วันจันทร์ ที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / คอลัมน์ / คอลัมน์การเมือง / ปรีชา'ทัศน์
ปรีชา'ทัศน์

ปรีชา'ทัศน์

วันศุกร์ ที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567, 02.00 น.
ตำแหน่งอธิการบดีธรรมศาสตร์ไม่ควรผูกขาดเฉพาะคณะที่ท่าพระจันทร์เท่านั้น

ดูทั้งหมด

  •  

เมื่อผมได้อ่านหนังสือ “ดิฉัน....ชื่อ นงเยาว์ ชัยเสรี” หน้า ๖๔-๖๖ ในหัวข้อ “You ไม่ใช่ University เป็นได้แค่ College of Social Science เท่านั้น”

คุณหญิงนงเยาว์ได้เล่าว่า.....เมื่อทำหน้าที่อธิการบดี สิ่งแรกที่ท่านนึกถึง คือคำพูดของอาจารย์ป๋วย อึ๊งภากรณ์ เมื่อครั้งยังดำรงตำแหน่งอธิการบดี ในเรื่องที่ “เราจะต้องไปรังสิตให้ได้” ทำให้ท่านตระหนักถึงพันธกิจโครงการแรก คือ การวางแผนงานขยายมหาวิทยาลัยไปรังสิต ประจวบกับช่วงเวลานั้น....เวลาได้เดินทางไปต่างประเทศ เพื่อสร้างความสัมพันธ์กับมหาวิทยาลัยต่างๆ ทั้งในสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่น ได้เคยนำเสนอผู้บริหารมหาวิทยาลัยในต่างประเทศว่า


“เราเป็น University อันดับต้นๆ ของไทย” แต่ผู้บริหารมหาวิทยาลัยเหล่านั้นก็วิจารณ์กลับอย่างตรงไปตรงมาว่าอย่างกรณีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์นั้น

“......You ไม่ใช่ University เป็นได้แค่ College of Social Science เท่านั้น เพราะมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ไม่มีสาขาในด้านวิทยาศาสตร์ ไม่มีสาขาวิศวกรรมศาสตร์ ไม่มีคณะแพทยศาสตร์ ไม่มีคณะที่หลากหลายสาขาหรือศาสตร์ที่แตกต่างกัน....”

ปัจจุบันมีครบสมบูรณ์แล้ว ตามเจตนาของอาจารย์ป๋วย อึ๊งภากรณ์ และคุณหญิง นงเยาว์ ชัยเสรี ครับ

อย่างไรก็ตาม คำวิจารณ์ดังกล่าว ทำให้ผมต้องไปทบทวนถึงแคนดิเดต 3 ท่านที่เสนอตัวลงชิงตำแหน่งอธิการบดี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ที่ขณะนี้กำลังอยู่ในกระบวนการสรรหา ซึ่งมาจากคณะนิติศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี อันเป็น 3 ใน 4 คณะแรกดั้งเดิมถ้ารวมคณะเศรษฐศาสตร์ไปด้วย

สามท่านนั้นล้วนเป็นอาจารย์จากคณะที่ท่าพระจันทร์แต่เดิม ตั้งแต่ยังไม่ขยายมาที่รังสิตและปัจจุบันก็ยังคงเป็นคณะจากเดิมที่ท่าพระจันทร์นั่นเอง จะด้วยข้อจำกัดอะไรไม่อาจทราบได้ จึงไม่มีอาจารย์จากคณะใหม่ๆ ทางด้านแพทยศาสตร์ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีหรือวิศวกรรมศาสตร์จากที่รังสิตมาสมัครเป็นอธิการบดี

ตรงนี้จะถือว่าเป็นประเพณีที่ถือปฏิบัติกันมาก็ไม่อาจสรุปได้เช่นนั้น เพราะถึงแม้ปรัชญาการจัดการการศึกษาขั้นรากฐานของการจัดตั้งมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมืองวางเข็มอยู่ที่การผลิตกำลังคนที่มีความรู้กว้างขวาง หลากหลายและมีความรู้รอบตัวสูง อันเป็นลักษณะของวิชาทางด้านสังคมศาสตร์ และมาตรา ๔ พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง พ.ศ.๒๔๗๖ ก็ระบุว่า “ให้จัดตั้งมหาวิทยาลัยขึ้นมหาวิทยาลัยหนึ่งเรียกว่า “มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง” มีหน้าที่จัดการศึกษาวิชากฎหมายวิชาการเมือง วิชาเศรษฐการและบรรดาวิชาอื่นๆอันเกี่ยวกับวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง”

ไม่ต่างจากมหาวิทยาลัยในตะวันตกที่มีชื่อเสียงและเน้นการเรียนการสอนทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ เทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์อย่าง MIT ก็มีประเพณีปฏิบัติคล้ายกันนี้ คือตลอดระยะเวลา 156 ปีของสถาบันเทคโนโลยีแห่งแมสซาชูเซตส์ (MIT) อดีตอธิการบดี 17 คน รวมถึงคนที่ 18 ในปัจจุบัน ล้วนแล้วแต่มีพื้นฐานการศึกษามาจากทางด้านวิศวกรรม เทคโนโลยีหรือวิทยาศาสตร์ในสาขาต่างๆ ทั้งนั้น แม้ MIT ได้เปิดให้มีการเรียนการสอนวิชาด้านสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์มานานหลายสิบปีแล้วก็ตาม

ส่วนมหาวิทยาลัยคู่แข่งในรัฐเดียวกันอย่าง ฮาร์วาร์ด ก็พึ่งเริ่มเปิดกว้างในตำแหน่งอธิการบดีเมื่อปี 2550 นี้เองเมื่อคณะกรรมการสรรหาได้เลือก Drew Gilpin Faust ที่ไม่ได้เป็นลูกหม้อเก่าแก่ดั้งเดิม หรือผ่านการศึกษาจากฮาร์วาร์ดไม่ว่าระดับไหน ขึ้นดำรงเป็นอธิการบดีหญิงคนแรกของมหาวิทยาลัยที่มีอายุ 387 ปีแห่งนี้ และปีที่แล้วประชาคมฮาร์วาร์ดได้เลือก Claudine Gay เป็นอธิการบดีหญิงผิวดำคนแรกในประวัติศาสตร์ของฮาร์วาร์ด

ขณะที่ข้อจำกัดอย่างหนึ่งของกระบวนการสรรหาอธิการบดีของธรรมศาสตร์ที่ทราบคือ คณะกรรมการสรรหาไม่มีอำนาจเสนอชื่ออาจารย์ในคณะต่างๆ ที่เห็นว่าเป็นผู้เหมาะสมเพิ่มเติมเข้ามาเป็นผู้สมัครได้ ถ้าท่านนั้นไม่สมัครเข้ามาเอง หรือไม่ได้รับการเสนอชื่อจากประชาคมชาวธรรมศาสตร์

อันต่างกับมหาวิทยาลัยอายุกว่า 800 ปีอย่างเคมบริดจ์ที่เมื่อมีนาคมปีที่แล้ว คณะกรรมการสรรหาได้ไปทาบทาม Debbie Prentice อธิการบดีของมหาวิทยาลัยพรินซ์ตัน สหรัฐอเมริกา ให้มารับตำแหน่งรองอธิการบดีฝ่ายวิชาการที่เคมบริดจ์ ซึ่งเธอก็ตอบตกลง หรือ Lawrence Bacow อดีตอธิการบดี ฮาร์วาร์ด คนก่อนหน้า Claudine Gay ก็เป็นอธิการบดี มหาวิทยาลัยทัฟส์ มาก่อนที่จะได้รับการทาบทามจากกรรมการสรรหาของฮาร์วาร์ดให้มาดำรงแหน่งอธิการบดี คนที่ 29 และก่อนหน้านั้น Bacow ก็เป็นนายกสภาฯ ของ MIT มาก่อน

ตรงนี้จะเห็นได้ว่าตำแหน่งผู้บริหารระดับสูงของมหาวิทยาลัยในตะวันตกส่วนใหญ่แล้ว ไม่ได้ถูกผูกขาดอยู่แต่เฉพาะบุคคลที่เป็นลูกหม้อ ศิษย์เก่าหรือจากคณะดั้งเดิม คณะกรรมการสรรหาสามารถเฟ้นหาบุคคลที่มีความเหมาะสมทั้งจากภายในและข้างนอก แล้วทาบทามให้เข้ามาร่วมเป็นแคนดิเดต เพื่อผ่านกระบวนการคัดสรรในขั้นตอนต่อไป เช่นในกรณีของ Drew Gilpin Faust, Debbie Prentice หรือ Lawrence Bacow

เมื่อวานนี้ ขณะที่ผมกำลังเขียนบทความนี้อยู่ (๒๒ ก.พ.) เป็นวันที่ประชาคมธรรมศาสตร์กำลังใช้สิทธิเสนอชื่อผู้สมควรดำรงตำแหน่งอธิการบดี ซึ่งวันนี้ก็คงทราบกันแล้วว่า นอกจากแคนดิเดต 3 ท่านจากคณะดั้งเดิมที่ท่าพระจันทร์แล้ว จะมีแคนดิเดตจากคณะใหม่ๆ ที่รังสิตหรือไม่ แล้วถ้าไม่มี.....

คณะกรรมการสรรหาสามารถขยายเวลาต่อไปอีกได้ไหม สามารถทาบทามอาจารย์ในคณะใหม่ๆ ที่รังสิตเข้ามาเป็นแคนดิเดตอธิการบดีได้ไหม

ถ้าทำไม่ได้......อธิการบดีคนใหม่ก็จะหนีไม่พ้นสามท่านนั้น ครับ และขออภัยที่เราก็ยังเป็น College of Social Science เหมือนเดิมเพราะตำแหน่งอธิการบดี ไม่ใช่เพราะมีคณะใหม่ๆ ทางด้านวิทยาศาสตร์ การแพทย์หรือวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีที่รังสิตแต่อย่างใด

ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.ปรีชา สุวรรณทัต

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

  •  
  • Breaking News
  • ข่าวยอดนิยม
  • คอลัมน์ฮิต
12:03 น. รัฐบาลเตือนคนไทยอย่าเป็นนิมินีต่างชาติ ฝ่าฝืนมีโทษทั้งจำทั้งปรับ
12:00 น. ยังรับไม่ได้กับสิ่งที่เกิดขึ้น'ใบเตย'เปิดใจโรคซึมเศร้ารุมเร้า'ดีเจแมน'ให้กำลังใจ
11:55 น. 80แต่ยังไหว! ‘มูเซเวนี’ลั่นพร้อมลงชิงเก้าอี้ปธน.‘ยูกันดา’อีกสมัย หากชนะจะครองอำนาจยาว4ทศวรรษ
11:55 น. กระตุก‘รมว.วัฒนธรรม’ ปมคืนโบราณวัตถุให้เขมร อย่าโยงประเด็นการเมือง
11:49 น. โรงเรียนปิยมาส สืบสานพระราชปณิธาน'ในหลวงรัชกาลที่ ๙' ชวนนักเรียนลงแขกดำนา
ดูทั้งหมด
ปิดตำนาน156ปี! 'กษัตริย์ชาร์ลส์'ประกาศปลดระวาง'รถไฟหลวง' สมาชิกราชวงศ์ไปใช้รถไฟปกติแทน
หมอดังเผยเคยไม่เข้าใจ 'เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์' ทรงงานแม้พระอาการประชวร ก่อนป่วยมะเร็งเองจึงซึ้งพระทัย
บิ๊กเนม'ปชป.'ร่วมวงเพียบ!! 'คุณหญิงกัลยา'ตั้ง'พรรคไทยก้าวใหม่' พร้อมตั้ง'สุชัชวีร์'นั่งหัวหน้าฯ
'เท้ง'แย่แล้ว!! เจอขบวนรถทัวร์แห่คอมเมนต์แจกพยัญชนะไทยฉ่ำ!!
ชวนให้คิด! 'หมอพรทิพย์'โพสต์ 'นายกฯตระกูลชิน'กับระบบการเมืองไทย
ดูทั้งหมด
นักการเมิอง มนุษย์ประเภทไหน
ทางออกที่ไม่มีใครได้อะไรเต็ม 100% แต่ประเทศชาติไม่ตกหุบเหววิกฤต
บุคคลแนวหน้า : 7 กรกฎาคม 2568
บทบรรณาธิการ 7 กรกฎาคม 2568
งกครองโลก (2)
ดูทั้งหมด

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

รัฐบาลเตือนคนไทยอย่าเป็นนิมินีต่างชาติ ฝ่าฝืนมีโทษทั้งจำทั้งปรับ

กระตุก‘รมว.วัฒนธรรม’ ปมคืนโบราณวัตถุให้เขมร อย่าโยงประเด็นการเมือง

80แต่ยังไหว! ‘มูเซเวนี’ลั่นพร้อมลงชิงเก้าอี้ปธน.‘ยูกันดา’อีกสมัย หากชนะจะครองอำนาจยาว4ทศวรรษ

‘ชูศักดิ์’รับหารืออำนาจ‘รักษาการนายกฯ’จริง โยนถามเลขากฤษฎีกาปมยุบสภา-ตั้งรมต.ใหม่

'อิ๊งค์'ยิ้มแย้ม เข้าทำเนียบ ร่วมประชุมคกก.จัดงานเฉลิมพระเกียรติ ในฐานะ รมว.วธ.

ศาลฎีกาสั่งคุกตลอดชีวิต! มือวางระเบิดใกล้ศาลทวดสะบ้าย้อย ปี63

  • Breaking News
  • รัฐบาลเตือนคนไทยอย่าเป็นนิมินีต่างชาติ ฝ่าฝืนมีโทษทั้งจำทั้งปรับ รัฐบาลเตือนคนไทยอย่าเป็นนิมินีต่างชาติ ฝ่าฝืนมีโทษทั้งจำทั้งปรับ
  • ยังรับไม่ได้กับสิ่งที่เกิดขึ้น\'ใบเตย\'เปิดใจโรคซึมเศร้ารุมเร้า\'ดีเจแมน\'ให้กำลังใจ ยังรับไม่ได้กับสิ่งที่เกิดขึ้น'ใบเตย'เปิดใจโรคซึมเศร้ารุมเร้า'ดีเจแมน'ให้กำลังใจ
  • 80แต่ยังไหว! ‘มูเซเวนี’ลั่นพร้อมลงชิงเก้าอี้ปธน.‘ยูกันดา’อีกสมัย หากชนะจะครองอำนาจยาว4ทศวรรษ 80แต่ยังไหว! ‘มูเซเวนี’ลั่นพร้อมลงชิงเก้าอี้ปธน.‘ยูกันดา’อีกสมัย หากชนะจะครองอำนาจยาว4ทศวรรษ
  • กระตุก‘รมว.วัฒนธรรม’ ปมคืนโบราณวัตถุให้เขมร อย่าโยงประเด็นการเมือง กระตุก‘รมว.วัฒนธรรม’ ปมคืนโบราณวัตถุให้เขมร อย่าโยงประเด็นการเมือง
  • โรงเรียนปิยมาส สืบสานพระราชปณิธาน\'ในหลวงรัชกาลที่ ๙\' ชวนนักเรียนลงแขกดำนา โรงเรียนปิยมาส สืบสานพระราชปณิธาน'ในหลวงรัชกาลที่ ๙' ชวนนักเรียนลงแขกดำนา
ดูทั้งหมด

คอลัมน์ที่เกี่ยวข้อง

วันชาติอเมริกาในบางแง่มุม

วันชาติอเมริกาในบางแง่มุม

4 ก.ค. 2568

กฎหมายงบประมาณรายจ่ายอาจตกเป็นโมฆะ  กรณีศึกษาการแปรญัตติงบประมาณปี ๒๕๖๕

กฎหมายงบประมาณรายจ่ายอาจตกเป็นโมฆะ กรณีศึกษาการแปรญัตติงบประมาณปี ๒๕๖๕

27 มิ.ย. 2568

ความไม่ชัดเจนในมาตรา ๑๔๔ ของรัฐธรรมนูญ ๒๕๖๐  และกรณีศึกษาการกระทำฝ่าฝืนในมาตรานี้

ความไม่ชัดเจนในมาตรา ๑๔๔ ของรัฐธรรมนูญ ๒๕๖๐ และกรณีศึกษาการกระทำฝ่าฝืนในมาตรานี้

20 มิ.ย. 2568

รัฐบาลกลางกับการอุดมศึกษาสหรัฐ

รัฐบาลกลางกับการอุดมศึกษาสหรัฐ

13 มิ.ย. 2568

สแตนลีย์ ฟิชเชอร์ กับเมืองไทย

สแตนลีย์ ฟิชเชอร์ กับเมืองไทย

6 มิ.ย. 2568

นักกฎหมายไม่มีคุณธรรม...เลวยิ่งกว่ามหาโจร

นักกฎหมายไม่มีคุณธรรม...เลวยิ่งกว่ามหาโจร

30 พ.ค. 2568

การยกเลิกเหตุปัจจัยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๖๒๓  ที่ให้พระภิกษุมีทรัพย์สินได้เพื่อให้ถูกต้องตามพระธรรมวินัยที่ได้สวดปาติโมกข์

การยกเลิกเหตุปัจจัยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๖๒๓ ที่ให้พระภิกษุมีทรัพย์สินได้เพื่อให้ถูกต้องตามพระธรรมวินัยที่ได้สวดปาติโมกข์

23 พ.ค. 2568

รัฐบาลกับการกู้เงิน : จากอดีตสู่ปัจจุบัน (จบ)

รัฐบาลกับการกู้เงิน : จากอดีตสู่ปัจจุบัน (จบ)

16 พ.ค. 2568

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved