วันพุธ ที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / คอลัมน์ / คอลัมน์การเมือง / คิดด้วยพลเมือง (See-Think-Cen')
คิดด้วยพลเมือง (See-Think-Cen')

คิดด้วยพลเมือง (See-Think-Cen')

วันพุธ ที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2566, 02.00 น.
พิการ (ไม่) พิเศษ : สำรวจปัญหาความเหลื่อมล้ำของผู้พิการกับการศึกษาในสังคมไทย

ดูทั้งหมด

  •  

ในปัจจุบัน โอกาสในการเข้าถึงการศึกษาที่มีประสิทธิภาพของกลุ่มผู้พิการที่ยังคงเป็นปัญหาทางการศึกษาสำคัญที่เกิดขึ้นในสังคมไทย ซึ่งแม้ว่าในทางกฎหมาย รัฐจะให้ความสำคัญต่อการศึกษาโดยบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญว่าการศึกษาเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่ทุกคนจะต้องได้รับและสามารถเข้าถึงได้ แต่ในทางปฏิบัติ การจัดการศึกษาสำหรับกลุ่มผู้พิการนั้นยังคงเป็นเรื่องที่เข้าถึงได้ยากและไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควรจะเป็น เนื่องจากปัญหาที่เกิดขึ้นทั้งในด้านหลักสูตรโครงสร้างพื้นฐานทางการศึกษาสำหรับผู้พิการ ความสามารถในการเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพ และทัศนคติของบุคลากรในระบบการจัดการศึกษาแบบพิเศษ โดยสถิติรายงานข้อมูลสถานการณ์การศึกษาคนพิการในประเทศไทย ประจำปี พ.ศ. 2565 ไตรมาสที่ 1 ของกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้พิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ พบว่ายังมีผู้พิการที่ยังไม่ได้รับการศึกษา เป็นจำนวน 38,242 คนคิดเป็นร้อยละ 1.82 ของผู้พิการที่มีบัตรประจำตัวผู้พิการ โดยมีสัดส่วนของผู้พิการที่หลุดจากระบบการศึกษาจำนวน 13,155 คน หรือคิดเป็นร้อยละ 34.40 ของผู้พิการที่ไม่ได้รับการศึกษา ซึ่งยังไม่นับรวมถึงผู้พิการที่ไม่มีบัตรประจำตัวผู้พิการอีกจำนวนหนึ่งในสังคมที่ตกหล่นจากการสำรวจ ที่ยังขาดการเข้าถึงสิทธิในการศึกษาอันเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชนในสังคมที่พึงได้รับ 

ทั้งนี้ แม้ว่าจะมีผู้พิการจำนวน 1,625,191 คนคิดเป็นร้อยละ 77.30 ของผู้พิการที่มีบัตรประจำตัวผู้พิการ ที่ได้รับการระบุว่าเป็นผู้พิการได้รับการศึกษาในหลายระดับตั้งแต่ ประถมศึกษา มัธยมศึกษา ประกาศนียบัตรวิชาการศึกษา และอุดมศึกษา หากแต่ตัวเลขในเชิงปริมาณเหล่านี้ กลับไม่ได้เป็นการสะท้อนให้เห็นถึงความเหลื่อมล้ำที่ผู้พิการต้องพบเจอจากระบบการศึกษาในรายละเอียดแต่อย่างใด ซึ่งในบทความนี้ ผู้เขียนจะได้ชวนทุกท่านสำรวจถึงปัญหาของผู้พิการกับการศึกษาในสังคมไทยใน 3 ประเด็นสำคัญ ที่ส่งผลให้ความเหลื่อมล้ำของผู้พิการกับการศึกษายังเป็นเรื่องที่น่ากังวลในสังคม 


แบบไหนถึงจะเรียกว่า “พิการ” ในสายตาของการศึกษา 

ในประการแรก คือ เรื่องของการตีตรา (Label) เด็กในระบบการศึกษาว่าผู้พิการคนใดบ้างที่จะถูกมองว่ามีความบกพร่องหรือไม่มีความบกพร่องต่อการเรียนรู้ในระบบการศึกษา โดยแนวคิดของ R.P. McDermott (1993) ได้ชี้ให้เห็นว่าระบบการศึกษาในหลายประเทศ รวมถึงประเทศไทย ยังมีปัญหาในเรื่องของการจัดแบ่งประเภทของผู้ที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ที่มุ่งเน้นไปที่กลุ่มอาการที่เป็นความพิการทางร่างกาย ได้แก่ อาการตาบอด อาการหูหนวก หรืออาการที่เป็นความผิดปกติทางพันธุกรรม เช่น กลุ่มอาการออทิสติก (Autistic Disorder) และให้ความสำคัญกับการพัฒนาการศึกษาเฉพาะทางของเด็กกลุ่มนี้เป็นหลัก ซึ่งในความเป็นจริงแล้วการศึกษาของผู้ที่มีความบกพร่องในแง่ที่เป็นเชิงจิตวิทยา เช่น กลุ่มเด็กที่มีอาการความบกพร่องทางการคำนวณ การอ่าน หรือการเขียน (Learning Disabilities : LD) ยังเป็นกลุ่มที่ถูกละเลยจากการมองของรัฐในฐานะที่เป็นผู้พิการที่ไม่สามารถเข้าเรียนตามหลักสูตรการศึกษาภาคปกติได้ จึงทำให้เด็กที่มีความบกพร่องดังกล่าวยังถูกบังคับให้ต้องเรียนอยู่ในหลักสูตรการศึกษาแบบทั่วไป และไม่สามารถที่จะเข้าถึงเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ 

“ความรวย” และ “ความจน” ส่งผลกับ “โอกาส” ในการศึกษาที่ไม่เท่าเทียมกัน 

ในประการที่สอง คือ เรื่องของทุนที่มีผลต่อการผลิตซ้ำทางความเหลื่อมล้ำในสถาบันการศึกษา โดยจากแนวคิดของ Pierre Bourdieu (1986) เกี่ยวกับความเหลื่อมล้ำในสถาบันการศึกษา ได้อธิบายว่าในความเป็นจริง สภาพสังคมที่ในแต่ละครอบครัวของผู้พิการนั้นมีทุนทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และสัญลักษณ์ที่แตกต่างกันนี้ แม้ว่ารัฐจะจัดให้มีการศึกษารูปแบบพิเศษขึ้นสำหรับผู้พิการ แต่ทุนที่ไม่เท่ากันทั้งในเรื่องของเงินทองและชื่อเสียง ยังคงทำให้โรงเรียนกลายเป็นพื้นที่ผลิตซ้ำทางความเหลื่อมล้ำของโอกาสในการประสบความสำเร็จทางการศึกษาที่ไม่เท่าเทียมกันในผู้พิการแต่ละคน โดยที่ครอบครัวของผู้พิการแต่มีทุนทรัพย์นั้น อาจสามารถส่งเสริมการเข้าถึงโอกาสในการศึกษาที่ดีกว่าผู้พิการที่ไม่มีทุนทรัพย์ได้มากกว่า 

เพราะ “ครู” ก็เป็นส่วนหนึ่งของความเหลื่อมล้ำในการศึกษาของผู้พิการ 

ในประการสุดท้าย คือ เรื่องของบุคลากรที่อยู่ในระบบการศึกษา โดยจากแนวคิดของ George Dearborn Spindler (1960) เกี่ยวกับการอธิบายและจำแนกประเภทของครูในฐานะที่เป็นผู้ส่งผ่านทางวัฒนธรรม พบว่า ในระบบการศึกษาของไทยจะมีครูที่ปรากฏอยู่ใน 2 รูปแบบ ได้แก่ (1) Reaffirmativetraditionalist หรือครูที่ต้องเผชิญกับระบบคุณค่าและรูปแบบการสอนแบบใหม่ที่ทำให้รู้สึกกดดัน และเกิดภาวะยึดเอาแนวทางการสอนที่ยึดโยงกับตัวผู้สอนเป็นหลัก และ (2) Compensatory Emergentist หรือครูที่เน้นการเรียนการสอนเป็นไปในรูปแบบที่เน้นความสอดคล้องกันของกลุ่มและปิดกั้นความแตกต่างหลากหลายของผู้เรียน ซึ่งครูทั้งสองรูปแบบในข้างต้น มีแนวโน้มที่จะทำให้การเรียนรู้ของกลุ่มผู้พิการในระบบการศึกษาถูกปิดกั้นโอกาสจากการที่ครูไม่มีความเข้าใจต่อวัฒนธรรมในชั้นเรียนของกลุ่มผู้พิการที่ต้องการรูปแบบการเรียนรู้ที่เน้นความเข้าใจเป็นพิเศษ และส่งผลให้การศึกษาในกลุ่มผู้พิการไม่เกิดประสิทธิภาพเท่าที่ควรจะเป็น 

พลิกโฉมการศึกษาไทยที่ใส่ใจ “ผู้พิการ” มากขึ้น 

สำหรับข้อเสนอแนะในการพัฒนาและแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในระบบการศึกษาของกลุ่มผู้พิการในประเทศไทยนั้น ผู้เขียนได้มีข้อเสนอแนะที่จะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาระบบการศึกษาของไทยที่ใส่ใจผู้พิการมากขึ้น ใน 3 ประเด็นสำคัญ ดังนี้ 

(1) รัฐจะต้องจัดให้มีระบบการจัดการศึกษาแบบพิเศษสำหรับกลุ่มผู้พิการที่มีประสิทธิภาพ และเข้าถึงได้โดยกลุ่มผู้พิการทุกคนได้อย่างเท่าเทียมและเสมอภาคกัน ผ่านการอุดหนุนในด้านของงบประมาณด้านการศึกษาและการกระจายบุคลากรที่มีประสิทธิภาพและมีความเฉพาะทางในด้านการศึกษาสำหรับกลุ่มผู้พิการให้เข้าถึงในสถานศึกษาสำหรับผู้พิการในพื้นที่ต่างๆเพื่อลดช่องว่างในเรื่องของทุนที่แตกต่างกันให้ได้มากที่สุดในการเข้าถึงโอกาสทางการศึกษาของกลุ่มผู้พิการ  

(2) การพิจารณาปรับปรุงหลักสูตรโครงสร้างพื้นฐานทางการศึกษาที่จะต้องทำความเข้าใจถึงความแตกต่างหลากหลายของกลุ่มผู้ที่มีความพิการและความบกพร่องในการเรียนรู้ที่แตกต่างกันออกไปในแต่ละกลุ่ม และจัดการเรียนการสอน รูปแบบเนื้อหา และทรัพยากรที่ใช้ในการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับความต้องการพิเศษของผู้พิการในแต่ละกลุ่มที่มีความต้องการในการเรียนรู้ที่แตกต่างกันออกไป เช่น ในกลุ่มผู้พิการที่มีภาวะออทิสติก จำเป็นที่จะต้องมีการจัดให้มีการเรียนในเรื่องของพัฒนาการทางด้านอารมณ์ (EQ) ที่เหมาะสม เป็นต้น  

(3) การพัฒนาบุคลากรทางการศึกษา ให้เป็นไปในลักษณะของครูที่สามารถปรับตัวให้เข้ากับระบบการเรียนการสอนและระบบคุณค่าที่เปลี่ยนแปลงและแตกต่างไปจากแบบปกติ ซึ่งครูในลักษณะดังกล่าวจะสามารถเชื่อมโยงและสร้างแนวทางใหม่ในการส่งผ่านวัฒนธรรมและส่งเสริมการเรียนรู้บนพื้นฐานที่ยึดอยู่บนความแตกต่างหลากหลายของผู้เรียนเป็นหลัก และทำให้การเรียนการสอนในระบบของการจัดการศึกษาแบบพิเศษสำหรับกลุ่มผู้พิการเกิดประสิทธิภาพในการเรียนรู้มากที่สุด  

ในท้ายที่สุดแล้ว การพัฒนาทั้งในด้านการเข้าถึงโอกาสทางการศึกษาที่เท่าเทียม การมีหลักสูตรการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับผู้พิการในแต่ละกลุ่ม และการพัฒนาบุคลากรทางการศึกษาให้มีประสิทธิภาพ จะทำให้การพัฒนาทางด้านการศึกษาของกลุ่มผู้พิการในไทยเป็นไปในทิศทางที่ดีขึ้น และสร้างสังคมที่มีผู้พิการจะได้รับความสนใจที่ “พิเศษ” มากขึ้นจากคนในสังคม 

เจษฎา จงสิริจตุพร

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

  •  
  • Breaking News
  • ข่าวยอดนิยม
  • คอลัมน์ฮิต
13:42 น. 'เด็จพี่'ชี้'แพทองธาร'แค่หยุดปฏิบัติหน้าที่ชั่วคราว ประเทศยังไม่ถึงทางตัน ครม.พร้อมลุยแก้ปัญหา
13:40 น. (คลิป) ระทึก! นักกฎหมายดัง ฟันฉับ! สึนามิการเมือง จ่อถล่มรัฐบาล ส.ค.นี้ กวาดเรียบ!
13:38 น. ประเดิมส.ค.นี้!กำหนดวันเปิดสนามไทยลีกฤดูกาลใหม่
13:24 น. สตม.โชว์ผลงาน! รวบ'ชาวจีน'หนีคดีค้ายา-แชร์ลูกโซ่
13:23 น. เชิญชมเทศกาลศิลปะ ‘พระนคร ออน โอ่งอ่าง : หันน่าเข้าคลอง’ 11-13 ก.ค.นี้
ดูทั้งหมด
ผลสลากกินแบ่งรัฐบาล งวดประจำวันที่ 1 กรกฎาคม 2568
‘มาครง’เผยคุย‘แพทองธาร’แล้ว ลั่นคนไทยไว้วางใจมิตรภาพจาก‘ฝรั่งเศส’ได้เสมอ
‘หม่อมปนัดดา‘ ปรากฏตัวกลางม็อบ ‘รวมพลังแผ่นดิน’ ของดให้สัมภาษณ์สื่อ
แกว่งเท้าหาเสี้ยน! ปรากฏการณ์แฉโพย‘สายส้ม’เข้มข้น-ล่อนจ้อน
'ออสเตรเลีย'ออกคำเตือนพลเมืองมา'ไทย'หลังพบวัตถุต้องสงสัยหลายเมืองท่องเที่ยวภาคใต้
ดูทั้งหมด
ต้นสนยักษ์ร่วมสมัยกับฟาโรห์
‘คลิปเขมร’เหตุอัปยศ‘แพทองธาร’
รู้ทันคอร์รัปชันด้วยวิทยาศาสตร์ ไม่ใช่แค่ศีลธรรม
วาทกรรมเจ็บจี๊ด
อุ๊งอิ๊งค์ 2 ปรับ ครม. ฟอร์มาลีน
ดูทั้งหมด

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

(คลิป) ระทึก! นักกฎหมายดัง ฟันฉับ! สึนามิการเมือง จ่อถล่มรัฐบาล ส.ค.นี้ กวาดเรียบ!

ประเดิมส.ค.นี้!กำหนดวันเปิดสนามไทยลีกฤดูกาลใหม่

อำลาเจลีก!บีจีดึง'เจริญศักดิ์'คืนทัพสู้ไทยลีก

'พิธา' ของจริง หรือ ของปลอม? วิจารณ์แนวคิด'ขี้ข้าชาวตะวันตก' ไม่สอดคล้องความจริง

(คลิป) 'ณัฐวุฒิ'แซะ! ดาบในมือศาลรัฐธรรมนูญ อาจเป็นอาวุธทำลายฝ่ายตรงข้ามทางการเมือง

ตำรวจพะเยาไล่ล่าแก๊งค้ายา ยิงสกัดยึดยาบ้า 1.5 แสนเม็ด คนร้ายเผ่นหนีเข้าป่า

  • Breaking News
  • \'เด็จพี่\'ชี้\'แพทองธาร\'แค่หยุดปฏิบัติหน้าที่ชั่วคราว ประเทศยังไม่ถึงทางตัน ครม.พร้อมลุยแก้ปัญหา 'เด็จพี่'ชี้'แพทองธาร'แค่หยุดปฏิบัติหน้าที่ชั่วคราว ประเทศยังไม่ถึงทางตัน ครม.พร้อมลุยแก้ปัญหา
  • (คลิป) ระทึก! นักกฎหมายดัง ฟันฉับ! สึนามิการเมือง จ่อถล่มรัฐบาล ส.ค.นี้ กวาดเรียบ! (คลิป) ระทึก! นักกฎหมายดัง ฟันฉับ! สึนามิการเมือง จ่อถล่มรัฐบาล ส.ค.นี้ กวาดเรียบ!
  • ประเดิมส.ค.นี้!กำหนดวันเปิดสนามไทยลีกฤดูกาลใหม่ ประเดิมส.ค.นี้!กำหนดวันเปิดสนามไทยลีกฤดูกาลใหม่
  • สตม.โชว์ผลงาน! รวบ\'ชาวจีน\'หนีคดีค้ายา-แชร์ลูกโซ่ สตม.โชว์ผลงาน! รวบ'ชาวจีน'หนีคดีค้ายา-แชร์ลูกโซ่
  • เชิญชมเทศกาลศิลปะ ‘พระนคร ออน โอ่งอ่าง : หันน่าเข้าคลอง’ 11-13 ก.ค.นี้ เชิญชมเทศกาลศิลปะ ‘พระนคร ออน โอ่งอ่าง : หันน่าเข้าคลอง’ 11-13 ก.ค.นี้
ดูทั้งหมด

คอลัมน์ที่เกี่ยวข้อง

พัฒนาทักษะการสื่อสารด้านการต่อต้านคอร์รัปชันผ่านการกระทำเชิงสัญลักษณ์

พัฒนาทักษะการสื่อสารด้านการต่อต้านคอร์รัปชันผ่านการกระทำเชิงสัญลักษณ์

25 มิ.ย. 2568

จีนกระจุก เทากระจาย: มอง ‘ทุนจีนเทา’ ที่กลืนกลายอยู่ในสังคมไทยผ่านมุมมองสังคมวิทยา

จีนกระจุก เทากระจาย: มอง ‘ทุนจีนเทา’ ที่กลืนกลายอยู่ในสังคมไทยผ่านมุมมองสังคมวิทยา

18 มิ.ย. 2568

องค์กรย้อนแย้งลักลั่นและเกมผักชีโรยหน้าในดินแดนมัชฌิมา

องค์กรย้อนแย้งลักลั่นและเกมผักชีโรยหน้าในดินแดนมัชฌิมา

11 มิ.ย. 2568

การแจ้งเบาะแส เทคโนโลยี และการแก้คอร์รัปชัน

การแจ้งเบาะแส เทคโนโลยี และการแก้คอร์รัปชัน

28 พ.ค. 2568

เมื่อผู้หญิงเผชิญหน้ากับคอร์รัปชัน : ความไม่เท่าเทียมทางเพศในมิติที่สังคมไทยมองข้าม

เมื่อผู้หญิงเผชิญหน้ากับคอร์รัปชัน : ความไม่เท่าเทียมทางเพศในมิติที่สังคมไทยมองข้าม

21 พ.ค. 2568

เลือกตั้งเทศบาล 68 : ประชาชนร่วมสร้างความโปร่งใสในการเลือกตั้งได้อย่างไรบ้าง

เลือกตั้งเทศบาล 68 : ประชาชนร่วมสร้างความโปร่งใสในการเลือกตั้งได้อย่างไรบ้าง

14 พ.ค. 2568

The Corruption ระบบแท้ คนเก๊: วิเคราะห์ปัญหาคอร์รัปชันที่ประเทศไทยไม่มีทางแก้?

The Corruption ระบบแท้ คนเก๊: วิเคราะห์ปัญหาคอร์รัปชันที่ประเทศไทยไม่มีทางแก้?

30 เม.ย. 2568

การกลับคืนสู่อำนาจของทรัมป์: ผลกระทบต่อกระแสความคิดและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

การกลับคืนสู่อำนาจของทรัมป์: ผลกระทบต่อกระแสความคิดและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

23 เม.ย. 2568

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved