร.คาดทะเลาะกัน

‘ทนายวันชัย’มองเรื่อง‘สีกากอล์ฟ’ เปรียบฆาตกามต่อเนื่อง กระชากหน้ากาก‘คนห่มเหลือง’

ยิปซีพยากรณ์ดวงรายวัน ประจำวันเสาร์ที่ 12 ก.ค.68

สุดทน!‘สุทิน’จี้ผู้รักษากฎหมายต้องขยับ ปล่อยให้‘สทร.’ย่ำยีประเทศไม่ได้อีกแล้ว

‘นักเขียนซีไรต์’ฟาดนักการเมืองขี้ขลาด มุ่งแก้ ม.112 นิรโทษกรรมตัวเอง

  • Breaking News
  • ‘ทักษิณ’เตรียมทอดผ้าป่า‘วัดบ้านไร่’ 19 ก.ค. สร้าง‘หลวงพ่อคูณ’องค์ใหญ่ที่สุดในโลก ‘ทักษิณ’เตรียมทอดผ้าป่า‘วัดบ้านไร่’ 19 ก.ค. สร้าง‘หลวงพ่อคูณ’องค์ใหญ่ที่สุดในโลก
  • ‘อนุสรณ์’แนะ‘ภราดร’ตรวจสอบคนในก่อนโวยวายคนนอกปมคุมเสียงไม่ได้ ‘อนุสรณ์’แนะ‘ภราดร’ตรวจสอบคนในก่อนโวยวายคนนอกปมคุมเสียงไม่ได้
  • รัฐบาลเปิดระบบ‘มอก.วอทช์’ ดึง AI ล่าล้างบางของเถื่อน ผ่านทางออนไลน์ 24 ชม. รัฐบาลเปิดระบบ‘มอก.วอทช์’ ดึง AI ล่าล้างบางของเถื่อน ผ่านทางออนไลน์ 24 ชม.
  • \'ตะไลชนโคม\' สีสันกีฬาพื้นบ้าน-สร้างความสนุกสนาน\'งานบุญวันเข้าพรรษา\' 'ตะไลชนโคม' สีสันกีฬาพื้นบ้าน-สร้างความสนุกสนาน'งานบุญวันเข้าพรรษา'
  • ฝนตกหนักถนนลื่น! เก๋งเสียหลักตกถนนสายน่าน-ร้องกวางบาดเจ็บ ฝนตกหนักถนนลื่น! เก๋งเสียหลักตกถนนสายน่าน-ร้องกวางบาดเจ็บ
ดูทั้งหมด

คอลัมน์ที่เกี่ยวข้อง

ไม่เอาเผด็จการ ยังเพียรกับประชาธิปไตยต่อไป

ไม่เอาเผด็จการ ยังเพียรกับประชาธิปไตยต่อไป

9 ก.ค. 2568

ประธานาธิบดี ทรัมป์  ไม่โปรดพวกตีกินและเกาะกิน

ประธานาธิบดี ทรัมป์ ไม่โปรดพวกตีกินและเกาะกิน

2 ก.ค. 2568

เผด็จการไม่ยั่งยืนและประชาธิปไตย  แก้ไขปรับปรุงตัวเองไปได้ตลอด

เผด็จการไม่ยั่งยืนและประชาธิปไตย แก้ไขปรับปรุงตัวเองไปได้ตลอด

25 มิ.ย. 2568

Mood ในยุโรป

Mood ในยุโรป

18 มิ.ย. 2568

การเคารพ ปกป้องคุ้มครอง  องค์ประมุข และประมุขประเทศ

การเคารพ ปกป้องคุ้มครอง องค์ประมุข และประมุขประเทศ

11 มิ.ย. 2568

บทบาทของประเทศพลังอำนาจขนาดกลาง

บทบาทของประเทศพลังอำนาจขนาดกลาง

4 มิ.ย. 2568

ประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์  เริ่มผลักดันสันติภาพโลก ด้วยการเจรจาทางการทูต

ประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ เริ่มผลักดันสันติภาพโลก ด้วยการเจรจาทางการทูต

28 พ.ค. 2568

น้อมรำลึกถึงเจ้าชายสิทธัตถะ

น้อมรำลึกถึงเจ้าชายสิทธัตถะ

21 พ.ค. 2568

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved