l ขอปูพื้นความเข้าใจเบื้องต้น: ด้วยเรื่องราวที่มีสาระเกี่ยวข้องกับ เหตุการณ์ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๖ (๑)
1.ขอเริ่มด้วยโจทย์และคำถามใหญ่ของสังคมไทย ต่อเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ประชาธิปไตยไทย
๑.การมาจับเรื่องใหญ่ที่มีความสำคัญต่อการศึกษาเรียนรู้เหตุการณ์ประวัติศาสตร์ไทยเพื่อการก้าวไปข้างหน้า นำพาสังคมพัฒนาก้าวไกลไปสู่สังคมที่มีความเสมอภาคเท่าเทียมมีประชาธิปไตย เพื่อคนใหญ่ของสังคมไทยเป็นเรื่องที่ยากลำบากและมีอุปสรรคมากมายยิ่งและทำให้เข้าใจมากขึ้นว่า
๑.๑ ทำไมเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ประชาธิปไตยไทยในยุคต่างๆ จึงไม่มีการสรุปบทเรียน ความเป็นจริงของสังคมไทย ในแต่ละยุคที่ผ่านมา
เพราะมีคนคิดและทำจริงฯ น้อยมาก
เพราะมีโจทย์และคำถามมากมาย ที่ส่วนใหญ่“ไม่สามารถและเข้าถึงความจริงของเหตุการณ์ได้” ไม่อยากไปสร้างความขัดแย้ง กับ คนเห็นต่าง ซึ่งบางทีไปลดบทบาทของผู้นำบางส่วนในเหตุการณ์
คิดเอาเองว่า “ทำไป ก็ไม่สำเร็จ แล้วจะทำไปทำไม” แล้วปล่อยให้เรื่อง “ไม่จริง ไม่ถูกต้อง” ลอยนวล และไปไกลในสังคม ทำให้คนในสังคมส่วนใหญ่เข้าใจผิดพลาด และคงจมอยู่ใต้ทะเลแห่งอวิชชา ต่อไป โดยไม่ได้คิดถึงความรับผิดชอบของผู้นำต่อสังคมในการแสวงหาความจริงหรือเริ่มต้นทำก่อน
คนส่วนหนึ่งมีความปรารถนาจะเห็นสังคมก้าวไปข้างหน้า ได้แต่ “ตั้งคำถามต่อผู้นำในเหตุการณ์นั้นๆ” แต่ไม่มีการรวมกันคิดและทำ เพื่อให้เกิดความเป็นจริงขึ้น
๑.๒ ประเด็นสำคัญใหญ่ที่เป็นอุปสรรคส่วนหนึ่ง คือ
ก. “ผู้นำของสังคม ทั้งกองทัพ ข้าราชการ นักการเมืองนักธุรกิจ สื่อ ภาคประชาชน และผู้นำในการเคลื่อนไหวในวงการต่างๆ” ผู้มีหน้าที่และความรับผิดชอบ
ไม่ยอมทำหน้าที่ของตนต่อบ้านเมือง หรือไม่เข้าใจความสำคัญของการร่วมมือกันสรุปความเป็นจริงของเหตุการณ์นั้นๆ
ข. นักวิชาการ และนักวิเคราะห์สังคมไทย ขาดประสบการณ์และไม่มีบทเรียนในการทำหน้าที่สรุปบทเรียนฯ หรือขาดความกล้าหาญที่จะ “เริ่มต้น คิดและทำ” ในสิ่งที่ถูกต้องเพื่อบ้านเมือง โดยการเริ่มต้นลงมือคิดและทำ เพื่อให้คนรุ่นหลังสามารถนำไปต่อยอดต่อไป
๒.งานฉลอง ๕๐ ปี ๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๖ ดำเนินไปได้ด้วยดี โดยมีผู้รับผิดชอบหลายฝ่ายมีกิจกรรมใหญ่หลายงานที่เป็น “จุดเด่น” และทำได้ดีพอสมควรตามอัตภาพและทำได้ดีกว่า ปีก่อนๆ แต่การที่คนส่วนใหญ่ ทั้งรุ่นเก่าและรุ่นปัจจุบัน ไม่ได้เข้ามามีส่วนร่วมเป็นเรื่องน่าคิด และควรจะคิดต่อว่า “เป็นเพราะอะไร? ทำไม?” คำตอบที่ได้ประมวลมา
๒.๑ เป็นการจัดงานของคนรุ่นเก่า แบบเดิมๆ ไม่มีอะไรใหม่ๆ ที่มีสาระ น่าสน
๒.๒ ขาดการมีส่วนรวม ของคนทุกฝ่าย ทั้งคนรุ่นเก่า และโดยเฉพาะคนรุ่นใหม่
๒.๓ เมื่องานจบลง ทุกอย่างก็ดูจบลงไปตาม ไม่มีความเปลี่ยนแปลงอะไร
แต่ก็ดีใจเล็กๆ ที่มีผู้นำฯบางส่วน ได้เริ่มคิดและทำ ในสิ่งที่ดีและถูกต้อง สิ่งที่อยากเน้นคือ คณะจัดงานฝ่ายต่างๆ ร่วมคิดร่วมใจร่วมทำได้ดี ตามสภาพการณ์ที่เป็นจริง
2.งานด้านวิชาการที่สรุปความเป็นจริงของเหตุการณ์ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๖
๑.ควรจะสรุปและนำเสนอในภาพรวมทั้งหมดของเหตุการณ์ และเพื่อให้ได้ความจริงของเหตุการณ์
๒.ไม่ได้มีการรวมศูนย์ทำเรื่องงานเชิงวิชาการทางประวัติศาสตร์ร่วมกัน
โดยมีหลายองค์กรและบางส่วน ต่างฝ่ายนำเสนอข้อมูลและความเห็นของบุคคลที่ตนยอมรับทำให้เกิดปัญหาบางประการ โดยเฉพาะ “ผู้ใหญ่บางคน” ที่มีทัศนะและกรอบคิดอคติต่อบางสถาบันฯ และมีส่วนอย่างมากในการสร้างความสับสนต่อสังคม โดยเฉพาะเยาวชนฯ
๓.ผู้นำที่มีส่วนร่วมในเหตุการณ์ ที่ได้เขียนหรือแสดงทัศนะของตนออกมาต่อสังคม และลงพิมพ์ในหนังสือ
ควรจะได้มีการศึกษาค้นคว้า หาความจริงเพิ่มเติมต่อเหตุการณ์ ก่อนที่จะได้เขียนหรือแสดงออกมาฯ อันจะเป็นการทำให้ “การแสดงทัศนะหรืองานเขียนของตน” ถูกต้องใกล้เคียงกับความจริงมากขึ้น
๔.การทำเรื่องนี้ยังมีน้อย หลายภาคส่วนที่รับรู้และมีส่วนรวมในเหตุการณ์ ไม่ได้ร่วมแสดงความคิดเห็นรวมทั้งการเขียน หรือการสัมภาษณ์ผู้คนที่มีบทบาทในสังคมในช่วงนั้น ไม่ได้กล่าวถึง
ทำให้งานที่ออกมา ได้ไม่ครบถ้วน และเป็นข้อมูลที่เน้นหนักในบางด้านบางฝ่ายมากไป
๕.งานวิชาการที่ออกมาจากคนสู่สังคม มีน้อยกว่า “งานกิจกรรมและพิธีกรรม”
๖.กรอบความคิดในการแสดงออกและความคิดเห็นที่ลงในหนังสือที่เผยแพร่ออกมายังคงซ้ำเดิมแต่ก็มีบางคนบางส่วน ได้เน้นการให้ความสำคัญของการคิดใหม่ทำใหม่ เพื่อให้เกิดผลใหม่
๗.ในส่วนที่มีการสะท้อนออกมาของผู้นำที่มีส่วนร่วมในเหตุการณ์
๑.๑ ในส่วนที่เสนอภาพที่เห็นในมุมมองของตนในภาคส่วนต่างๆ ของเหตุการณ์เป็นข้อมูลที่มีประโยชน์ แต่ต้องนำไปวิเคราะห์ร่วมกับภาพรวมของเหตุการณ์เพื่อแยกแยะออก อะไรตรงกับความจริง และอะไรที่มิใช่
๑.๒ บางส่วนสะท้อนบทบาทของตนและองค์กรของตนมากไป และมีส่วนทำให้ลดบทบาทของบุคคลอื่นหรือ องค์กรอื่นๆ ที่มีบทบาท โดยที่ไม่ได้ทราบความจริง
๘.มีหลายเรื่อง ที่มีคนนำเสนอ “ภาพของเหตุการณ์บางส่วน” ผิดไปจากความเป็นจริง ซึ่งสร้างความสับสน และเกิดความผิดพลาดต่อเหตุการณ์ เพราะคนทั่วไปจะเกิดความเข้าใจผิดซึ่งมีหลายเหตุการณ์
๙.ผู้นำบางส่วนที่อยู่ร่วมในเหตุการณ์ ไม่ได้นำเสนอความจริงทั้งหมด โดยเลือกเสนอในส่วนที่มีประโยชน์ต่อตน
๑๐. แต่อย่างไรก็ดี สังคมไทยยังคงมีงาน เพื่อเฉลิมฉลอง“เหตุการณ์ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๖” ต่อไป อาจจะเป็นปีที่ ๖๐ ที่สังคมหวังจะเห็น “การนำเสนอความจริงแท้ของเหตุการณ์ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๖” ที่มีมากขึ้น จนถึงขั้นใกล้เคียงกับความสมบูรณ์ของเหตุการณ์
3.สิ่งที่ได้เห็น และได้รับทราบ จากการจัดงานครบรอบ ๕๐ ปี ๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๖ เพื่อนำไปปรับปรุงแก้ไขในการแสวงหาความจริงของเหตุการณ์ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๖ หัวใจสำคัญบางประการ คือ การตอบโจทย์และคำถามของสังคม ทั้งรุ่นใหญ่กลางเล็ก (เยาวชน) ประชาชนไทย จะสามารถได้เข้าถึงความเป็นจริงของสังคมไทย ต่อเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ของสังคมไทยในทุกเหตุการณ์ที่สำคัญของประเทศ ได้อย่างไร
๑.การตระหนักถึงความสำคัญของการแสวงหาความจริงของเหตุการณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์ ทำให้ประชาชนทุกฝ่าย เข้าถึงความจริงของแต่ละเหตุการณ์ที่มา ที่อยู่ ที่ไป อันจะทำให้เราได้รู้
๑.๑ จุดแข็ง จุดอ่อน และข้อจำกัดของสังคมไทยและพลังฝ่ายต่างๆ
๑.๒ การแก้ไขปฏิรูปสังคม ให้พลังฝ่ายต่างๆโดยเฉพาะภาคประชาชนเข้มแข็งมีพลังที่เป็นจริง
๑.๓ ทิศทาง และแนวทางที่ถูกต้อง ที่สอดคล้องกับสภาพสังคมไทย ที่จะพัฒนาไปได้จริง
๒.เราจะได้มี กรอบคิดที่ถูกต้อง ในการมองและเข้าใจสังคมไทยตามความเป็นจริง
เพราะที่ผ่านมา ทั้งกรอบคิดและผู้ที่มีบทบาทในการชี้นำทิศทางของบ้านเมือง มีข้อบกพร่องใหญ่ คือการนำกรอบคิดเสรีนิยมตะวันตกและสังคมนิยมของชาติอื่น มากำหนดทิศทางเดินของไทยซึ่งนอกจากไม่สอดคล้องและไม่เป็นจริงในการนำพาพัฒนาสังคมไทยได้แล้วยังเป็นการละเลยบทบาทของสถาบันและรัฐบาลบางยุค ที่ได้มีส่วนสำคัญในการพัฒนาประชาชนสังคมและบ้านเมือง
เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี